นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 247
ปีที่ 52 ฉบับที่ 247 มีนาคม - เมษายน 2567 59 QUIZ ส วัสดีคุณๆ ผู้อ่านที่รัก ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของปี ร้อนในระดับที่หลายพื้นที่อุณหภูมิสูงมากกว่า 40 °c และจะร้อน ขึ้นไปเรื่อยๆ ในปีต่อๆ ไป ตามการพัฒนาและความเจริญของ สังคมเมืองที่มนุษย์ต่างใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลกันอย่างต่อเนื่องทั้ง การใช้ในทางตรงและทางอ้อม ตามมาตรฐานและความจำ �เป็นของแต่ละคน รวมทั้งการที่จำ �นวนต้นไม้ลดลงด้วย หลายประเทศร้อนมากจนต้องประกาศ หยุดเรียน เช่น บังคลาเทศที่อุณหภูมิสูงถึง 42 °c และฟิลิปปินส์ อุณหภูมิอากาศ 38.8 °c แต่ดัชนีความร้อน (หมายถึง อุณหภูมิที่เรารู้สึกได้ โดยวิเคราะห์จากค่าอุณหภูมิอากาศในขณะนั้นกับความชื้นสัมพัทธ์ใน อากาศ) มีค่าสูงมากถึง 45 °c ในขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านประเทศอื่นๆ แม้จะไม่ได้มีข่าวประกาศหยุดเรียน แต่ก็พยายามหาวิธีการต่างๆ มาช่วยบรรเทาปัญหาความร้อนจากอากาศ เช่น สิงคโปร์ หลายโรงเรียน อนุโลมให้นักเรียนไม่ต้องใส่ชุดพละของโรงเรียนในชั่วโมงพละศึกษาได้ แต่ ให้เลือกใส่ชุดพละที่เหมาะสมและสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่าแทน รัฐบาลกัมพูชาประกาศปรับลดชั่วโมงเรียนในช่วงเวลาที่อากาศร้อน โดย ให้งดการเรียนการสอนช่วงเวลากลางวันที่มีอากาศร้อน (10:00 - 14:00 น) และจากข่าวบางโรงเรียนในกัมพูชามีการนำ �น้ำ �มาเทไว้ที่พื้นห้องเรียนเพื่อ ให้นักเรียนได้แช่เท้าในน้ำ �ขณะเรียนเพื่อลดความร้อน ประเทศเวียดนาม อุณหภูมิในหลายๆ พื้นที่ อยู่ในช่วง 40.2 - 44.0 °c ประเทศมาเลเซีย มีรายงานอุณหภูมิสูง ในช่วง 35 - 40 °c สิงคโปร์ 27 - 36 °c และ ประเทศไทย จังหวัดลำ �ปาง มีอุณหภูมิสูงถึง 44.2 °c เลยทีเดียว ทำ �ให้ ต่ายนึกถึงเสื้อที่ซื้อจากลำ �ปาง ที่พิมพ์คำ �ว่า “ลำ �ปางหนาวมาก” ณ วันนี้ คงต้องเพิ่มตัวหนังสือที่พิมพ์บนเสื้อเป็น “ลำ �ปางร้อนมาก” แล้วสินะ และคุณๆ เชื่อไหมว่า สำ �หรับเรื่อง “โลกร้อน หรือ Global Warming” นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองเก็บข้อมูล และลงข้อสรุปมาสักพัก แล้วว่า “โลกร้อน” เป็นผลมาจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิสที่เพิ่มขึ้น ภาพ 1 แสดงผลกระทบที่เกิดจาก Climate Change ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม (อ้างอิง: Gairola, S. U., Bahuguna, R., & Bhatt, S. S. (2023). Native plant species: A tool for restoration of mined lands. Journal of Soil Science and Plant Nutrition, 23(2), 1438-1448.) และเป็นปัจจัยหลักที่เร่งทำ �ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือที่เรียกกันว่า “Climate Change” จากภาพ 1 แสดงผลกระทบที่ เกิดจาก Climate Change ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ทำ �ให้เกิดโลกร้อน (Global Warming) ทำ �ให้เกิดความแห้งแล้ง (Droughts) ทำ �ให้เกิดความหิวโหย (Hunger) ความถี่และความรุนแรงของสภาพอากาศเพิ่มสูงขึ้น (Frequent and extreme weather events) ทำ �ให้เกิดการอพยพย้ายถิ่น (Migration) ทำ �ให้เกิดไฟป่า (Wildfires) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Hazards) เกิดการแพร่กระจายของโรค (Disease Outbreak) ระดับน้ำ �ทะเลเพิ่มสูงขึ้น และเกิดอุทกภัย (Sea level rise and floods) เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ �ดื่ม (Shortage of drinking water) ขาดแคลนอาหาร (Food Shortage) และเพิ่มปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ (Increase conflict over natural resources) Q U I Z
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5