นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566 7 เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนมีเส้นทางการเรียนรู้ (Learning Pathway) หรือความก้าวหน้าในการเรียนรู้ (Learning Progression) ที่ ห่างจากเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการแตกต่างกัน กล่าวคือ นักเรียน แต่ละคนจะมีช่องว่างระหว่างตำ �แหน่งหรือสถานะการเรียนรู้ที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันกับตำ �แหน่งหรือสถานะการเรียนรู้ที่นักเรียนและครูต้องการจะไปถึง เมื่อสิ้นสุดบทเรียนแตกต่างกันด้วย การประเมินเพื่อพัฒนาจึงเป็นกระบวนการ ที่ใช้สำ �หรับปิดช่องว่างของนักเรียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ที่ต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้ (1) กำ �หนดเป้าหมายการเรียนรู้และเกณฑ์สำ �หรับความสำ �เร็จ (Determine Learning Goal and Define Criteria for Success) เป้าหมายการเรียนรู้และเกณฑ์สำ �หรับความสำ �เร็จเป็นสิ่งที่ครู กำ �หนดขึ้น โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ที่กำ �หนดในหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งจะทำ �ให้ทราบเส้นทาง การเรียนรู้หรือความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนในการกำ �หนดเป้าหมาย การเรียนรู้ ครูควรระบุว่านักเรียนจะได้เรียนรู้อะไรในระหว่างบทเรียน หรือเมื่อจบบทเรียน และในการกำ �หนดเกณฑ์สำ �หรับความสำ �เร็จหรือ เรียกว่า เกณฑ์ความสำ �เร็จ ครูควรระบุว่านักเรียนต้องทำ �อะไรได้เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้นั้น โดยเกณฑ์ความสำ �เร็จจะนำ �ไปใช้เป็นเกณฑ์ สำ �หรับการประเมิน ภาพ 1 กระบวนการของการประเมินเพื่อพัฒนา (Heritage, 2010) ในการจัดการเรียนรู้ก่อนที่จะเริ่มบทเรียนครูจะต้องชี้แจงหรือ อธิบายเกี่ยวกับเป้าหมายการเรียนรู้และเกณฑ์ความสำ �เร็จให้นักเรียนเข้าใจ และเห็นความสำ �คัญ รวมทั้งให้นักเรียนใช้เกณฑ์ความสำ �เร็จเป็นแนวทาง ในการเรียนรู้ และในระหว่างการจัดการเรียนรู้ทั้งครูและนักเรียนยัง สามารถใช้เกณฑ์ความสำ �เร็จตรวจสอบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อทำ �ให้การเรียนรู้มีความก้าวหน้าและมุ่งไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ ปลายทางให้ได้ (2) เก็บรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ (Elicit Evidence of Learning) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ ครูต้องใช้ วิธีการประเมินที่หลากหลายเพื่อให้ทราบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าเป็น อย่างไร การเรียนรู้ได้รับการพัฒนาไปสู่เป้าหมายหรือไม่อย่างไร โดยวิธี การประเมินที่ครูสามารถเลือกใช้ได้ เช่น การสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ การพูดคุย การใช้คำ �ถาม การสะท้อนคิด การทำ �ตั๋วออก การทดสอบ การทำ � ภาระงานที่กำ �หนดให้เพื่อแสดงความสามารถ เช่น การทดลอง การสำ �รวจ การแก้ปัญหา การปฏิบัติงานเชิงทักษะ การสาธิต การนำ �เสนอ ซึ่งประเมิน โดยครู และสามารถให้นักเรียนประเมินตนเองและประเมินโดยเพื่อนได้ด้วย โดยทั่วไปวิธีการประเมินควรผสมผสานอยู่ในการสอนของครู ที่วางแผนล่วงหน้า แต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่าง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5