นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566 9 แนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ครูควรรู้ ในการให้ข้อมูลย้อนกลับ ครูไม่ควรบอกว่านักเรียนถูกหรือผิดและไม่ควรให้เป็นเกรดหรือคะแนนเพียงอย่างเดียว โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดีและมีคุณภาพ ครูควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับสถานะการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับเกณฑ์ ความสำ �เร็จอย่างตรงประเด็น เข้าใจง่าย และครบถ้วนในลักษณะการบอกกล่าว พูดคุย มีการใช้ข้อความ เอกสาร รูปภาพ หรือให้ตัวอย่างผลงานที่มีการระบุจุดเด่น จุดที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งแนะแนวทางที่นักเรียนจะสามารถนำ �ไป ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองได้ ให้ข้อมูลตามความเป็นจริงและทันเวลา เพื่อให้นักเรียนได้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือ ข้อบกพร่องตลอดจนสิ่งที่เข้าใจคลาดเคลื่อนของตนเองได้ทันท่วงที(Sadler, 1989;Hattie&Timperley, 2007;Heritage, 2010) นอกจากนี้การให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพยังสามารถทำ �ได้ดังภาพ ครูสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนได้ทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดกระบวนการ เรียนรู้ จึงควรอยู่ในบรรยากาศที่เป็นมิตร สร้างความรู้สึกที่ดี เป็นไปในทางเชิงบวก อาจให้กำ �ลังใจและชื่นชมได้ตาม ความเหมาะสมหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลที่แสดงอารมณ์ที่ทำ �ให้นักเรียนรู้สึกว่าถูกซ้ำ �เติมหรือทำ �ให้นักเรียนรู้สึกกดดัน เมื่อ ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนแล้ว ครูก็ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปรับปรุงแก้ไขตนเองและติดตามการปรับปรุง แก้ไขของนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่คาดหวัง Sadler, 1989; Hattie & Timperley, 2007; Heritage, 2010) ภาพ 2 ลักษณะของการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Hattie & Timperley, 2007; Heritage, 2010) รวมทั้งกลวิธีหรือกลยุทธ์ที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ และวางแผนเพื่อทำ �ให้ การเรียนรู้ของตนเองประสบความสำ �เร็จจนส่งผลให้เกิดการตระหนักรู้ได้ และเมื่อนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินโดยเพื่อน นักเรียนก็ยังสามารถ ใช้เกณฑ์ความสำ �เร็จเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับซึ่งกันและกันอีกด้วย (6) ปรับตัวและตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ (Adapt and Respond to Learning Needs) เพื่อให้สามารถปิดช่องว่างและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมี ประสิทธิภาพ สิ่งที่ครูจะต้องทำ �ต่อจากการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียน ก็คือ การใช้ข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้มาเป็นข้อมูลย้อนกลับแก่ตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนการสอนหรือจัดประสบการณ์ให้ตรงกับความต้องการ ในการเรียนรู้ของนักเรียน ขณะเดียวกันนักเรียนก็ใช้ข้อมูลย้อนกลับทั้งจาก ครูและเพื่อนเพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองให้ก้าวหน้า มากขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5