นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248
50 นิตยสาร สสวท. ป ะการัง (Coral) เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วยตัวปะการังซึ่งเรียกว่า “โพลิป” (Polyp) ซึ่งมีลักษณะไม่ซับซ้อน อยู่รวมกันเป็นโคโลนี (Colony) ปะการังมีลำ �ตัวนิ่ม มีหนวด (Tentacle) ที่มีส่วนปลายเป็นเข็มยื่นออกมาใช้ในการจับเหยื่อที่เป็น ตัวอ่อนของสัตว์ต่างๆ ที่ล่องลอยในน้ำ �เป็นอาหาร ปะการังสร้างชั้นหินปูนห่อหุ้มตัวของมันไว้จึงมีโครงสร้างภายนอกแข็งแรง อยู่ร่วม กันกับสาหร่ายซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) แบบพึ่งพา (Mutualism) (ภาพ 1) โดยปะการังจะให้ที่อยู่อาศัยและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแก่สาหร่ายซูแซนเทลลี ในขณะเดียวกันสาหร่ายซูแซนเทลลีจะสร้างอาหารเพื่อผลิตสารประกอบ คาร์บอนให้ปะการังนำ �ไปใช้เป็นพลังงานและช่วยเพิ่มอัตราการสร้างหินปูน โครงสร้างแข็งของปะการังจะขยายขนาดขึ้นโดยการแตกหน่อของ โพลิป (สุชนา ชวนิชย์, วรณพ วิยกาญจน์ และเจริญ นิติธรรมยง, 2546) ปะการังจะเติบโตได้ดีในบริเวณที่น้ำ �ทะเลมีอุณหภูมิตั้งแต่ 18 - 27 องศาเซลเซียส น้ำ �ใส ความลึกของน้ำ �ไม่เกิน 50 เมตร และมีแสงแดดส่องถึงปะการัง (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2556) ตัวปะการังมีรูปเป็นทรงกระบอกมีขนาดเพียง 1 มิลลิลิตร ถึง 1 เซนติเมตร ในปีหนึ่งๆ กลุ่มปะการังจะสามารถสร้างโครงสร้างหินปูนได้เพียง 6 - 7 มิลลิเมตรเท่านั้น กิ่งก้านสาขาของปะการังที่เราเห็นยาวประมาณ 10 เซนติเมตร นั้นต้องใช้ระยะเวลายาวนาน 10 - 15 ปี ทั้งนี้ ปะการัง บางชนิดที่มีขนาดใหญ่สามารถเติบโตถึง 500 ปี และอาจมีจำ �นวนโพลิปนับล้านล้านตัว ภาพ 1 กายวิภาคของปะการัง ที่มา: ดัดแปลงจากภาพของ Laura Torresan, Pacific Coastal and Marine Science Center, U.S. Geological Survey (USGS) (2022) ภาพ 2 การเกิดปะการังฟอกขาว ที่มา: ดัดแปลงจากภาพ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA), 2567 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับปะการังฟอกขาว การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่อุณหภูมิอากาศสูงขึ้นทำ �ให้อุณหภูมิผิวน้ำ �ทะเลสูงขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยเฉพาะ ปะการังที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม หากอุณหภูมิน้ำ �ทะเลสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย (1 - 2 องศาเซลเซียส) แต่เป็นเวลานาน หรือ เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลันจะส่งผลให้ปะการังเกิดความเครียดจนเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) ปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาวเป็นปรากฏการณ์ที่ปะการังตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ผิดปกติ โดยปล่อยสาหร่ายซูแซนเทลลีที่อยู่ใน เนื้อเยื่อปะการังออก เหลือแต่โครงสร้างหินปูนของปะการังที่มีสีขาว ปะการังในระยะนี้จะอ่อนแอเพราะไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และอาจตาย ถ้าไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5