นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246
42 นิตยสาร สสวท. - ในหัวข้อ ทำ �อย่างไร จะเป็นหัวข้อที่สอดคล้องกับลักษณะบทอ่านที่เป็นคำ �แนะนำ � (Instruction) (PISA Thailand, 2566) ผู้สอนสามารถใช้คำ �ถาม เช่น 1) ทำ �อย่างไร ในข้อที่ 1 ต้องทำ �อะไรบ้าง (คำ �ตอบ: ต้องสังเกตวัสดุที่แตกต่างกัน 5 ชนิด) ซึ่งคำ �ถามนี้เพื่อตรวจสอบความเข้าใจความหมายที่แท้จริงของ บทอ่านได้ หากผู้อ่านสื่อสารด้วยข้อความสั้นๆ ดังตัวอย่างคำ �ตอบ ผู้สอนอาจถามต่อไปว่า ต้องสังเกตวัสดุแต่ละชนิดอย่างไร ต้องสังเกตอย่างละเอียด เช่น จำ �นวน ของวัสดุแต่ละชนิดมีเท่าใด และลักษณะของวัสดุแต่ละชนิดเป็นอย่างไร เช่น สี ลักษณะผิว รูปทรง ผู้อ่านตอบได้แบบนี้แสดงว่าผู้อ่านมีความเข้าใจความหมาย ที่แท้จริงของบทอ่าน 2) ตัวแปรที่ต้องระบุในข้อที่ 2 มีตัวแปรอะไรบ้าง (คำ �ตอบ: ตัวแปรที่ต้องระบุมี ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรที่ต้องควบคุม) หากผู้อ่านตอบได้ แสดงว่าผู้อ่านเข้าใจความหมายของคำ �ว่าตัวแปรในการทดลองนี้ • ผู้สอนอาจเปิดโอกาสให้ผู้อ่านสรุปย่อขั้นตอนการทำ �กิจกรรมที่ผู้อ่านได้อ่านเพื่อตรวจสอบว่าผู้อ่านสามารถสรุปข้อสนเทศที่มีอยู่ในขั้นตอนการทำ � กิจกรรมซึ่งมีอยู่หลายส่วน เช่น หากผู้อ่านสรุปวิธีทำ �กิจกรรม ได้ว่า - สังเกตวัสดุที่แตกต่างกัน 5 ชนิด - ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับวัสดุที่เลือกมา 1 ชนิดเทียบกับอีก 4 ชนิดที่เหลือพร้อมระบุตัวแปรของการทดลอง - ออกแบบการทดลองและตารางบันทึกผลการทดลอง และสรุปวิธีการทดสอบความแข็ง - ทำ �การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน - อภิปรายและลงข้อสรุป - สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของวัสดุ หากผู้อ่านสรุปได้เช่นนี้ แสดงถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการดำ �เนินกิจกรรมและเป็นไปตามลำ �ดับ ซึ่งแสดงว่าผู้อ่านเข้าใจความหมายที่แท้จริงของบทอ่าน เมื่อใช้กรอบสมรรถนะของผู้เรียนเกี่ยวกับความฉลาดรู้ด้านการอ่านของ PISA จะพบว่าในภาพ 4 ผู้สอนได้ใช้บทอ่านประเภทแหล่งข้อมูลเดียวและ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการอ่าน (ดังตาราง1) ผู้อ่านจะได้ฝึกในข้อ 2.1 การรู้ตำ �แหน่งข้อสนเทศของบทอ่านในด้าน 2.1.1 การเข้าถึงและค้นสาระ ข้อสนเทศที่อยู่ในบทอ่าน และ ข้อ 2.2 การมีความเข้าใจในบทอ่านในด้าน 2.2.1 ความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของบทอ่านและด้าน 2.2.2 การบูรณาการและ ลงข้อสรุปจากข้อสนเทศหลายๆ ส่วนที่อยู่ในบทอ่าน ภาพ 4 แนวทางการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่าน และสมรรถนะด้านการคิด ในหน้านี้จะประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม และมีหัวข้อ ทำ �เป็นคิดเป็น สิ่งที่ ต้องใช้ และ ทำ �อย่างไร ผู้สอนสามารถใช้บทอ่านนี้ในการฝึกกระบวนการอ่านของ ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวขณะอ่าน และมีความเข้าใจในบทอ่านและตรวจสอบ ความเข้าใจว่าผู้เรียนเข้าใจในบทอ่าน • ใช้เทคนิคการถามคำ �ถาม เช่น วิธีการที่ 1 ผู้สอนอาจให้ผู้อ่านอ่านเนื้อเรื่องในหน้านี้ตั้งแต่ต้นจนจบ และใช้คำ �ถาม เช่น - รายการวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้อยู่ส่วนใดของเนื้อเรื่อง (คำ �ตอบ: อยู่ในหัวข้อ สิ่งที่ต้องใช้) คำ �ถามนี้เพื่อตรวจสอบว่าผู้อ่านสามารถค้นหาสาระจากสิ่งที่อ่านได้ - นำ �วัสดุเหล่านี้มาทำ �อะไร (คำ �ตอบ : นำ �มาทดลองเพื่อเปรียบเทียบ ความแข็งของวัสดุแต่ละชนิด) คำ �ถามนี้เพื่อตรวจสอบว่าผู้อ่านมีความเข้าใจในบทอ่าน วิธีการที่ 2 ผู้สอนอาจให้ผู้อ่านอ่านไปทีละหัวข้อแล้วใช้คำ �ถาม ตัวอย่างเช่น - ในหัวข้อ ทำ �เป็นคิดเป็น หลังจากผู้อ่านอ่านเนื้อเรื่องในหัวข้อนี้จบแล้ว ผู้สอนอาจใช้คำ �ถามว่า ในกิจกรรมนี้ เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (คำ �ตอบ: จะได้ เรียนรู้เกี่ยวกับความแข็งของวัสดุแต่ละชนิดและการนำ �วัสดุมาใช้ประโยชน์) คำ �ถามนี้ เพื่อตรวจสอบว่าผู้อ่านสามารถสรุปได้ว่าจะได้เรียนรู้แนวคิดอะไรหลังจากทำ �กิจกรรม ซึ่งแสดงว่าผู้อ่านมีความเข้าใจในบทอ่าน - ในหัวข้อ สิ่งที่ต้องใช้ ผู้สอนอาจถามผู้อ่านว่า มีแผ่นวัสดุกี่ชนิดที่ต้อง นำ �มาเปรียบเทียบความแข็งและมีชนิดใดบ้าง (คำ �ตอบ: มี 5 ชนิด ได้แก่ แผ่นไม้ แผ่นพลาสติก แผ่นเหล็ก แผ่นอะลูมิเนียม และแผ่นกระจก) คำ �ถามนี้เพื่อตรวจสอบว่า ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระของสิ่งที่อ่านได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5