นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246

40 นิตยสาร สสวท. แนวทางการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านและ สมรรถนะด้านการคิด ผู้สอนสามารถใช้บทอ่านนี้ในการฝึกกระบวนการอ่านของ ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวขณะอ่าน ฝึกด้านการรู้ตำ �แหน่งข้อสนเทศ ในบทอ่าน และการมีความเข้าใจในบทอ่าน และตรวจสอบความเข้าใจว่า ผู้เรียนเข้าใจในบทอ่าน ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อ่านข้อความ ที่มีทั้งหมดในแต่ละส่วน ตั้งแต่ข้อความที่เป็นชื่อบท ข้อความในแนวคิด สำ �คัญ และข้อความต่างๆ ในเนื้อเรื่อง หลังจากผู้เรียนอ่านข้อความ แต่ละส่วนแล้ว ผู้สอนอาจใช้เทคนิคการใช้คำ �ถาม เช่น - สิ่งที่อ่านเกี่ยวกับเรื่องอะไร (คำ �ตอบ: ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ ของผู้อ่าน เช่น เกี่ยวกับวัสดุและสมบัติของวัสดุ) - ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาที่อ่านว่าอย่างไร (คำ �ตอบ: ขึ้นอยู่กับ ความเข้าใจของผู้อ่าน เช่น เข้าใจว่าวัสดุมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีสมบัติ แตกต่างกัน การใช้สิ่งของบางอย่างประกอบด้วยวัสดุหลายชนิด) ทั้งสอง คำ �ถามเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ค้นหาสาระของสิ่งที่อ่าน และได้ฝึกฝนด้าน การมีความเข้าใจเนื้อหาสาระของสิ่งที่อ่านนอกจากนี้ ในหน้านี้ ผู้เรียน จะได้รับการฝึกให้ทำ �ความเข้าใจทั้งข้อความที่เป็นภาษา (เนื้อหาสาระ ใต้ภาพ) และภาพประกอบกันซึ่งสอดคล้องกับสมรรถนะที่ต้องการฝึกฝน ให้กับผู้เรียนด้านทำ �ความเข้าใจเนื้อหาสาระของสิ่งที่อ่านได้อีกด้วย สามารถใช้เนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการอ่านได้ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ของ PISA ที่ว่า “เพื่อประเมินความเชี่ยวชาญในกระบวนการอ่านของนักเรียน โดยอาศัยมิติที่หลากหลายของเนื้อหาที่อ่านและสถานการณ์ซึ่งมีความ หลากหลายของบริบทหรือจุดประสงค์ของการอ่านบทความที่มีตั้งแต่ หนึ่งเรื่องขึ้นไป” (PISA Thailand, 2566) ความฉลาดรู้ด้านการอ่านต้องอาศัยความสามารถหรือสมรรถนะ ด้านการคิดเพื่อใช้ในกระบวนการอ่านบทอ่านต่างๆ การกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด เป็นสิ่งสำ �คัญที่ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถตั้งแต่การคิด เพื่อค้นหาข้อสนเทศในบทอ่าน การคิดเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาสาระของบทอ่าน ไปจนถึงการคิดเพื่อประเมินและสะท้อนความคิดเห็นเนื้อหาสาระที่อ่าน ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จำ �เป็นต้องอาศัยการอ่านเพื่อหาข้อมูล ทำ �ความเข้าใจเนื้อหาสาระของบทอ่าน รวมทั้งประเมินบทอ่านและนำ �เสนอ มุมมองของตนเองเกี่ยวกับบทอ่านด้วยเช่นกัน ซึ่งภาระงานนี้ต้องอาศัย ความสามารถด้านการคิดเช่นกัน บทความนี้จะขอยกตัวอย่างแนวทางการใช้สื่อหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ระดับประถมศึกษา ของสถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เพื่อช่วยส่งเสริมความฉลาดรู้ ด้านการอ่านรวมทั้งสมรรถนะด้านการคิดในบทอ่านประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ ในหนังสือชุดนี้ เช่น การบอกเล่าอธิบายเหตุผล (Exposition) คำ �แนะนำ � (Instruction) นอกจากนี้ ยังมีเนื้อเรื่องที่เป็นเนื้อหาที่หลากหลายโดยจะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการอ่านในมิติขององค์ความรู้และ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเรียนพบเห็นได้ รอบตัวทั้งในโรงเรียนและนอกห้องเรียน และนำ �เสนอเทคนิคการใช้คำ �ถาม เพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนตื่นตัวขณะอ่านโดยใช้บทอ่าน ประเภทต่างๆ ที่อยู่ในหนังสือเรียน ซึ่งการใช้คำ �ถามนี้จะสอดคล้องกับ ภาระงาน (Tasks) ของกรอบการประเมิน PISA 2018 ที่เมื่อนักเรียนอ่าน บทอ่านแล้วต้องตอบคำ �ถามที่เกี่ยวข้องกับบทอ่านได้ ตัวอย่างเช่น ภาพ 1 - 3 (สสวท., 2560) แสดงหน้าหนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2 บทที่ 1 วัสดุรอบตัวเราหน้าที่ 2 4 และ 5 ตามลำ �ดับ ภาพ 1

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5