นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246
ปีที่ 52 ฉบับที่ 246 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 59 สวัสดีคุณๆ ผู้อ่านที่รัก ณ เวลาที่คุณเปิดอ่านเรื่องราวที่ต่ายกำ �ลังจะเล่า ต่ายเชื่อว่าคุณน่าจะเคยได้ยินข่าว ผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้ว เกี่ยวกับรายงานการวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ที่ รายงานในวารสารงานวิจัย PNAS เรื่อง Rapid single-particle chemical imaging of nanoplastics by SRS microscopy. Qian, N., Gao, X., Lang, X., Deng, H., Bratu, T. M., Chen, Q., ... & Min, W. (2024). Proceedings of the National Academy of Sciences, 121 (3): 281- 290. , e2300582121 . ซึ่งเป็น รายงานการค้นพบอนุภาคนาโนพลาสติกในน้ำ �ดื่มบรรจุขวดขนาด 1 ลิตร โดยในแต่ละขวดจะพบนาโน พลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 100 นาโนเมตร (nm) อยู่ระหว่าง 110,000 - 370,000 ชิ้น นอกจากนี้ ยังพบ ไมโครพลาสติกด้วยและพบมากกว่างานวิจัยก่อนหน้านี้ 100 เท่า งานวิจัยครั้งนี้ได้ทำ �การสุ่มตัวอย่าง น้ำ �ดื่มบรรจุขวดขนาด 1 ลิตร จากหลายๆ ยี่ห้อที่ขายในซุปเปอร์มาเก็ต 3 แห่งในสหรัฐอเมริกา แล้ว นำ �ไปตรวจหานาโนพลาสติกโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษที่ใช้แสงเลเซอร์เรียกว่า กล้อง “Stimulated Raman Scattering (SRS) Microscopy” ซึ่งปกติแล้วกล้องชนิดนี้จะเป็นกล้องที่ใช้ในการตรวจสอบ เนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตได้ โดยที่ไม่ต้องนำ �เอาชิ้นเนื้อเยื่อไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำ �ให้สามารถดูได้ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์เหมือนที่เราเคยมีประสบการณ์การดูชิ้นเนื้อเยื่อจากสไลด์ถาวรในสมัยเรียน ระดับมัธยม หรือระดับมหาวิทยาลัย QUIZ ภาพ 1 แสดงให้เห็นถึงการเดินทางของชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กเข้าไปในหอยที่อยู่ในฟาร์มเพาะเลี้ยงตามชายฝั่งทะเล และเมื่อหอยกินอาหารและหายใจโดยการดูดน้ำ �ทะเลเข้าไป (Sea Water Inhaled) ในตัวหอย ก็จะมีทั้งสารอาหาร (Nutrients) และพลาสติกขนาดเล็ก (Microplastics) ที่จะถูกดึงเข้าไปติดอยู่ภายในทางเดินอาหาร และเมื่อปล่อยน้ำ �ออกมาจากตัวจะพบว่า พลาสติกขนาดเล็กจะถูกขับออกมาจากตัวได้น้อยกว่าที่ถูกดึงเข้าไปในตัวของหอย (ภาพหอยทางด้านซ้ายมือ) แต่เมื่อนำ �หอย มาล้างน้ำ �ทำ �ความสะอาดอีกครั้งก็จะเกิดกระบวนการแบบเดียวกับ พบว่ามีพลาสติกขนาดเล็กถูกขับออกมาจากตัวหอยได้บ้าง แต่ยังคงมีพลาสติกขนาดเล็กจำ �นวนมากติดอยู่ภายในตัวหอย (ภาพหอยทางขวามือ) (อ้างอิง : Smith et al., 2018) เ พื่อให้คุณๆ เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับการกำ �หนด ขนาดของพลาสติกที่มีการศึกษาวิจัยกันที่ผ่านมาก่อน หน้านี้ นักวิทยาศาสตร์จากหลายสำ �นักได้มีการศึกษา วิจัยเกี่ยวกับการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก (พลาสติกที่มี ขนาดประมาณ 1 - 5 ไมโครเมตร ตัวย่อของหน่วยไมโครเมตร คือ µ m) ในอาหาร การดูดซึมเข้าสู่รากพืช และการปนเปื้อน ในสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบและจากข้อมูลเบื้องต้น พบว่ามีปัจจัยต่างๆ ที่มีผลทำ �ให้พลาสติกเกิดการสลายตัว จนมีขนาดเล็กลงได้ เช่น แสง UV อุณหภูมิ แรงกระแทก จากน้ำ �และลม ทำ �ให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าต้องมีพลาสติก ขนาดเล็กกว่าที่พบอีกเป็นจำ �นวนมากที่ปนเปื้อนใน สิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ จึงมีความพยายาม ที่จะตรวจหาพลาสติกที่มีขนาดเล็กลงอีก จนถึงในระดับ นาโนเมตร จนเกิดเป็นคำ �ว่า “นาโนพลาสติก” “นาโนพลาสติก” หมายถึง พลาสติกที่มีขนาดเล็กมาก ในระดับนาโนเมตร ซึ่งคุณๆ น่าจะกะขนาดได้ยาก ลองมาใช้ คณิตศาสตร์ช่วย น่าจะทำ �ให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวกับขนาด ของนาโนพลาสติกได้ ในทางคณิตศาสตร์ 1 นาโนเมตร จะ มีค่า = เศษ 1 ส่วน 1,000,000,000 เมตร โดยถ้าจะเขียน เป็นทศนิยมก็จะได้เป็น 0.000000001 เมตร ในขณะที่ขนาด ของเซลล์เม็ดเลือดมนุษย์จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 - 8 ไมโครเมตร หรือ 0.000007 - 0.000008 เมตร ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ถ้านักวิทยาศาสตร์ไม่ตั้งใจจะตรวจหา “นาโน พลาสติก” มองยังไง หายังไงก็ไม่เจอแน่นอนเพราะมี ขนาดเล็กมาก นักวิทยาศาสตร์จึงต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ชนิดพิเศษมาตรวจหา ตามที่ต่ายเล่าไว้ในตอนต้น ก่อนจะเริ่มตรวจหา “นาโนพลาสติก” ที่มีการปนเปื้อน ในอาหาร น้ำ �ดื่ม และสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจ และพิสูจน์ในเห็นแล้วว่า การใช้และปล่อยให้ขยะพลาสติก กระจัดกระจายในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะโดยตั้งใจทิ้งหรือไม่ตั้งใจทิ้งก็ตาม มันส่งผลกระทบ ย้อนกลับมาทำ �ให้เกิดการปนเปื้อนในกุ้งหอยปูปลาที่ใช้เป็นอาหาร และสามารถถูกดูดซึม เข้าสู่รากพืชได้ และท้ายที่สุดพลาสติกเหล่านั้นก็จะเข้ามาสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ เช่น ภาพจากในรายงานการวิจัยเรื่อง Microplastics in seafood and the implications for human health. Smith, M., Love, D. C., Rochman, C. M., & Neff, R. A. (2018). Current environmental health reports, 5 :375 - 386. เป็นภาพที่ทำ �ให้เราเข้าใจได้ว่าทำ �ไม สัตว์กลุ่มหอยหลากหลายชนิดจึงมีไมโครพลาสติกเข้าไปอยู่ในตัวมันได้ ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าในการดำ �รงชีวิตของหอยทั้งการหายใจและการกินอาหารจะต้องอาศัยการดึง เอาน้ำ �ผ่านเข้าไปในตัวหอย และในน้ำ �ทะเลจะมีทั้งไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก จำ �นวนมากลอยไปมา ดังนั้น น้ำ �ทะเลที่มีชิ้นส่วนของพลาสติกก็จะผ่านเข้าไปในตัวหอย และ มักจะติดอยู่ภายในตัวของหอย (ภาพ 1) สุดท้ายเมื่อเราบริโภคหอยที่มีการสะสมชิ้นส่วนของ พลาสติกอยู่ภายในตัวเข้าไป ชิ้นส่วนพลาสติกเหล่านั้นจะเข้าไปอยู่ในตัวของเรานั่นเอง ต่าย มั่นใจว่าการที่คุณทำ �ให้หอยสุกแล้วจับใส่ปากกิน และคุณก็มักจะพูดว่า “หอยมันสดดีจัง เนื้อเด้งดึ๋งๆ เลย” ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากพลาสติกที่ปนเปื้อนในหอยละลายปนกับเนื้อหอยที่เรา ปรุงสุกแล้ว ต่ายมักจะบอกกับเพื่อนต่ายว่า มันคือความสดใหม่ จาก “พลาสติก” นั่นเอง พลาสติกที่เข้าสู่ร่างกายไปก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง พบว่าหากมนุษย์กินอาหาร ที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกเข้าไป ร่างกายสามารถกำ �จัดไมโครพลาสติก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5