นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246
38 นิตยสาร สสวท. ก ารฉลาดรู้ด้านการอ่าน หรือการรู้เรื่องการอ่าน (Reading literacy) หมายถึง ความสามารถที่จะทำ �ความเข้าใจกับสิ่งที่ได้อ่าน สามารถ นำ �ไปใช้ประเมิน สะท้อนออกมาเป็นความคิดเห็นของตนเอง และ มีความรักและผูกพันกับการอ่าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย พัฒนาความรู้และ ศักยภาพ และการมีส่วนร่วมในสังคม (OECD, 2019) PISA ได้จัดทำ �เอกสารกรอบการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (จากเว็บไซต์ PISA Thailand (PISA Thailand, 2566) สรุปได้ดังนี้ ตาราง 1 มิติและองค์ประกอบย่อยของการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน การประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านของ PISA ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ (1) บทอ่าน เป็นสิ่งที่ผู้อ่านจะต้องอ่านซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ หลากหลาย (2) กระบวนการอ่าน เป็นกลยุทธ์ทางการคิดซึ่งบ่งชี้ถึงวิธีที่ ผู้อ่านนำ �มาใช้ในการอ่านและมีส่วนร่วมกับบทอ่าน (3) ภาระงาน เป็น ภาระงานที่ต้องปฎิบัติโดยให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับบทอ่านอย่างมีจุดประสงค์ ซึ่งก็คือการตอบคำ �ถามเกี่ยวกับบทอ่าน และ (4) สถานการณ์ เป็นบริบทหรือ สถานการณ์ที่มีความหลากหลายตามจุดประสงค์ของการอ่าน ดังตาราง 1 มิติ 1. บทอ่าน (Text) 2. กระบวนการอ่าน (Processes) กรอบการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านใน PISA 2018 ได้จำ �แนกองค์ประกอบของบทอ่าน ออกเป็น 4 มิติย่อย คือ 1.1 แหล่งข้อมูล (Source) ซึ่งอาจเป็นแหล่งข้อมูลเดียวหรือหลายแหล่งข้อมูล 1.2 องค์ประกอบและหน้าจอที่ปรากฏในการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Organisational and navigational structure) ซึ่งอาจเป็นบทอ่านที่หน้าจอคงที่หรือเป็นบทอ่านที่หน้าจอสลับไป มาได้ 1.3 รูปแบบของบทอ่าน (Text format) ประกอบด้วยบทอ่านแบบต่อเนื่อง ไม่ต่อเนื่อง และแบบผสม 1.4 ประเภทของบทอ่าน (Text Type) อาจเป็นการพรรณนา (Description) การบรรยาย (Narration) การบอกเล่าอธิบายเหตุผล (Exposition) การโต้แย้ง (Argumentation) คำ �แนะนำ � (Instruction) การติดต่อสัมพันธ์ (Transaction) มีกระบวนการที่เกี่ยวข้อง 4 กระบวนการ ได้แก่ 2.1 การรู้ตำ �แหน่งข้อสนเทศในบทอ่าน (Locating information) แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 2.1.1 การเข้าถึงและค้นสาระข้อสนเทศที่อยู่ในบทอ่าน (Scanning and locating) โดยผู้อ่านต้องอ่านบทอ่านเพียงชิ้นเดียวอย่างคร่าวๆเพื่อค้นหาข้อมูลซึ่งเป็น เพียงคำ � ถ้อยคำ �หรือวลี หรือค่าตัวเลข ซึ่งมีความจำ �เป็นเพียงเล็กน้อยที่จะต้อง ทำ �ความเข้าใจกับบทอ่านทั้งหมด เนื่องจากข้อมูลเป้าหมายจะปรากฏเป็นคำ �ต่อคำ � อยู่ในบทอ่าน 2.1.2 การค้นหาและเลือกบทอ่านที่เกี่ยวข้อง (Searching for and selecting relevant text) ผู้อ่านต้องจัดการกับบทอ่านหลายๆ ชิ้น สิ่งนี้มีความเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกับการอ่านจากสื่อดิจิทัล 2.2 การมีความเข้าใจในบทอ่าน (Understanding) เกี่ยวข้องกับ 2 กระบวนการย่อย ได้แก่ 2.2.1 ความเข้าใจความหมายที่แท้จริงของบทอ่าน (Representing literal meaning) ผู้อ่านต้องรับรู้ความหมายที่ถ่ายทอดในบทอ่านนั้น โดยผู้อ่านต้องมีความสามารถ ถอดความประโยคหรือข้อความสั้นๆ เพื่อให้ตรงกับข้อมูลหรือเป้าหมายตาม ภาระงานที่ต้องการ 2.2.2 การบูรณาการและลงข้อสรุปจากข้อสนเทศหลายๆ ส่วนที่อยู่ในบทอ่าน (Integrating and generating inferences) ผู้อ่านต้องจัดการกับข้อความเพื่อ สร้างความหมายโดยรวม ผู้อ่านอาจต้องแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างบทอ่านต่างๆ ด้วย การระบุแนวคิดหลักของบทอ่าน การสรุปย่อข้อความที่ยาว หรือการตั้งชื่อให้บทอ่าน ซึ่งทั้งสองกระบวนการย่อยนี้จะแสดงถึงการมีความเข้าใจในบทอ่าน องค์ประกอบย่อย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5