นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248

ปีที่ 52 ฉบับที่ 248 พฤษภาคม - มิถุนายน 2567 41 สมาร์ตโฟนหรือก่อนนอน 1 ชั่วโมงห้ามใช้สมาร์ตโฟนหรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และจะต้องพยายามสอนและบอกให้เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจการใช้ สมาร์ตโฟนในฐานะของการเป็นผู้สร้างสื่อก็จะส่งผลทำ �ให้เด็กได้เรียนรู้ พัฒนา และสามารถค้นหาวิธีการสร้างสื่อชนิดต่างๆ ด้วยตนเอง ในรูปแบบ ที่เหมาะสมกับวัยได้ นอกเหนือไปจากการเป็นเพียงแค่ผู้ใช้สื่อเท่านั้น แนวทาง การปฏิบัติในลักษณะนี้จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมการใช้ เทคโนโลยีผ่านสมาร์ตโฟนอย่างรับผิดชอบและช่วยสร้างสมดุลที่ดีให้กับ ชีวิตในยุคดิจิทัลนี้ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องจัดแบ่งเวลาเพื่อให้เด็กได้มี โอกาสทำ �กิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโลกออนไลน์ด้วย เช่น การเรียนรู้ และทบทวนบทเรียน การออกกำ �ลังกาย ฝึกทักษะทางด้านกีฬาตามความชอบ และการเรียนรู้พัฒนาทักษะทางดนตรีกับกลุ่มเพื่อน กิจกรรมเหล่านี้จะช่วย พัฒนาทักษะทางสังคมให้กับเด็กเพื่อการเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถ ดำ �รงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าเด็กใช้โลกออนไลน์เพื่อ จุดประสงค์หลัก คือ ลดความเครียด หรือสร้างความสนุก ผ่อนคลายจาก ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำ �วัน ส่งผลให้เด็กชอบที่จะอยู่ในโลกออนไลน์มากกว่า การใช้ชีวิตที่ต้องพบปะกับผู้คนจริงๆ เพราะไม่ต้องใช้ความพยายามมาก ในการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น สาเหตุนี้เองทำ �ให้เด็กกลุ่มนี้สูญเสียความสามารถ ในการควบคุมความคิดและพฤติกรรมของตัวเองให้ออกมาจากอินเทอร์เน็ต ได้ ส่งผลทำ �ให้พวกเขาขาดช่วงเวลาสำ �คัญสำ �หรับการพัฒนาทักษะอื่นๆ ที่จำ �เป็น ขาดเวลาสำ �หรับการเรียนรู้และทบทวนเนื้อหาในบทเรียน รวมทั้ง การเรียนรู้ที่จะปรับตัวในสังคมเพื่อให้สามารถดำ �รงชีวิตได้แบบปกติสุขใน อนาคต จากงานวิจัยพบว่า การฝึกสมาธิ ฝึกเรียนรู้ ควบคุม และเข้าใจ อารมณ์ของตนเองนอกจากจะช่วยลดปัญหาอาการซึมเศร้าความกังวล และปัญหาทางพฤติกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์แล้วยังช่วยลดปัญหา การติดสมาร์ตโฟนในเด็กด้วย ( Gámez-Guadix & Calvete, 2016; Choi et al., 2020 ) Choi et al (2020) ได้ทดลองจัดโปรแกรมการฝึกสมาธิใน โรงเรียนมัธยมของเกาหลีใต้ ในช่วงเช้าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที เป็นเวลา 12 สัปดาห์ โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มนักเรียนมัธยมอีกกลุ่ม ที่ไม่ได้รับการฝึกสมาธิ แต่ให้เด็กๆ กลุ่มนี้เลือกอ่านหนังสืออะไรก็ได้แทน และห้ามใช้สมาร์ตโฟนโดยเด็ดขาดในช่วงเวลาเดียวกันกับอีกกลุ่มที่กำ �ลัง ฝึกสมาธิ โดยในโปรแกรมฝึกจะมีการกำ �หนดขั้นตอนของการฝึกและเนื้อหา ที่มุ่งเน้นในแต่ละสัปดาห์ตามลำ �ดับ คือ สัปดาห์แรก นักเรียนจะได้รับรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของการฝึก เรียนรู้เกี่ยวกับการรับรู้ทางจิต การตระหนักรู้ การใช้เหตุผล และขั้นตอน ในการฝึก สัปดาห์ที่สอง เป็นเรื่องเกี่ยวกับการโยนความคิดที่ไม่ดีและความ เข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับครอบครัวทิ้งไป สัปดาห์ที่สาม เกี่ยวข้องกับการสลัดเอาความคิดที่ไม่ดีและ ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับโรงเรียนทิ้งไป สัปดาห์ที่สี่ เป็นการฝึกที่จะรับรู้และตระหนักเกี่ยวกับความคิด ของตนเองในเรื่องของ “ความคิดด้อยค่าและความไม่ชอบในสิ่งต่างๆ” และวิธีที่จะจัดการเกี่ยวกับความคิดในแง่ลบ การปล่อยวางในสิ่งที่ไม่ สามารถเข้าไปแก้ไขได้ สัปดาห์ที่ห้า เป็นการฝึกให้รู้จักและรับรู้เกี่ยวกับความวิตกกังวล ต่างๆ ที่เกิดขึ้น วิธีการจัดการเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น และการ ลบความคิดที่เคยติดอยู่กับการใช้สมาร์ตโฟน สัปดาห์ที่หก เรียนรู้เกี่ยวกับความทรงจำ �ที่เกิดจากความโกรธ ความรำ �คาญ และความเครียด การลบความคิดหรือความเข้าใจคลาด เคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ และเชื่อมโยงไปกับการติดการใช้สมาร์ตโฟน ในช่วงเวลาที่เกิดอารมณ์เหล่านี้ เพื่อทำ �ให้สามารถปรับพฤติกรรมได้ สัปดาห์ที่เจ็ด เป็นการฝึกการจัดการเกี่ยวกับความทรงจำ �ที่เกิด จากความคิดน่ากลัวและความกลัว สัปดาห์ที่แปดจนถึงสัปดาห์สุดท้าย เป็นการฝึกการรับรู้และ การจัดการเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ และ เมื่อครบ 12 สัปดาห์ พบว่าการจัดโปรแกรมการฝึกสมาธิ (และการมีสติ) ให้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาช่วยทำ �ให้นักเรียนสามารถจัดการ เกี่ยวกับอารมณ์ของตัวเองและส่งผลต่อการลดการติดการใช้สมาร์ตโฟนได้ บทบาทของโรงเรียนกับการใช้สมาร์ตโฟนของเด็ก ถ้าไม่คิดเรื่องเวลานอนแล้ว จะเห็นได้ว่าเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ อยู่กับโรงเรียน ดังนั้น บทบาทของโรงเรียนในเรื่องของการจัดการแก้ปัญหา การใช้สมาร์ตโฟนจึงมีความสำ �คัญมาก โดยโรงเรียนสามารถใช้สมาร์ตโฟน เป็นเครื่องมือสำ �หรับการส่งเสริมการเรียนรู้ได้โดยจำ �เป็นต้องมีการออก กฎระเบียบในการใช้สมาร์ตโฟนว่าจะให้มีการใช้ในช่วงเวลาใดสำ �หรับ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5