นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 247

ปีที่ 52 ฉบับที่ 247 มีนาคม - เมษายน 2567 53 ลำ �ธาร แม่น้ำ � บ่อน้ำ � ตัวอ่อนแมลงที่มีการตรวจวัด เช่น ตัวอ่อน ชีปะขาว ตัวอ่อนแมลงเกาะหิน ตัวอ่อนแมลงช้างกรามโต ซึ่งจะพบ อยู่ในบริเวณแหล่งน้ำ �คุณภาพดี หากพบตัวอ่อนแมลงปอ ตัวอ่อน แมลงปอเข็ม จะอยู่ในน้ำ �คุณภาพปานกลาง สามารถศึกษาหลักวิธี ดำ �เนินการตรวจวัดทางด้านน้ำ �เพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ https:// www.globe.gov/web/hydrosphere นอกจากนี้ ในระบบนิเวศป่าไม้แมลงเป็นผู้ช่วยผสมเกสร ช่วยให้ต้นไม้ติดผลได้ดี แมลงบางชนิดทำ �หน้าที่ควบคุมศัตรูพืช ตามธรรมชาติ หรือเราเรียกว่า แมลงศัตรูธรรมชาติ (Predator) และแมลงบางชนิดยังเป็นผู้ย่อยสลาย (Decomposer) ช่วย ย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ให้เป็นอินทรียวัตถุในดินทำ �ให้เกิด การหมุนเวียนธาตุอาหารภายในระบบนิเวศ อีกทั้งแมลงยัง สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าไม้ เช่น การพบ หิ่งห้อยในบริเวณป่าชายเลน ซึ่งบริเวณนั้นจะต้องมีความสมบูรณ์ และมีอาหารของหิ่งห้อย คือ หอย อยู่นั่นเอง ตัวอย่างงานวิจัยของนักเรียนที่ศึกษาแมลงเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยโครงการโลกศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (GLOBE) จัดการประกวดผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (GLOBE Student Research Competition : GLOBE SRC) เป็นประจำ �ทุกปี โดยมีนักเรียนที่ใช้หลักวิธีดำ �เนินการตรวจวัดของ GLOBE ในการ ตรวจวัดข้อมูลสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีนักเรียนบางส่วนที่มีการศึกษา จำ �นวนและชนิดของแมลงเชื่อมโยงกับระบบนิเวศของพื้นที่ของ นักเรียน เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวอ่อนแมลงน้ำ � และ คุณภาพน้ำ � บริเวณต้นน้ำ � กลางน้ำ � น้ำ �ตกบัวตอง อำ �เภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการศึกษาคุณภาพน้ำ �ทางกายภาพ ทาง เคมี และทางชีวภาพ โดยทางชีวภาพได้ศึกษาความสัมพันธ์ของ ตัวอ่อนแมลงน้ำ � เปรียบเทียบคุณภาพของน้ำ � โดยใช้หลักวิธี ดำ �เนินการของ GLOBE และมีการเปรียบเทียบในเชิงพื้นที่ของ น้ำ �ตกตั้งแต่ต้นน้ำ � กลางน้ำ � และปลายน้ำ � การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อชนิด และปริมาณลูกน้ำ �ยุงลาย พื้นที่ตำ �บลสีชมพู อำ �เภอสีชมพู และ ตำ �บลภูผาม่าน อำ �เภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นการสำ �รวจ ระยะลูกน้ำ �ของยุง ซึ่งเป็นแมลงที่เป็นพาหะนำ �โรคที่ส่งกระทบต่อ สุขภาพ โดยเป็นการศึกษาชนิดและปริมาณของลูกน้ำ �ยุงลายที่พบ ในพื้นที่ของนักเรียน ร่วมกับการตรวจวัดข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิของน้ำ � ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ �ในแหล่งน้ำ �ที่พบ ลูกน้ำ �ยุง รวมทั้งลักษณะของภาชนะที่พบลูกน้ำ �ยุง เพื่อนำ �มาคำ �นวน ค่าดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำ �ยุงลายเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ชุมชน

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5