นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248

42 นิตยสาร สสวท. การเรียนการสอน และห้ามใช้สมาร์ตโฟนภายในโรงเรียนช่วงเวลาใด นอกจากนี้ บุคลากรในโรงเรียนต้องร่วมมือกันใช้กฎระเบียบเหล่านั้นอย่าง พร้อมเพรียง (Chen et al., 2018; Lenhart, 2015) แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมืออัน ทรงคุณค่าทางด้านการศึกษาที่สามารถทำ �ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเดินทาง ไปสู่เป้าหมายทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำ �หรับก่อนวัยเรียน และเด็กประถมต้น การสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียนมีความสำ �คัญ มากกว่าประสบการณ์บนจอมือถือ งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าหากมีการ ปล่อยให้เด็กประถมใช้เวลาอยู่กับมือถือ แท็บเล็ต วีดิโอเกม คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ทีวีเป็นเวลานานๆ จะส่งผลกระทบด้านลบต่อพัฒนาการทาง ร่างกาย การพัฒนากระบวนการคิดและการใช้เหตุผล ทำ �ให้เด็กมีปัญหา เกี่ยวกับการใส่ใจและความจำ � พัฒนาการทางด้านการใช้ภาษา การพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะในการเข้าสังคม การนอน และ พฤติกรรมการกิน ดังนั้น การจัดการศึกษาในโรงเรียนและผู้ปกครอง ต้องพยายามกระตุ้นให้เด็กได้เล่นและออกมาทำ �กิจกรรมนอกห้องเรียนใน รูปแบบที่แตกต่างและหลากหลาย (Panjeti-Madan & Ranganathan, 2023) เช่น วาดภาพ ปั้นดิน หล่อโมเดลปูนพลาสเตอร์และระบายสี การเล่น บอร์ดเกม อ่านหนังสือแบบออกเสียงดัง (หนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียน) และ การออกไปท่องเที่ยวกับครอบครัว Wang et al. (2023) รายงานให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนกับผลการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา ปีที่ 5 และ 6 จำ �นวน 499 คน ในประเทศไต้หวัน พบว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่ (71.1%) ควบคุมการใช้สมาร์ตโฟนของลูกตั้งแต่ตอนที่เรียนในชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 และนักเรียนมักจะใช้สมาร์ตโฟนตอนหลังเลิกเรียน โดยใช้ในการติดต่อกับคนในครอบครัวและเพื่อนมากที่สุด โดยพฤติกรรม การใช้สมาร์ตโฟนของนักเรียนจะขึ้นกับความเข้มงวดในการควบคุมและ ดูแลของพ่อแม่ และการควบคุมการใช้สมาร์ตโฟนด้วยตัวของนักเรียนเอง ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า นักเรียนที่มีวินัยในตัวเองสูง (ทั้งในกลุ่มที่ ขอพ่อแม่ซื้อเองและไม่ได้ขอ) ใช้เวลากับการติดต่อสื่อสารผ่านสมาร์ตโฟน น้อยกว่า ในขณะที่นักเรียนที่ไม่มีวินัยในตัวเอง (ทั้งในกลุ่มที่ขอพ่อแม่ซื้อเอง และไม่ได้ขอ) ใช้เวลาในการติดต่อสื่อสารและเล่นผ่านสมาร์ตโฟน มากกว่า พบว่าเพศหญิงใช้สมาร์ตโฟนในการค้นหาข้อมูลมากกว่าเพศชาย พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนเป็นตัวกลางที่ส่งผลต่อผลการเรียนของนักเรียน โดยในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า นักเรียนไต้หวันในกลุ่มที่ศึกษาที่ใช้สมาร์ตโฟน มากมีผลการเรียนดีกว่านักเรียนที่ใช้สมาร์ตโฟนน้อย และการควบคุม ของพ่อแม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของลูก แต่ไม่ส่งผลต่อการเรียน โดยตรง ปัจจัยที่ส่งผลต่อ “ผลการเรียนของนักเรียน” ก็คือ “วินัยในตัวเอง ของนักเรียน” เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำ �เข้าไปใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน โปรแกรมพื้นฐานที่ช่วยในการสอนและนำ �เสนอ สื่อต่างๆ แอปพลิเคชันที่ใช้ร่วมกับสมาร์ตโฟน สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพ การสอนของครู และทำ �ให้นักเรียนสามารถเข้าถึงบทเรียน และกระตุ้น การเรียนรู้ได้ โดยพบว่าการเลือกนำ �เทคโนโลยีมาใช้แบบผสมผสานร่วมกับ เทคนิคการสอนที่แตกต่างและหลากหลายจะสามารถช่วยทำ �ให้การจัด การเรียนการสอนดำ �เนินไปได้ดีกว่า และในทางกลับกัน งานวิจัยพบว่า การใช้สมาร์ตโฟนและคอมพิวเตอร์ทั้งในห้องเรียนและที่บ้านมีผลทำ �ให้ นักเรียนถูกดึงความสนใจออกจากบทเรียนเข้าไปสู่เรื่องอื่นๆ และมักจะใช้ เวลาในชั่วโมงของการเรียนรู้ไปกับสิ่งที่อยู่นอกบทเรียนซึ่งพบได้ในนักเรียน ทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา โดยผลกระทบ จะเพิ่มขึ้นตามวัยและระดับของการเรียนรู้ (UNESCO, 2023) ดังนั้น การหาสมดุลของการใช้เพื่อทำ �ให้เกิดการเรียนรู้อย่างจริงจัง การบริหาร จัดการของโรงเรียนและการสนับสนุนจากผู้ปกครองเป็นสิ่งสำ �คัญอย่างยิ่ง ภาพ 1 สื่อดิจิทัลชนิดต่าง ๆ (ที่มา: Panjeti-Madan & Ranganathan, 2023) ภาพจาก: https://apnews.com/article/gaming-business-children-00db669defcc8e0ca1fc- 2dc54120a0b8

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5