นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246

20 นิตยสาร สสวท. หลอดไฟฟ้าที่อยู่ไกลจากแบตเตอรี่จะสว่างน้อยกว่าหลอดไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กว่า ทำ �ได้โดยต่อวงจรไฟฟ้าที่มีหลอดไฟฟ้า 2 ดวง ที่เหมือนกันแบบอนุกรม ดังภาพ 5 ซึ่งเมื่อกดสวิตช์ให้วงจรปิดจะพบว่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟฟ้า ทั้งสองมีค่าเท่ากัน ส่วนความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมหลอดไฟฟ้าทั้งสองก็มีค่า เท่ากัน นอกจากนี้ เมื่อสังเกตวงกลมสีเหลืองรอบหลอดไฟฟ้าซึ่งแทน ความสว่างของหลอดไฟฟ้าพบว่ามีขนาดเท่ากันด้วย แสดงว่าหลอดไฟฟ้า ที่อยู่ไกลจากแบตเตอรี่สว่างเท่ากับหลอดไฟฟ้าที่อยู่ใกล้แบตเตอรี่ นอกจากการใช้สื่ออินเตอร์แอ็คทีฟซิมูเลชัน การแก้ไขแนวคิด คลาดเคลื่อนเรื่องไฟฟ้าอาจทำ �โดยวิธีอื่นๆ ได้ เช่น การสร้างสถานการณ์ หรือใช้คำ �ถามที่เน้นการคิดวิเคราะห์เพื่อให้ผู้เรียนได้เผชิญความคิดที่ ภาพ 5 วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม คลาดเคลื่อนของผู้เรียนเอง การสร้างโอกาสให้นักเรียนได้สะท้อนความคิด หรือนำ �ความรู้ความเข้าใจที่มีไปแก้ปัญหาหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หรือ การให้ผู้เรียนทำ �กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อกระตุ้น กระบวนการคิดของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ หรือให้เห็นหลักฐาน เชิงประจักษ์จากการต่อวงจรไฟฟ้าจริง (สลิลทิพย์ บุญเลิศ และคณะ, 2562) ซึ่งในกรณีที่ห้องเรียนไม่มีอุปกรณ์ ผู้สอนอาจใช้สื่อการสอนอื่น มาช่วยได้ เช่น ให้ผู้เรียนศึกษาจากการอ่านใบความรู้ การดูวีดิทัศน์ หรือ การใช้สื่ออินเตอร์แอ็คทีฟซิมูเลชัน อย่างไรก็ดี ควรให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกับ อุปกรณ์จริงซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องได้ดีที่สุด ในการจัดการเรียนการสอนหรือการประเมินการเรียนรู้ หากพบว่า ผู้เรียนมีแนวคิดคลาดเคลื่อนควรต้องแก้ไขโดยทันที หรือเตรียมสื่อ เช่น สื่ออินเตอร์แอ็คทีฟซิมูเลชัน เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า มาช่วยสอนเพื่อ ให้ผู้เรียนเข้าใจได้ถูกต้อง อันจะนำ �ไปสู่การนำ �ความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำ �วันได้อย่างถูกต้องต่อไป Chambers, K. S. & Andre, T. (1997). Gender, Prior Knowledge, Interest, and Experience in Electricity and Conceptual Change Text Manipulations in Learning about Direct Current. Journal of Research in Science Teaching, 34 : 107-123. Heller, P. M. & Finley, F. N. (1992). Variable Uses of Alternative Conceptions: a case study in current electricity. Journal of Research in Science Teaching, 29 (3): 259-275. National Research Council. (1997). Science Teaching Reconsidered: a handbook. Washington, DC: National Academies Press. Küçüközer and Kocakülah. (2007). Secondary School Students’ Misconceptions about Simple Electric Circuits. Journal of Turkish Science Education, 4 (1): 101-115. Setyani, N. D. & Suparmi, Sarwanto & Handhika, J. (2017). Students Conception and Perception of Simple Electrical Circuit. Journal of Physics: Conference Series, 909 . Turgut, U., Gürbüz, F., & Turgut, G. (2011). An Investigation 10 th Grade Students’ Misconceptions about Electric Current. Procedia Social and Behavioral Sciences, 15 , 1965–1971. Widodo, W. and et. al. (2018). Revealing Student’s Multiple-Misconception on Electric Circuits. Journal of Physics: Conference Series, 1108 . วันเพ็ญ คำ �เทศ. (2560). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์: ประเภทและเครื่องมือประเมิน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 10 (2): 54-64. สมเจตน์ อุระศิลป์ และ ศักดิ์ศรี สุภาษร. (2553). การสํารวจและปรับแก้มโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่อง พันธะเคมี โดยใช้โมเดล การเรียนรู้ T5 แบบกระดาษ . [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี]. สลิลทิพย์ บุญเลิศ และคณะ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อแก้ปัญหาแนวคิดคลาดเคลื่อนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น สำ �หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 3 (1): 1-14. บรรณานุกรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5