นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 246

60 นิตยสาร สสวท. นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี ค.ศ. 2050 ในทะเลจะมีจำ �นวน ขยะพลาสติกมากกว่าจำ �นวนปลาในทะเล และจากเรื่องราวที่ต่ายเล่ามาน่าจะมีส่วน ช่วยให้คุณนำ �ไปใช้ในการตัดสินใจเลือกชนิดของอาหาร แหล่งที่มาของอาหาร สำ �หรับ การบริโภคได้เพื่อลดความเสี่ยงของตนเองในการรับพลาสติกเข้าสู่ร่างกายให้ได้ มากที่สุด ถ้าหากคุณสนใจหรืออยากให้ต่ายติดตาม ค้นหาเรื่องราวในแวดวง วิทยาศาสตร์เรื่องใดเป็นพิเศษเพื่อนำ �มาเล่าสู่กันฟัง เหมือนเดิม คุณก็สามารถเขียน e-mail ส่งมาบอกกล่าว หรือมาคุยกับต่ายได้เหมือนเดิม ที่ funny_rabbit@live.co.uk ขอให้สุขภาพดีกันถ้วนหน้าิ ต QUIZ Kevin Bacon ได้กล่าวไว้ว่า “พวกเรากำ �ลังจะตายจากพลาสติก จากปริมาณพลาสติกที่พวกเรา ทิ้งมัน พลาสติกเหล่านั้นมันกำ �ลัง ทำ �ลายมหาสมุทร และเข้าสู่ร่างกายเรา ผ่านปลาที่เรากินนั่นเอง” ต่าย แสนซน ภาพ 2 ภาพหนอนนกยักษ์ (Zophobas) กำ �ลังกิน โพลีสไตรีน หรือ สไตโรโฟม (Sun et al., 2022) (ที่มา: Radford et al., 2019) ออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระได้มากกว่า 90% ของที่ กินเข้าไป มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำ �จัดไมโครพลาสติก ออกจากร่างกาย เช่น ขนาด รูปร่าง ชนิดของพลาสติก และ สารเคมี ที่ใส่เพิ่มลงไปในพลาสติกแต่ละชนิด แต่นาโนพลาสติก จะสามารถเข้าสู่ร่างกายและผ่านเข้าไปสู่กระแสเลือดได้ โดยตรงเนื่องจากมันมีขนาดเล็กมากนั่นเอง มีงานศึกษาวิจัยหลายเรื่องที่แสดงให้เห็นถึง ผลกระทบของการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนพลาสติกเข้า ร่างกาย เช่น เร่งการตอบสนองต่อการอักเสบต่างๆ ของ ร่างกาย ผลกระทบจากสารพิษที่พลาสติกชนิดที่กินเข้าไป ดูดซับไว้ ผลกระทบทำ �ให้ความหลากหลายของชนิดของ จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารลดลง (ซึ่งจะส่งผลทำ �ให้เกิดโรค ต่างๆ ตามมา) และมีการทดลองและแสดงให้เห็นถึงพิษของ พลาสติกที่มีต่อเซลล์ตับ เซลล์ปอด และเซลล์สมองที่เลี้ยงและ เจริญในห้องปฏิบัติการ นักวิทยาศาสตร์ยังคงต้องศึกษาและ วางแผนการทดลองเพื่อจะทำ �ให้มีหลักฐานที่บ่งชี้ให้เห็นแบบชัดๆ ถึงผลกระทบจากการ กินอาหารที่ปนเปื้อนพลาสติกขนาดต่างๆ เข้าสู่ร่างกายต่อไปในอนาคต ต่ายจะบอกว่า คุณอย่าเพิ่งหมดหวัง มนุษย์ยังมีทางรอดท่ามกลางขยะพลาสติก ท่วมโลก ความหวังในการหาวิธีที่จะย่อยขยะพลาสติก ส่วนหนึ่งมาจากทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย ควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ที่ค้นพบว่า หนอนนกยักษ์ หรือ Superworm ที่เป็นตัวอ่อนของด้วง Zophobas (ชื่อวิทยาศาสตร์ Zophobas morio ) สามารถเจริญเติบโตได้จากการกิน พลาสติกชนิดโพลีสไตรีน (Polystyrene) หรือ สไตโรโฟม (Styrofoam) ซึ่งเป็นพลาสติก ที่ถูกนำ �มาใช้ในการผลิตกล่องโฟมและวัสดุกันกระแทก จากการทดลอง แม้ว่าจะย่อย พลาสติกได้เพียงชนิดเดียวก็ตาม แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของความพยายามที่จะแก้ปัญหา ขยะพลาสติก ทีมวิจัยได้ทำ �การทดลองโดยใช้หนอนนกยักษ์ทั้งหมด 171 ตัว พอได้มาก็ จัดการเลี้ยงดูปูเสื่อด้วยรำ �ข้าว เสริมด้วยแครอท และควบคุมอุณหภูมิห้องให้อยู่ในช่วง 20 - 25 องศาเซลเซียส เลี้ยงไว้ 1 สัปดาห์ เพื่อให้หนอนนกยักษ์ปรับสภาพร่างกาย ลดความเครียด จากการเดินทาง จากนั้นก็ทำ �การทดลองต่อดังตาราง และทำ �การชั่งน้ำ �หนักหนอนนกยักษ์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโตของหนอนนกยักษ์ จากการทดลองทีมวิจัยสามารถสรุปได้ว่า หนอนนกยักษ์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วย ตารางแสดงขั้นตอนการทดลองและจำ �นวนหนอนนกยักษ์ที่ใช้ในการทดลองแต่ละขั้น การทดลอง กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยรำ �ข้าว เสริมแครอท กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยรำ �ข้าว เสริมแครอท กลุ่มที่ 3 เลี้ยงด้วยรำ �ข้าว เสริมแครอท พักฟื้นปรับตัว 1 สัปดาห์ เก็บตัวอย่าง -80 องศาเซลเซียส เลี้ยงต่ออีก 3 สัปดาห์ จำ �นวนที่เหลือ เก็บตัวอย่าง -80 องศาเซลเซียส 19 ตัว 4 ตัว 15 ตัว 15 ตัว 15 ตัว 15 ตัว 15 ตัว 15 ตัว 15 ตัว 15 ตัว 15 ตัว กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยรำ �ข้าว นำ �ตัวอย่างหนอนนกยักษ์ มาแยกทางเดินอาหารออก เพื่อสกัด DNA และวิเคราะห์หาความหลากหลายของแบคทีเรีย ในทางเดินอาหาร กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยโพลีสไตรีน กลุ่มที่ 3 ให้อดอาหาร 19 ตัว 4 ตัว 19 ตัว 4 ตัว 19 ตัว 4 ตัว 19 ตัว 4 ตัว 19 ตัว 4 ตัว 19 ตัว 4 ตัว 19 ตัว 4 ตัว 19 ตัว 4 ตัว การกินแต่โพลีสไตรีน แต่โพลีสไตรีนที่หนอนนกยักษ์กินเข้าไปมีผลกระทบต่อความหลากหลาย ของชนิดของแบคทีเรียในทางเดินอาหารและสุขภาพของมันด้วย การกินโพลีสไตรีนของหนอนนกยักษ์ ต้องอาศัยความช่วยเหลือในการย่อยจากแบคทีเรียในลำ �ไส้หนอนนกยักษ์ เพื่อให้ได้พลังงานสำ �หรับ นำ �มาใช้ และทีมวิจัยได้ค้นพบยีนสำ �หรับการสร้างเอนไซม์หลายชนิดที่แบคทีเรียสร้างขึ้นมาเพื่อ ใช้ย่อยโพลีสไตรีนที่หนอนนกยักษ์กินเข้าไป โดยเป้าหมายต่อไปของทีมวิจัยนี้ก็คือ พวกเขาตั้งใจ ที่จะสร้างเอนไซม์ขึ้นมาในระดับอุตสาหกรรม เพื่อนำ �ไปใช้ในการย่อยโพลีสไตรีนจำ �นวนมากๆ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก Sun, J., Prabhu, A., Aroney, S. T., & Rinke, C. (2022). Insights into plastic biodegradation: community composition and functional capabilities of the superworm (Zophobas morio) microbiome in styrofoam feeding trials. Microbial genomics, 8 (6).

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5