นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245

6 นิตยสาร สสวท. จ ากความหมายข้างต้น การประเมินเป็นกิจกรรมสำ �คัญที่ไม่ใช่ เพียงเพื่อการตรวจสอบการเรียนรู้ แต่เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Assessment) เป็นส่วน สำ �คัญของกระบวนการเรียนรู้เนื่องจากทำ �ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ ของนักเรียนและมีประโยชน์ทั้งต่อนักเรียนและครู บทความนี้จะกล่าวถึง ความหมาย ลักษณะสำ �คัญ และกระบวนการของการประเมินเพื่อการพัฒนา การเรียนรู้ของนักเรียนอย่างแท้จริง ความหมายและลักษณะสำ �คัญของการประเมินเพื่อพัฒนา การประเมินเพื่อพัฒนาเป็นกระบวนการประเมินที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องในกระบวนการเรียนรู้และดำ �เนินการได้ในทุกขั้นของการสอน โดยครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันหรือทำ �งานร่วมกันเสมือนหุ้นส่วน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการเรียนรู้ร่วมกัน การประเมินรูปแบบนี้เป็นการประเมิน เพื่อใช้หลักฐานการเรียนรู้หรือผลการประเมินสำ �หรับการปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและปรับปรุงการสอนของครูจนบรรลุ เป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการเพื่อให้นักเรียนเกิดความก้าวหน้าในการ เรียนรู้และบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่คาดหวังควบคู่กันไป (Sadler, 1989; Bell & Cowie, 2002; Brown, 2008; Heritage, 2010; Popham, 2011; MacMillan, 2014) หรืออาจกล่าวได้ว่า การประเมินเพื่อพัฒนาเป็น กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียน ตีความหมาย ข้อมูล และใช้ข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจว่า นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่อย่างไร การเรียนรู้อยู่ห่างจากเป้าหมาย การเรียนรู้เพียงใด ต้องพัฒนาการเรียนรู้ไปในทิศทางใด และต้องพัฒนา การเรียนรู้ให้ไปถึงเป้าหมายการเรียนรู้นั้นอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้ครูเข้าใจ การเรียนรู้ของนักเรียนและได้ตรวจสอบแผนการสอนที่ตนเองเตรียมมาว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วทำ �การปรับเปลี่ยน การสอนที่กำ �ลังดำ �เนินการอยู่ให้เหมาะสมกับนักเรียนได้ พร้อมทั้งหาวิธีการ ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เปิดโอกาสให้นักเรียน ทุกคนได้ปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของตนเองโดยให้ข้อมูลย้อนกลับที่มี คุณภาพแก่นักเรียน รวมทั้งนำ �ข้อมูลมาใช้สำ �หรับวางแผนการสอนครั้งถัดไป ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่นักเรียนก็ใช้ข้อมูลย้อนกลับที่ได้มา ปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองให้ดีขึ้นเช่นกัน การประเมินเพื่อพัฒนามีลักษณะสำ �คัญสรุปได้ดังนี้ (1) มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ให้มีความก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ (Learning Goals) และ ปรับปรุงการสอนของครู (Bell & Cowie, 2001, 2002; Shepard et al., 2005; Greenstein, 2010) (2) ครูและนักเรียนมีบทบาทสำ �คัญในการประเมินร่วมกัน ครูมี บทบาทสร้างวัฒนธรรมที่ดีในห้องเรียนให้เป็นสังคมที่ช่วยเหลือและ สนับสนุนซึ่งกันและกัน มีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี และเปิดโอกาส ให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและแสดงความคิดเห็นได้อย่าง อิสระ ส่วนนักเรียนมีบทบาทเป็นผู้เรียนที่ตื่นตัว (Active Learner) และ มีส่วนร่วมในการประเมินผ่านการประเมินตนเองของนักเรียน (Student Self-assessment) และการประเมินโดยเพื่อน (Peer Assessment) การสะท้อน คิดเกี่ยวกับการกระทำ �ของตนเอง และร่วมแสดงความคิดเห็นโดยไม่นิ่งเฉย ซึ่งจะช่วยให้ครูสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนได้ (Black and Wiliam, 1998; Bell & Cowie, 2001, 2002; Heritage, 2010) (3) ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็น ทางการเพื่อนำ �ข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ที่เก็บรวบรวมได้ไปใช้ในการ ปรับเปลี่ยนการสอนและวางแผนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการ ในการเรียนรู้ของนักเรียนในขณะนั้น ซึ่งเป็นการช่วยให้ครูตัดสินใจเกี่ยวกับ การสอนของตนเองและสามารถเลือกใช้กลวิธีสอนได้อย่างมีจุดมุ่งหมาย (Bell & Cowie, 2001; Greenstein, 2010) (4) เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด และทำ �ได้ในทุกขั้นของการสอน ไม่จำ �เป็นต้องเกิดขึ้นในขั้นการสอนเท่านั้น แต่สามารถเกิดได้ตั้งแต่ขั้นนำ �ไปจนถึงขั้นสรุป (Black & Wiliam, 1998; Bell & Cowie, 2001; Greenstein, 2010) (5) มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ซึ่งเป็นองค์ประกอบ สำ �คัญของการประเมินเพื่อพัฒนา (Sadler, 1989; Bell & Cowie, 2002) กระบวนการของการประเมินเพื่อพัฒนา การประเมินเพื่อพัฒนาเป็นกระบวนการประเมินที่มีลักษณะวนซ้ำ � เป็นวงจร ซึ่งมีหลายขั้นตอนต่อเนื่องและบูรณาการเข้ากับการสอน ดังภาพ ภาพจาก: https://www.edutopia.org/article/incorporating-simple-student-designed-assessments/

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5