นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248
32 นิตยสาร สสวท. ตัวอย่างนโยบายของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค BANI • จัดตั้งโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ เน้นการพัฒนาทักษะที่ จำ �เป็นสำ �หรับศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การ สื่อสาร การทำ �งานร่วมกัน และความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนการเรียนรู้ แบบ Active Learning ที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะ และเรียนรู้จากประสบการณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Project-Based Learning ที่ให้นักเรียนได้ทำ �งานเป็นโครงการ พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และทำ �งานร่วมกับผู้อื่น เช่น ระบบการเรียนการสอนแบบ STEM • สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี: เทคโนโลยีสามารถช่วยให้นักเรียน เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้บริหารควรจัดหาเครื่องมือและ ทรัพยากรที่จำ �เป็น เช่น สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี AI ในการเรียนรู้ ซึ่ง AI สามารถปรับเนื้อหาและการสอนให้เหมาะกับความต้องการของ นักเรียนแต่ละคน ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ สามารถปรับระบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตาม ความต้องการที่หลากหลายของนักเรียน • การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้: ผู้บริหารควรสร้าง สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สนับสนุน และกระตุ้นให้นักเรียนกล้าที่จะ เรียนรู้ ลองผิดลองถูก และแสดงออก รวมถึงส่งเสริมให้นักเรียนและ ครูใฝ่รู้ ชอบเรียนรู้ คิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และกล้าแสดง ความคิดเห็น ทำ �ให้นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ Problem-Solving Skills ดีขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็น ทำ �งานร่วมกันเป็นทีม และมีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น จัดการแข่งขันหุ่นยนต์ จัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนคิดริเริ่ม กล้าแสดงออก และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ภาพจาก: https://theacademic.com/the-strategic-integration-of-technology-and-seti/ ภาพจาก: https://licet.ac.in/holistic-education/ ภาวะความเป็นผู้นำ �ในยุค BANI จำ �เป็นต้องผสมผสานทั้ง ศาสตร์และศิลป์ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติต่างๆ ที่จำ �เป็น ควบคู่ไปกับความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความยืดหยุ่น ความกล้าหาญ และวิสัยทัศน์ เพื่อ นำ �พาองค์กรและบุคลากร ฝ่าฟันความท้าทาย และบรรลุเป้าหมายในยุค BANI ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งควรมีคุณสมบัติและสมรรถนะ ในตนเองเพื่อรับมือสถานการณ์โลก ใน 9 ประการดังนี้ 1) ความคล่องตัว ในการเรียนรู้ 2) มี Mindset ในการทำ �งาน มีทัศนคติที่ดีภายใต้โลกแห่ง ความจริง 3) มีความทันสมัย รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ 4) มี ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองความรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 5) มีสมรรถนะในการทำ �งานเป็นทีม 6) มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว 7) มีความเชื่อมั่นในตนเอง 8) มีความสามารถในการกำ �หนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ร่วมกัน และ 9) มีความสามารถในการจัดลำ �ดับความสำ �คัญ ของวิกฤติต่างๆ ซึ่งย่อมมั่นใจได้ว่าผู้บริหารสถานศึกษาสามารถจัดการ การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเป็นผู้บริหารการศึกษาในยุค BANI นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยวิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่น และกลยุทธ์ที่เหมาะสม ผู้บริหารสามารถ นำ �พาองค์กรและนักเรียนให้ประสบความสำ �เร็จ และสร้างอนาคตที่สดใส ท่ามกลางความท้าทาย ครูไทยเตรียมรับมือ ยุค BANI World ได้อย่างไร การปรับตัวของครูในยุค BANI World นอกจากทักษะความรู้ ทางวิชาการแล้ว ครูยังต้องมีทักษะรับมือกับยุค BANI World ได้แก่ 1. การเรียนรู้เชิงบูรณาการ (Holistic Learning) โดยให้ความสำ �คัญ ทักษะบรูณาการทั้งคิดเชิงวิพากษ์ สังคม การเรียนรู้ในการแก้ปัญหา โดย ครูจะเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมขณะเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกทำ �
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5