นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246
ปีที่ 52 ฉบับที่ 246 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 11 ให้ผู้เรียนฝึกฝนการตอบคำ �ถามและแก้โจทย์ปัญหาในรูปแบบต่างๆ ของหัวข้อที่ยากในปริมาณที่เพียงพอที่จะทำ �ให้ผู้เรียน เข้าใจและมั่นใจในเนื้อหาของหัวข้อที่ยากนั้น ใช้สื่อต่างๆ ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นภาพปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เป็นนามธรรมในหัวข้อที่ยากได้อย่างชัดเจน โดยอาจเป็นสื่อ วีดิทัศน์ สื่อดิจิทัล หรือแบบจำ �ลอง สร้างความเป็นรูปธรรมในหัวข้อที่เป็นนามธรรมด้วยการเชื่อมโยงเนื้อหาในหัวข้อนั้นกับสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์ในชีวิต ประจำ �วัน ทบทวนความรู้และฝึกฝนทักษะทางคณิตศาสตร์ที่จำ �เป็นสำ �หรับการเรียนรู้หัวข้อที่ยากเนื่องจากต้องใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ มาก นอกจากการระบุหัวข้อที่ยากและสาเหตุของความยากแล้ว งานวิจัยนี้ได้พบประเด็นสำ �คัญหลายประเด็นที่อาจต้องมีการศึกษา เพิ่มเติม เช่น ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในสัดส่วน 73.33% ที่เห็นว่ามีหัวข้อยากใน Core 7 ซึ่งมากกว่าสัดส่วน ของผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ที่มีสัดส่วน 51.16% 52.00% และ 58.82% ตามลำ �ดับ ความแตกต่าง อย่างมีนัยสำ �คัญนี้ได้รับการให้เหตุผลเบื้องต้นจากครูท่านหนึ่งในการสนทนากลุ่ม นั่นคือ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีจำ �นวนผู้เรียนต่อห้องมาก ทำ �ให้การจัดการเรียนการสอนและการทำ �การทดลองทำ �ได้ไม่ทั่วถึง อีกทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองไม่มีคุณภาพส่งผลให้การเรียนรู้ หัวข้อต่างๆ อย่างมีประสิทธิผลทำ �ได้ยาก ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงในสัดส่วน 61.47% เห็นว่า Core 5 มีหัวข้อยาก ในขณะที่สัดส่วนเพศชายที่มีความเห็น เดียวกันมี 47.62% เป็นสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำ �คัญ ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในภูมิภาคแตกต่างกันมีความเห็นเกี่ยวกับหัวข้อยากใน Core 3 ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน นั่นคือ อยู่ในช่วงระหว่าง 50.00% ถึง 56.25% ยกเว้นสัดส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามในภาคตะวันตกที่มี 71.43% และสัดส่วนของผู้ตอบ แบบสอบถามในภาคใต้ที่มี 67.86% อย่างไรก็ตาม จำ �นวนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอยู่ในภาคตะวันตกมีเพียง 7 คน ซึ่งอาจน้อยเกินไป ที่จะนำ �มาเปรียบเทียบในเชิงสถิติ ทั้งนี้ การจะเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผลวิจัยและการจะสามารถตอบคำ �ถามของประเด็นอื่นๆ ที่ค้นพบได้ ควรจะต้องมีการ ทำ �วิจัยเพิ่มเติมโดยเฉพาะการวิจัยด้วยเครื่องมือเดียวกันกับกลุ่มครูที่มีประสบการณ์สอนมากกว่า 21 ปี และครูที่สอนอยู่ในภาคตะวันตก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำ �นวนน้อยในงานวิจัยนี้ อีกทั้งควรทำ �การวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างผู้เรียนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่สะท้อนความเห็นในมุมมอง ของการเรียนมากกว่าการสอน งานวิจัยชิ้นนี้จะประสบความสำ �เร็จไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับข้อมูลจากความมุ่งมั่นและอดทนในการตอบแบบสอบถามและการสนทนา กลุ่มของครู ทางผู้วิจัยจึงขอขอบคุณครูทุกท่านที่เสียสละเวลาให้ความร่วมมือมา ณ ที่นี้ ทางผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลจากการวิจัยจะ สามารถนำ �ไปเป็นพื้นฐานในการพัฒนางานด้านต่างๆ ของ สสวท. รวมทั้งการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่จะช่วยแก้ปัญหา ความยากในการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในวิชาฟิสิกส์ระดับ ม.ปลาย ได้อย่างยั่งยืนต่อไป Fisher, N. J. (2009). Identification and examination of physics concepts that students find most difficult . Retrieved Decamber 25, 2023, from http://www.per-central.org/items/detaikl.cfm?ID=4387. Kiptum, M. G. (2015). Difficulty physics topics in Kenyan secondary schools: a case study of Uasin Gishu County. Scholarly Journal of Education. 4 (4): 72-81. Obafemi, D. T.A. & Onwioduokit, F.A. (2013). Identification of Difficult Concepts in Senior Secondary School Two (SS2) Physics Curriculum in Rivers State, Nigeria. Asian Journal of Education and e-Learning, 1 (5): 317-322. Ornek, F. & Robinson, W. R. & Haugan, M. P. (2008). What makes physics difficult? International Journal Environment Science Eduction. 3 : 30–4. Owolabi, T. (2004). A diagnosis of students difficulties in physics. Educational Perspectives, 7 (2): 15-20. กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฟิสิกส์ เล่ม 1 - 6 . พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว. บรรณานุกรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5