นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
52 นิตยสาร สสวท. มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ สำ �หรับพื้นที่ป่าชายเลน (Komiyama et al. ,1987)* มวลชีวภาพของลำ �ต้น (W s ) = 0.05466 (D 2 H) 0.945 มวลชีวภาพของกิ่ง (W B ) = 0.01579 (D 2 H) 0.9124 มวลชีวภาพของใบ (W L ) = 0.0678 (D 2 H) 0.5806 มวลชีวภาพของราก (W R ) = 0.0264(D 2 H) 0.775 มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ (W) = W s + W B + W L + W R มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ สำ �หรับพื้นที่ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง (Ogawa et al., 1965) มวลชีวภาพของลำ �ต้น (W s ) = 0.0396(D 2 H) 0.9326 มวลชีวภาพของกิ่ง (W B ) = 0.003487(D 2 H) 1.0270 มวลชีวภาพของใบ (W L ) = (28.0/(Ws+Wb))+0.025) -1 มวลชีวภาพของราก (W R ) = 0.0264(D 2 H) 0.775 มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ (W) = W s + W B + W L + W R มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ สำ �หรับพื้นที่ปาล์ม (Peason et al, 2005)* W T = 0.666 + 12.82 (H) 0.5 (ln H) มวลชีวภาพของราก (W R ) = 0.0264(D 2 H) 0.775 มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ (W) = W s + W B + W L + W R มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ สำ �หรับพื้นที่ป่าดิบแล้ง (Ogawa et al., 1965) มวลชีวภาพของลำ �ต้น (W s ) = 0.0509(D 2 H) 0.919 มวลชีวภาพของกิ่ง (W B ) = 0.00893(D 2 H) 0.977 มวลชีวภาพของใบ (W L ) = 0.0140(D 2 H) 0.669 มวลชีวภาพของราก (W R ) = 0.0264(D 2 H) 0.775 มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ (W) = W s + W B + W L + W R 3. วิธีการคำ �นวณหาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ การคำ �นวณหาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ ทำ �ได้โดยการประเมินมวลชีวภาพ หรือปริมาณคาร์บอนที่สะสมอยู่ในรูป ของเนื้อไม้ โดยการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ที่ระดับความสูง 1.30 เมตร กับความสูงของต้นไม้ จากการใช้สมการแอลโลเมตรี (Allometric Equation) ของ Ogawa et al. (1965) Komiyama et al. (1987) และ Peason et al. (2005) เพื่อคำ �นวนหามวลชีวภาพรวมของพืช ทั้งนี้ การเลือกใช้สมการต้องสอดคล้องกับประเภทของป่าชนิดนั้นๆ และหาค่าคาร์บอนที่สะสมอยู่ใน มวลชีวภาพโดยคูณด้วยค่า Conversion factor ซึ่งมีค่า 0.47 (ICCP, 2006) ดังนี้ *ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), 2565 ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ = มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ x 0.47 (กิโลกรัม) เมื่อ W S = มวลชีวภาพเหนือพื้นดินในส่วนที่เป็นลำ �ต้น (กิโลกรัม) W B = มวลชีวภาพเหนือพื้นดินในส่วนที่เป็นกิ่ง (กิโลกรัม) W L = มวลชีวภาพเหนือพื้นดินในส่วนที่เป็นใบ (กิโลกรัม) W R = มวลชีวภาพของราก (กิโลกรัม) W T = มวลชีวภาพเหนือพื้นดินทั้งหมด (กิโลกรัม) W = มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ (กิโลกรัม) D = ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับความสูง 1.30 เมตร (เซนติเมตร) H = ความสูงทั้งหมดของต้นไม้ (เมตร) ต้นไม้ชนิดต่างๆ นอกจากจะสามารถดูดซับและกักเก็บแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้แล้ว ยังสามารถคิดเป็นคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) นำ �ไปขายเพื่อสร้างรายได้ได้อีกด้วย ซึ่งคาร์บอนเครดิตเป็นสิทธิที่บุคคลหรือองค์กรได้รับจากการลดปริมาณการปล่อย แก๊สเรือนกระจก (จำ �นวนคาร์บอนฟรุตพรินต์) ในแต่ละปี มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า กลไกการลดแก๊สเรือนกระจก เช่น การปลูกป่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การดักจับและกักเก็บแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งหากปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำ �หนด ปริมาณคาร์บอนที่เหลือจะถูกนำ �มาตีราคา และสามารถนำ �ไปจำ �หน่ายในรูปแบบคาร์บอนเครดิตให้กับองค์กรอื่นๆ ที่ต้องการได้ ดังภาพ 7 ประเทศไทยมีโครงการลดแก๊สเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เป็นโครงการคาร์บอนเครดิตที่มีการดำ �เนินการสอดคล้องกับมาตรฐานโครงการคาร์บอนเครดิตในระดับสากล มุ่งเน้นการลด และการดูดกลับแก๊สเรือนกระจกอย่างถาวร รวมถึงให้ความสำ �คัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5