นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246
ปีที่ 52 ฉบับที่ 246 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 41 ภาพ 2 ภาพ 3 แนวทางการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านและสมรรถนะด้านการคิด ผู้สอนสามารถใช้บทอ่านนี้ในการฝึกกระบวนการอ่านของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวขณะอ่าน และมีความเข้าใจในบทอ่าน และ ตรวจสอบความเข้าใจว่าผู้เรียนเข้าใจในบทอ่านได้ ดังนี้ - ผู้สอนใช้คำ �ถามเพื่อฝึกฝนให้ผู้อ่านตรวจสอบความคิดของตนเองก่อนอ่าน คิดก่อนอ่าน และเมื่ออ่านเนื้อเรื่องจบแล้วต้องค้นหาว่า คำ �ถามเหล่านั้นสามารถตอบได้หรือไม่ และคำ �ตอบนั้นอยู่ส่วนใดของเนื้อเรื่องและตอบว่าอย่างไร และบางคำ �ถามเป็นคำ �ถามเพื่อตรวจสอบว่าผู้อ่าน สามารถแปลความหมายจากสิ่งที่อ่านได้หรือไม่ - หลังจากอ่านเนื้อหาในเรื่องจบแล้ว ผู้เรียนต้องตอบคำ �ถาม รู้หรือยัง ซึ่งเป็นคำ �ถามเดียวกับ คิดก่อนอ่าน ในการตอบคำ �ถามข้อ 1. วัตถุ คืออะไร (คำ �ตอบ : สิ่งของ) และ ข้อ 2. วัสดุคืออะไร (คำ �ตอบ: สิ่งต่างๆ ที่นำ �มาทำ �เป็นวัตถุเหล่านั้น) คำ �ถามสองคำ �ถามนี้ หากพิจารณาจากเนื้อเรื่อง ไม่สามารถตอบได้ทันทีจากเนื้อหาที่อ่านเพราะในเนื้อเรื่องก็ไม่ได้ให้ความหมายของคำ �ว่าวัตถุและวัสดุไว้อย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา ผู้เรียนจำ �เป็นต้อง ค้นหาว่าสาระที่จะนำ �มาตอบคำ �ถามอยู่ย่อหน้าและบรรทัดใดในเนื้อเรื่อง และต้องทำ �ความเข้าใจกับสาระนั้นก่อนจึงจะสามารถตอบได้ สำ �หรับคำ �ถาม ข้อ 3. วัสดุใดบ้างที่ใช้ทำ �บ้าน (คำ �ตอบ: ไม้ อิฐ) การที่จะตอบคำ �ถามนี้ได้ ผู้อ่านต้องค้นหาสาระของสิ่งที่อ่านก่อน และทำ �ความเข้าใจเนื้อหาของสิ่งที่ อ่านว่า อะไรบ้างเป็นชนิดของวัสดุที่นำ �มาทำ �บ้านได้ - ผู้สอนอาจเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ระบุแนวคิดหลักของบทอ่านซึ่งเป็นการฝึกการอ่านในด้านการมีความเข้าใจในบทอ่านโดยในบทอ่านนี้ เป้าหมายเพื่อต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของคำ �ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ในคำ �สำ �คัญ ได้แก่ วัตถุและวัสดุ ผ่านเรื่องราวการนำ �วัสดุมาใช้ในการทำ � สิ่งของหรือวัตถุต่างๆ จากเนื้อเรื่องอาจสรุปแนวคิดหลักได้ว่า สิ่งของต่างๆ เป็นวัตถุซึ่งทำ �มาจากวัสดุต่างๆ หากผู้อ่านสามารถบอกแนวคิดหลักจาก บทอ่านได้ก็แสดงว่าผู้อ่านมีความเข้าใจบทอ่าน เมื่อใช้กรอบสมรรถนะของผู้เรียนเกี่ยวกับความฉลาดรู้ด้าน การอ่านของ PISA จะพบว่า ในภาพ 1 - 3 เมื่อผู้สอนได้ใช้บทอ่านประเภท แหล่งข้อมูลเดียวและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการอ่าน (ดังตาราง 1) ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ผู้เรียนจะได้ฝึกในข้อ 2.1 การรู้ตำ �แหน่งข้อสนเทศ ของบทอ่าน ด้าน 2.1.1 การเข้าถึงและค้นสาระข้อสนเทศที่อยู่ในบทอ่าน และ 2.2 การมีความเข้าใจในบทอ่านในด้าน 2.2.1 ความเข้าใจในความหมาย ที่แท้จริงของบทอ่าน อีกตัวอย่างแสดงหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2 หน้าที่ 6 ดังภาพ 4 (สสวท., 2560)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5