นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246

14 นิตยสาร สสวท. กิจกรรมในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ สสวท. เป็นตัวอย่างของกิจกรรมที่นอกจาก จะเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างคำ �อธิบายด้วยตนเองแล้ว ยังฝึกให้ผู้เรียนเกิดทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างตื่นตัวอีกด้วย ในบทความนี้ ขอยกตัวอย่าง กิจกรรมวัฏจักรน้ำ � ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1 โดยผู้เรียนจะได้เล่นเกมวัฏจักรน้ำ �ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม ให้แต่ละคน แสดงบทบาทสมมติเป็นอนุภาคน้ำ � 1 อนุภาค ที่จะต้องเดินทางไปอยู่ตาม แหล่งน้ำ �ต่างๆ เช่น แม่น้ำ � มหาสมุทร ทะเลสาบ น้ำ �ใต้ดิน สัตว์ เมฆ ธารน้ำ �แข็ง พืช ดิน เมื่อเริ่มเล่นเกม ครูจะให้สัญญาณ โดยการเป่านกหวีด ผู้เรียนแต่ละคน ที่อยู่ในแต่ละฐานแหล่งน้ำ �จะ โยนลูกเต๋าแหล่งน้ำ � ครูจะให้สัญญาณเป่านกหวีดอีกครั้ง ผู้เรียนแต่ละคนต้องปฏิบัติตามคำ �สั่ง ที่ปรากฏบนหน้าลูกเต๋า เช่น ให้เดินทาง ไปที่ทะเลสาบ หรืออาจจะมีคำ �สั่งให้ อยู่กับที่ ผู้เรียนทำ �เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 9 ครั้ง ถือว่าจบเกม อนุภาคน้ำ �แต่ละอนุภาคจะถูก มอบหมายให้อยู่ในฐานแหล่งน้ำ �ที่ เป็นจุดเริ่มต้นแหล่งใดแหล่งหนึ่งจาก จำ �นวนทั้งหมด 9 แหล่งจำ �นวน เท่าๆ กัน หากมีผู้เรียนเหลือเศษให้ ไปอยู่ที่แหล่งมหาสมุทร ผู้เรียนแต่ละคนอ่านข้อความบน หน้าลูกเต๋าที่หงายขึ้น ซึ่งบนหน้า ของลูกเต๋าจะมีข้อมูล 3 อย่างคือ 1.ชื่อ แหล่งน้ำ �ที่เป็นที่อยู่ของอนุภาคน้ำ � ณ ขณะนั้น 2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และ 3. คำ �สั่งที่จะให้ปฏิบัติต่อไป ผู้เรียนจดบันทึกข้อมูลไว้ สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มนำ �ข้อมูล มาเขียนเส้นทางการเดินทางไปยัง แหล่งน้ำ �ต่างๆ ซึ่งมีจำ �นวน 9 แหล่ง ในกระดาษปรู๊ฟแผ่นเดียวกัน ซึ่ง อาจแสดงเส้นทางที่แต่ละคนเดินทาง โดยใช้ปากกาคนละสี ภาพ 3 ขั้นตอนการเล่นเกมวัฏจักรน้ำ � เมื่อทำ �กิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าอนุภาคน้ำ �แต่ละอนุภาค เดินทางไปยังแหล่งน้ำ �ใดบ้าง อนุภาคน้ำ �มีเส้นทางการเดินทางไปยังแหล่งน้ำ �ต่างๆ เหมือนกันหรือแตกต่างกัน อนุภาคน้ำ �มีโอกาส ที่จะอยู่ที่เดิมหรือไม่ อย่างไร มีแหล่งน้ำ �ใดบ้างที่อนุภาคน้ำ �ไม่ได้หมุนเวียนไปอยู่ แหล่งน้ำ �ใดที่อนุภาคน้ำ �หมุนเวียนไปอยู่บ่อยที่สุด การเปลี่ยนแปลงของอนุภาคน้ำ �ไปยังแหล่งต่างๆ เป็นวัฏจักรหรือไม่ อย่างไร เมื่อวิเคราะห์กิจกรรมวัฏจักรน้ำ �จะพบว่าผู้สอนลดบทบาทการสอนและการให้ความรู้โดยตรงและเปิดโอกาสให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ กิจกรรมยังส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างตื่นตัว ทั้งสี่ด้าน ดังนี้ การตื่นตัวทางกาย (Physically Active) ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ มีการโยนลูกเต๋า

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5