นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246
12 นิตยสาร สสวท. ดร.ศานิกานต์ เสนีวงศ์ | นักวิชาการอาวุโส สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. | e-mail: s@ipst.ac.th ดร.วันชัย น้อยวงค์ | นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. | e-mail: w@ipst.ac.th จีรนันท์ เพชรแก้ว | นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. | e-mail: jp@ipst.ac.th กิจกรรมวิทยาศาสตร์ กับ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นที่ทราบกันแล้วว่าการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นและให้ความสำ �คัญกับผู้เรียน โดยผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วม ในชั้นเรียน มีอิสระทางด้านความคิด มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ใช้สติปัญญาคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อตัดสินใจในการปฏิบัติกิจกรรมนั้น นอกจากนี้ ยังมุ่งสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้กำ �กับทิศทางการเรียนรู้ ค้นหารูปแบบ การเรียนรู้ของตนเองสู่การเป็นผู้รู้คิด รู้ตัดสินใจด้วยตนเอง (Metacognition) สร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรมต่างๆ รวมไปถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์ ทำ �งานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน โดยมีครูเป็นผู้อำ �นวยความสะดวก (Facilitator) สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำ �ปรึกษา ดูแล แนะนำ � ทำ �หน้าที่เป็น โค้ชและพี่เลี้ยง (Coach & Mentor) แสวงหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful learning) ผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วม ในการสร้างความรู้ มีความเข้าใจด้วยตนเอง ซึ่งแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้สอดคล้องกับแนวคิด ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) (Cambridge International, 2020; ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2553; สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2566) ภาพจาก: https://keyrus.com/be/en/services/data-science-and-advanced-analytics
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5