นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566 59 สวัสดีคุณๆ ผู้อ่านที่รัก จากข่าว “อิกัวนาเขียว เอเลียนสปีชีส์ บุกลพบุรี” ทำ �ให้ต่ายนึกถึง “Cane Toad” เอเลียนสปีชีส์ หรือสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species) ของประเทศออสเตรเลีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinella marina ชื่อสามัญที่เป็นภาษาอังกฤษ คือ Giant Neotropical Toad หรือ Marine Toad ความหมายของชื่อก็บอก ให้รู้แล้วว่า ตัวใหญ่เอาเรื่องทีเดียว ในขณะที่ชื่อไทยคือ คางคกอ้อย ที่ชื่อฟังดูแล้วน่าจะหว๊านหวานเหมือนน้ำ �อ้อย แต่จริงๆ แล้ว มันไม่ได้หวานเหมือนอ้อยหรอกที่ไปที่มาของชื่อ Cane Toad ก็คือ เจ้าคางคกตัวนี้เกี่ยวข้องกับ “ไร่อ้อย” เนื่องจากมันเป็นคางคกที่มีถิ่นกำ �เนิดเดิมอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้หลายๆ พื้นที่ในทวีปอเมริกากลางและทางตอนใต้ ของรัฐเท็กซัสประเทศอเมริกา แต่มีรายงานว่าบรรพบุรุษของคางคกอ้อยในออสเตรเลียเป็นคางคกอ้อยจากเกาะฮาวาย ที่ถูกนำ �ไปผสมพันธุ์เพิ่มจำ �นวนที่เมือง Gordonvale รัฐ Queensland ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป ออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478) โดยให้ดูแลกำ �จัด “ด้วงอ้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Demolepida albohirtum และ ด้วงฝรั่งเศส French’s beetle ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepidiota frenchi ” ในไร่อ้อย QUIZ แ ต่สุดท้ายก็นำ �ไปสู่ปัญหาในเวลาต่อมาเนื่องจากในไร่อ้อยที่มีอากาศร้อน แล้ง และด้วงอ้อยก็ไม่ได้จะจับกินได้ง่ายๆ เพราะว่า ด้วงอ้อยสามารถปีนหนีขึ้นไปบนต้นอ้อยได้ แต่คางคกอ้อยปีนขึ้นต้นอ้อยตามไปไม่ได้ แม้จะพยายามยืดลิ้นให้ยาวที่สุดเพื่อหวังจะตวัดให้ ด้วงอ้อยเข้าปาก แต่ลิ้นที่มีอยู่ก็ยาวไม่พอ อดกินละสิ ทำ �ยังไงต่อดี คางคกอ้อยมองไปที่ทางเลือกอีกทางคือ ตัวอ่อนด้วงอ้อยที่เป็นตัวหนอน อยู่ใต้ดิน ซึ่งคางคกอ้อยไม่ได้มีเท้าสำ �หรับใช้ขุดดินทำ �ให้ไม่สามารถขุดดินไปกินตัวหนอนด้วงอ้อยที่อาศัยอยู่ใต้ดินได้ นี่แหล่ะเลยเป็นเหตุที่ ทำ �ให้คางคกอ้อยต้องตัดสินใจก่อกบฏหนีออกจากไร่อ้อยไปตายเอาดาบหน้า และเมื่อเดินทางออกจากไร่อ้อยคางคกอ้อยจึงค้นพบความจริงว่า มีแมลงมากมายที่มันสามารถกินได้ง่ายกว่าการไปไล่จับด้วงอ้อยในไร่อ้อย เมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีที่หลบร้อน จึงทำ �ให้คางคกอ้อยตัดสินใจ ลงหลักปักฐาน แต่งงาน เพิ่มจำ �นวน และแพร่กระจายแหล่งที่อยู่อาศัยจนสร้างปัญหามากมายให้กับประเทศออสเตรเลียจนมาถึงทุกวันนี้ ภาพ 1 ภาพซ้าย - แผนที่แสดงการนำ �คางคกอ้อยจากเกาะฮาวายเข้ามาประเทศออสเตรเลียใน ปี ค.ศ. 1935 เพื่อนำ �มาผสมพันธุ์เพิ่มจำ �นวนที่เมือง Gordonvale (ลูกศรชี้) และจากข้อมูลในการสำ �รวจเมื่อปี ค.ศ. 2007 พบมีการแพร่กระจายอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ตะวันออก และใต้ของออสเตรเลีย (แถบสีเทา) (ที่มา: Shanmuganathan et al., 2010) ภาพขวา – แสดงลักษณะการแพร่กระจายของคางคกอ้อยทุกๆ 10 ปี โดยสีแดงแสดงตำ �แหน่งการพบคางคกอ้อยเมื่อ 50 ปีที่แล้ว และสีเหลืองแสดงตำ �แหน่งการพบคางคกอ้อยเมื่อ 10 ที่แล้ว โดยทีมผู้วิจัยได้อธิบายไว้ว่าการแพร่กระจายในรัฐทางใต้ของออสเตรเลียจะเกิดได้ช้า อาจจะเป็น ผลมาจากอากาศเย็น ทำ �ให้มีแมลงอาหารน้อยกว่าเขตที่อากาศร้อนทางตอนเหนือของออสเตรเลีย (ที่มา: Macgregor et al., 2021) ภาพ 2 ด้วงอ้อย (Cane Beetle) แมลงที่มนุษย์คาดหวังให้คางคกอ้อย (Cane Toad) จับกินในไร่อ้อย (ที่มา: Dermolepida albohirtum - Wikipedia (ภาพซ้าย) และ Cane toad | Agriculture and Food (ภาพขวา) คางคกอ้อยตัวไม่ได้ใหญ่มากมายแล้วก็อพยพมาอยู่ที่ออสเตรเลียเกือบ 90 ปี จะสร้างปัญหาให้กับประเทศออสเตรเลียได้อย่างไร ระบบนิเวศภายในเกาะออสเตรเลียไม่สามารถปรับตัวได้เลยหรือหลายๆ คนอาจจะสงสัยเหมือนกับต่าย ต่ายอยากพาคุณๆ มาดูภาพจากงานวิจัย ในภาพที่ 3
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5