นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248
ปีที่ 52 ฉบับที่ 248 พฤษภาคม - มิถุนายน 2567 31 ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence Framework) ภาพจาก: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj /http://cclickthailand.com/wp-content/uploads/2020/04/dq_FINAL.pdf และ “การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์” สอดคล้องตามกรอบความฉลาดทาง ดิจิทัล (DQ Digital Intelligence Framework) 3 ระดับ 8 ด้านหลัก ครอบคลุมการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (DQ) ควบคู่ไปกับ ความฉลาดทางปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) นอกจากนี้ ยังมีนโยบายส่งเสริมทักษะแห่งอนาคต ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning และ Project-Based Learning เน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะ การสื่อสาร และทักษะการทำ �งานร่วมกัน ปรับหลักสูตรการศึกษาให้ สอดคล้องกับทักษะที่จำ �เป็นในโลก BANI พัฒนาวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง ผู้บริหารสถานศึกษาเตรียมรับมือโลกยุค BANI World ได้อย่างไร สถานการณ์ในยุค BANI World เช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบไป ทุกวงการรวมถึงวงการศึกษาด้วย ได้แก่ ช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 นักเรียน เกิดสภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ธุรกิจเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ เติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประชาชนบางกลุ่มเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี เข้าไม่ถึง ข้อมูล ไม่มีทักษะดิจิทัล เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ �ทางดิจิทัล รวมไปถึง สภาวะทางจิตใจของนักเรียน นักศึกษาและบุคลาการทางการศึกษา ยุคหลังโควิดที่เปราะบาง และเต็มไปด้วยความหดหู่ เครียด วิตกกังวล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา ให้บรรลุ เป้าหมายในการพัฒนา และยกระดับคุณภาพผู้เรียนและเยาวชน ดังนั้น การจัดการกับปัญหาและความท้าทายเหล่านี้ย่อมเกี่ยวข้องโดยตรง กับผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้องทำ �ความเข้าใจและปรับตัวให้ทันกับ การเปลี่ยนแปลง การบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นภาระที่สำ �คัญของผู้บริหาร สถานศึกษาในฐานะผู้นำ �ของสถานศึกษาที่ต้องรับมือวางแผน และเตรียม ความพร้อมของบุคลากรในการตั้งรับกับสถานการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ การจัดการเรียนรู้ในโลกยุคพลิกผันนี้จำ �เป็นจะต้องสร้างโอกาสการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียนอย่างหลากหลายและมีคุณภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควร มีทักษะ ดังนี้ 1. ด้านความเปราะบาง ควรมีการพัฒนาแผนงานให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการปรับโครงสร้างการบริหารเพื่อลด ขั้นตอนการดําเนินงาน และมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน มีการประเมิน ความเสี่ยง และค้นหาความเสี่ยงใหม่ๆ อยู่เสมอ 2. ด้านความกังวล ควรสร้างขวัญและกําลังใจให้แก่ครูอย่าง ต่อเนื่อง ให้ความสําคัญกับการทํางานเป็นทีม ทั้งนี้ ควรให้ความสําคัญกับ สวัสดิการพื้นฐานและความปลอดภัยของครู 3. ด้านการคาดเดายาก ดําเนินการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี ในการปฏิบัติงาน และให้ความสําคัญกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ของครู แต่ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาบุคลากรโดยใช้รูปแบบผสมผสาน ได้แก่ การฝึกอบรมครูที่หลากหลาย เช่น การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้แบบออนไลน์ การสนับสนุนครูแต่ละคนตามความต้องการ 4. ด้านความเข้าใจได้ยาก มีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติ หน้าที่ของตนเอง และจัดทําแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาอย่างชัดเจน ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรแห่งความโปร่งใส โดยเปิดเผยและแบ่งปันข้อมูล การดําเนินงานของสถานศึกษาอย่างตรงไปตรงมาต่อบุคลากรในองค์กร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5