นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248

ปีที่ 52 ฉบับที่ 248 พฤษภาคม - มิถุนายน 2567 11 “ในปัจจุบันการเรียนรู้ฟิสิกส์ยุคใหม่ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำ �หรับนักเรียน (Kersting, 2024) แต่งานวิจัยเพื่อระบุ หัวข้อยากและสาเหตุของความยากในการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ของหลักสูตรไทย พบว่า Core 7 ฟิสิกส์แผนใหม่ ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหา คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ฟิสิกส์อะตอม ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค ถูกระบุว่าเป็นวิชาที่ยากที่สุด เนื่องจาก ธรรมชาติของเนื้อหามีความซับซ้อนและเป็นนามธรรม นอกจากนี้ ยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น สภาพแวดล้อมใน การเรียนรู้ คำ �ศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย และความพร้อมของนักเรียน (รักษพล ธนานุวงศ์, 2567) สอดคล้องกับงานวิจัยของ ต่างประเทศที่พบว่าความซับซ้อนของการคำ �นวณความยากของเนื้อหา และความก้าวหน้าทางองค์ความรู้อย่างรวดเร็วทำ �ให้ การเรียนฟิสิกส์อนุภาคถูกมองว่าเป็นเรื่องยาก (Kranjc Horvat et al., 2022; Kersting, 2024)” ดังนั้น การสอน ฟิสิกส์อนุภาคให้มีความน่าสนใจ สามารถถ่ายทอดทักษะ ความรู้ และแรงบันดาลใจในการเรียนให้กับนักเรียนได้ จึงถือว่า เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของครู ง านวิจัยเกี่ยวกับการสอนฟิสิกส์ยุคใหม่ของนักฟิสิกส์ศึกษาที่ CERN (European Council for Nuclear Research หรือ สภาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป) ระบุว่า การจัดการเรียนรู้ที่เฉพาะและ มีความแปลกใหม่ เช่น การได้ทำ �กิจกรรมที่เป็นการลงมือปฏิบัติ (Hands-On Activity) อาทิ แลปปฏิบัติการ เกม เรื่องเล่า สามารถพัฒนา การเรียนรู้ของนักเรียนได้ โดยเฉพาะในด้านแรงจูงใจในการเรียนรู้และ อัตมโนทัศน์ในการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียน (Woithe et al., 2022; Kersting, 2024) ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ CERN - International High School Teacher Programme 2023 ที่สมาพันธรัฐสวิสเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการความร่วมมือไทยเซิร์น ซึ่งเกิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สนพระทัย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและได้ลงนามเอกสารแสดงเจตจำ �นงให้มี ความร่วมมือทางวิชาการในการส่งนักวิจัย นักศึกษา ครู และนักเรียนไทย ไปเรียนรู้ที่เซิร์น ก่อให้เกิดความรู้และประสบการณ์เพื่อพัฒนาต่อยอด ให้กับตนเองและประเทศไทย หลังจบโครงการผู้เขียนมีโอกาสนำ �สื่อและแนวทางการสอนมา เปิดชุมนุม CERN, Quarks and Particle Physics มีนักเรียนระดับ ชั้น ม.ปลาย เข้าร่วมจำ �นวน 8 คน และนักเรียนเพิ่มเติมอีกจำ �นวน 2 คน โดยจัดการเรียนรู้สัปดาห์ละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา โดยใช้ แนวทางการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นการใช้สื่อการสอน ร่วมกับการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยครูเป็น ผู้นำ �ประเด็นหลักในการเรียนรู้และชี้ให้เห็นข้อสังเกตต่างๆ โดยใช้ Google Classroom เป็นช่องทางหลักในการติดต่อรวมถึงเผยแพร่สื่อให้นักเรียน สามารถเข้าถึงได้ ถือว่าเป็นชั้นเรียนทดลองที่ได้มีโอกาสสอนและแลกเปลี่ยน แนวคิดกับนักเรียนได้อย่างชัดเจนและทั่วถึง หลังจากจบภาคการศึกษา ทำ �ให้ทราบว่าในปัจจุบันมีนักเรียนที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับฟิสิกส์ยุคใหม่ หลายคนทั้งในและนอกชุมนุม โดยมักพูดถึงคำ �ศัพท์เหล่านี้ด้วยความตื่นเต้น เช่น คว้าก ควอนตัม หลุมดำ � สสารมืด ความไม่แน่นอน นอกจากนี้ ยังพบว่านักเรียนในชุมนุมให้ความร่วมมือตลอดการเรียนรู้ รวมถึงได้ เรียนรู้เนื้อหาผ่านสื่อการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ตลอดจนหาความรู้เพิ่มเติม นอกห้องเรียนอย่างสม่ำ �เสมอ ผู้เขียนจึงได้นำ �แนวทางการสอนในชุมนุม มาถ่ายทอดผ่านนิตยสารฉบับนี้ ชุมนุม CERN, Quarks and Particle Physics มีกิจกรรมหลัก แบ่งออกได้เป็น 5 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรม 1. Introduction to Particle Physics 2. The Standard Model 3. DIY Cloud Chamber and Cosmic Ray Detector 4. CERN and LHC 5. Special Topics 1. Map of Physics 2. From Quantum to Cosmos 1. The Standard Model 2. Particle Builder Board Game 1. DIY Cloud Chamber 2. Particle Detector 1. Explore CERN and LHC 2. Gallery Walk Depending on Teachers and Students กิจกรรมย่อย

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5