นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
8 นิตยสาร สสวท. การจัดการเรียนรู้โดยที่ครูไม่ได้วางแผนไว้ เช่น เมื่อครูวางแผนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์และตัดสินใจเลือกใช้คำ �ถามเพื่อตรวจสอบว่านักเรียน เข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์นั้นได้ดีเพียงใด อย่างไรก็ตาม ครูอาจได้ ข้อมูลดังกล่าวจากการสังเกตในระหว่างการทำ �กิจกรรมหรือจากการพูดคุย กับนักเรียนซึ่งเกิดขึ้นเองในขณะที่สอนก็ได้ ซึ่งทำ �ให้ครูไม่ได้ใช้คำ �ถาม ที่เตรียมมาและปรับเปลี่ยนการสอนไปโดยอัตโนมัติ (3) ตีความหมายข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ (Interpret the Evidence) เมื่อครูเก็บรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ไปแล้ว สิ่งที่ครู ต้องดำ �เนินการต่อเนื่องคือ การตีความหมายข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ ที่รวบรวมได้โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ความสำ �เร็จที่กำ �หนดไว้เพื่อให้ทราบ สถานะการเรียนรู้ของนักเรียนที่เป็นอยู่ เช่น สิ่งที่นักเรียนเข้าใจคืออะไร สิ่งที่นักเรียนเข้าใจคลาดเคลื่อนคืออะไร ความรู้และทักษะใดที่นักเรียน มีหรือยังไม่มี และใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อตัดสินใจว่าจำ �เป็นต้องปรับเปลี่ยน การสอนไปตามข้อมูลที่ได้รับหรือไม่ กรณีที่ครูพบว่า ข้อมูลที่รวบรวมได้ยังไม่เพียงพอที่จะบ่งบอกสถานะ การเรียนรู้ของนักเรียนได้ ครูจำ �เป็นต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการสอน เช่น เปลี่ยนแปลงวิธีการประเมินที่ เตรียมมา กรณีที่ครูพบว่าข้อมูลที่รวบรวมได้เพียงพอที่จะบ่งบอกสถานะ การเรียนรู้ของนักเรียนได้แล้ว ถ้าการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ ความสำ �เร็จ ครูก็ไม่จำ �เป็นต้องปรับเปลี่ยนการสอนนั้น แต่ถ้าการเรียนรู้ ของนักเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ความสำ �เร็จ ครูจำ �เป็นต้องระบุช่องว่าง แล้วปรับตัวและตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียนต่อไป ในขณะที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สิ่งที่นักเรียนจะต้อง ทำ �ควบคู่ไปกับครูก็คือ การกำ �กับติดตามการเรียนรู้ผ่านการสังเกตตนเอง แล้วตีความหมายข้อมูลโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ความสำ �เร็จที่กำ �หนดไว้ เพื่อให้ทราบว่าการเรียนรู้ของตนเองมีการพัฒนาและเข้าใกล้เป้าหมาย การเรียนรู้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ครูควรให้นักเรียนสังเกตตนเองอย่าง สม่ำ �เสมอและสื่อสารออกมาอย่างตรงไปตรงมาเพื่อช่วยให้นักเรียน สามารถตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้ได้ (4) ระบุช่องว่าง (Identify the Gap) ภายหลังการตีความหมายข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ ครูต้อง เปรียบเทียบสถานะการเรียนรู้ที่นักเรียนเป็นอยู่ในปัจจุบันกับเป้าหมาย การเรียนรู้ที่ต้องการเพื่อระบุช่องว่าง ซึ่งจะทำ �ให้ครูทราบว่าปัจจุบันนักเรียน อยู่ห่างจากเป้าหมายการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด และมีความต้องการ ในการเรียนรู้เป็นอย่างไร (5) ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เมื่อทราบช่องว่างของนักเรียนแล้ว ครูจะต้องใช้ข้อมูลหรือหลักฐาน การเรียนรู้เป็นข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนเพื่อเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้และ ทำ �ให้การเรียนรู้มีความก้าวหน้าไปเป็นลำ �ดับและปิดช่องว่างของนักเรียน นอกจากข้อมูลย้อนกลับจะมาจากครูแล้ว นักเรียนยังได้รับข้อมูล ย้อนกลับผ่านการประเมินตนเอง ซึ่งช่วยให้นักเรียนกำ �กับติดตามการเรียนรู้ ของตนเองอีกทางหนึ่ง และทำ �ให้นักเรียนได้ฝึกคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5