นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248
ปีที่ 52 ฉบับที่ 248 พฤษภาคม - มิถุนายน 2567 43 ร่วมมือกัน เพื่อให้เด็ก Gen Alpha สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่ส่งผลเสียต่อพัฒนาการและ สุขภาพจิตของเด็ก การกำ �หนดเวลาการใช้สมาร์ตโฟนให้เหมาะสมกับวัยและควบคุม ดูแลการใช้งานอย่างใกล้ชิดของผู้ปกครอง ผู้ดูแล และครู เพื่อเลือกสรร เนื้อหาที่เหมาะสม ปลอดภัย และเป็นประโยชน์ต่อเด็ก รวมทั้งการส่งเสริม ให้เด็กมีกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้สมาร์ตโฟน เช่น เล่นกีฬา อ่าน หนังสือ วาดรูป เล่นดนตรี ช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาได้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้สมาร์ตโฟนอย่างเหมาะสมด้วย (ไม่ใช่ห้ามเด็กไม่ให้ใช้แต่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมติดสมาร์ตโฟนและใช้ ตลอดเวลา) และผู้ปกครองควรจะมีกิจกรรมอื่นๆ ทำ �ร่วมกับเด็ก ผู้ปกครอง ควรพูดคุย สื่อสาร ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อย่างเหมาะสม และอันตรายของการใช้สมาร์ตโฟนมากเกินไป ก็น่าจะ เป็นแนวทางให้เด็กซึ่งเป็นอนาคตของประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสมดุล ต่อไป เพื่อลดปัญหาจากการที่สมาร์ตโฟนทำ �ให้ความสนใจในการเรียนของ นักเรียนลดลง ทางโรงเรียนจึงมีความจำ �เป็นที่จะต้องหาวิธีการสร้าง หลักสูตรสถานศึกษา โดยกำ �หนดเป้าหมายของหลักสูตรว่าต้องการให้ นักเรียนได้ใช้สมาร์ตโฟนสำ �หรับการฝึกทักษะด้านใด เกี่ยวข้องกับเนื้อหา อะไร ในวิชาอะไร ด้วยวิธีการอย่างไร รวมถึงการออกแบบเครื่องมือ สำ �หรับการวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ซึ่งวิธีนี้จะทำ �ให้ นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจการใช้สมาร์ตโฟนสำ �หรับการเรียน ได้เรียนรู้ ทักษะต่างๆ ที่อยู่ในหลักสูตรสถานศึกษา และยังได้เรียนรู้ในเรื่องของ การจัดการพฤติกรรมของตนเองที่เกี่ยวกับการใช้สมาร์ตโฟน รวมไปถึง การควบคุมและการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้สมาร์ตโฟนได้ เมื่อมีความเข้าใจ ถึงประโยชน์และโทษของการใช้สมาร์ตโฟน บทสรุป เทคโนโลยีดิจิทัลเปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งประโยชน์ และโทษขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ดังนั้น ผู้ปกครอง ผู้ดูแลและคนในสังคมต้อง Choi, E. H. & Chun, M. Y. & Lee, I. & Yoo, Y. G. & & Kim, M. J. (2020). The Effect of Mind Subtraction Meditation Intervention on Smartphone Addiction and the Psychological Wellbeing Among Adolescents. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17 (9): 3263. Gámez-Guadix, M. & Calvete, E. (2016). Assessing the Relationship Between Mindful Awareness and Problematic Internet use Among Adolescents. Mindfulness, 7 : 1281-1288. Mascia, M. L. & Agus, M. & Penna, M. P. (2020). Emotional Intelligence, Self-regulation, Smartphone Addiction: which relationship with student well-being and quality of life?. Frontiers in psychology, 11 : 508917. Panjeti-Madan, V. N. & Ranganathan, P. (2023). Impact of Screen Time on Children’s Development: cognitive,language, physical, and social and emotional domains. Multimodal Technologies and Interaction, 7 (5): 52. Radesky, J. S., & Christakis, D. A. (2016). Increased Screen Time: implications for early childhood development and behavior. Pediatric Clinics, 63 (5): 827-839. UNESCO. (2023). Global Education Monitoring Report 2023: technology in education-A tool on whose terms?. UN. Wang, J. C. & Hsieh, C. Y. & Kung, S. H. (2023). The Impact of Smartphone use on Learning Effectiveness: a case study of primary school students. Education and Information Technologies, 28 (6): 6287-6320. Xie, H. & Peng, J. & Qin, M. & Huang, X. & Tian, F. & Zhou, Z. (2018). Can Touchscreen Devices be used to Facilitate Young Children’s Learning? A Meta-analysis of Touchscreen Learning Effect. Frontiers in psychology, 9 : 2580. บรรณานุกรม ภาพจาก: https://www.sciencefocus.com/the-human-body/smartphones-wont-make-your-kids-dumb-we-think
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5