นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246

ปีที่ 52 ฉบับที่ 246 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 39 มิติ องค์ประกอบย่อย 2.3 การประเมินและสะท้อนความคิดเห็นต่อบทอ่าน (Evaluating and reflecting) เป็นกระบวนการอ่านระดับสูงสุดตามกรอบการประเมิน PISA 2018 ซึ่งมีเป้าหมายประเมิน มุมมองของผู้อ่านโดยคาดหวังว่าให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในบทอ่านมากกว่าความเข้าใจความหมาย ตามตัวอักษรหรือความหมายโดยสรุปของบทอ่าน โดยมีกระบวนการอ่าน 3 กระบวนการย่อย ได้แก่ 2.3.1 การประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของบทอ่าน (Assessing quality and credibility) ผู้อ่านต้องตัดสินว่าเนื้อหานั้นมีความถูกต้อง เที่ยงตรง และ/หรือ เป็นกลางหรือไม่ การระบุถึงเจตนาของการเขียนและการลงความเห็นของผู้เขียน แสดงได้ว่าผู้เขียนมีความสามารถและมีข้อมูลมากพอหรือไม่ อีกแง่หนึ่งต้องการ ให้ผู้อ่านรวมเนื้อหาสาระที่อยู่ในบทอ่านเข้ากับข้อมูลในการชี้บอกที่อยู่รอบข้าง เช่น ใครเป็นผู้เขียน เขียนเมื่อใด เขียนเพื่อวัตถุประสงค์ใด และอื่นๆ 2.3.2 การสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาและรูปแบบของเรื่องที่ได้อ่าน อย่างมีวิจารณญาณ (Reflecting on content and form) ผู้อ่านต้องประเมินว่า เนื้อหาและรูปแบบของเรื่องแสดงจุดประสงค์และมุมมองของผู้เขียนอย่าง เพียงพอหรือไม่ โดยผู้อ่านต้องนำ �ความรู้และประสบการณ์จากชีวิตจริงมาใช้ ในการเปรียบเทียบมุมมองที่แตกต่างกันได้ 2.3.3 การตรวจสอบข้อมูลที่ขัดแย้งกันและหาวิธีจัดการข้อขัดแย้งนั้น (Corroborating and handling conflict) ผู้อ่านจำ �เป็นต้องเปรียบเทียบข้อสนเทศระหว่างบทอ่าน ตระหนักถึงข้อขัดแย้งระหว่างบทอ่าน แล้วหาวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการข้อขัดแย้ง ดังกล่าว ซึ่งสามารถทำ �ได้โดยการประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล และ ความมีเหตุผลและความถูกต้องของข้ออ้างในแต่ละแหล่งข้อมูล กระบวนการอ่านนี้ มักถูกใช้เมื่อมีการตรวจสอบบทอ่านจากหลายแหล่งข้อมูล 2.4 ความคล่องในการอ่าน (Reading fluency) เป็นความสามารถที่จะอ่านประโยค หนึ่งๆ ได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงความสามารถในการอ่านคำ �หรือประโยค อย่างถูกต้องและเป็นอัตโนมัติ จากนั้นจึงวิเคราะห์คำ �ในประโยค การใช้ถ้อยคำ �หรือวลี แล้ว ประมวลผลเพื่อทำ �ความเข้าใจความหมายโดยรวมของประโยคที่อ่าน การที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับบทอ่านอย่างมีจุดประสงค์โดยการตอบคำ �ถามเกี่ยวกับ บทอ่านเพื่อแสดงให้เห็นถึงระดับความฉลาดรู้ด้านการอ่านของตนเอง โดยคำ �ถามดังกล่าว ต้องการให้ผู้อ่านใช้กระบวนการอ่านอย่างน้อยหนึ่งกระบวนการ สถานการณ์ที่เป็นกรอบการประเมินของ PISA 2018 มี 4 ประเภท คือ สถานการณ์ ส่วนบุคคล (Personal) สถานะการณ์สาธารณะ (Public) สถานการณ์ทางการศึกษา (Educational) และสถานการณ์ทางการอาชีพ (Occupational) 2. กระบวนการอ่าน (Processes) 3. ภาระงาน (Tasks) 4. สถานการณ์ (Situation) จากกรอบการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านที่กล่าวมาจะพบว่า มีการใช้บริบทของบทอ่านที่หลากหลาย ตั้งแต่ระดับส่วนบุคคลไปจนถึง ระดับโลก และสถานการณ์มีความหลากหลายและต้องอาศัยความสามารถ ด้านการคิดของผู้อ่านหลากหลายด้าน ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าการจัด การเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านเพื่อให้ ผู้เรียนได้พบกับบริบทของบทอ่านและสถานการณ์ที่หลากหลายให้ได้ มากที่สุด การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนในแต่ละวิชาก็สามารถที่จะ ส่งเสริมให้เกิดความฉลาดรู้ด้านการอ่านได้ รวมถึงวิชาวิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน ตาราง 1 (ต่อ) มิติและองค์ประกอบย่อยของการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5