นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248

ปีที่ 52 ฉบับที่ 248 พฤษภาคม - มิถุนายน 2567 51 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสังเกตได้จากสถานะของปรากฏการณ์ El Niño Southern Oscillation (ENSO) ที่บ่งชี้โดยค่าดัชนี Oceanic Nino Index (ONI) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการฟอกขาวของปะการัง อุณหภูมิผิวน้ำ �ทะเลสามารถกระตุ้นให้เกิดปะการังฟอกขาวได้เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิกสามารถส่งผลต่ออุณหภูมิน้ำ �ทะเลในน่านน้ำ �ไทยผ่านกระบวนการในชั้นบรรยากาศและใน มหาสมุทร ดังนั้น การติดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิกจึงช่วยในการประเมินแนวโน้มการเกิดปะการังฟอกขาวใน น่านน้ำ �ไทยได้ล่วงหน้าประมาณ 2 - 3 เดือน เช่น ปะการังฟอกขาวรุนแรงในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งเกิดภายหลังค่าอุณหภูมิผิวน้ำ �ทะเลในมหาสมุทร แปซิฟิกที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นระยะที่ปรากฏการณ์ ENSO มีการพัฒนาเต็มที่ (ภาพ 3) (โครงการพัฒนาระบบ ประเมินการเกิดปะการังฟอกขาว กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2567) ภาพ 3 การเปลี่ยนแปลงค่าดัชนี ONI หมายเหตุ - แกนนอน แสดงเดือนกึ่งกลางของช่วง 3 เดือน ของค่าดัชนี ONI เช่น Jan-24 หมายถึง ค่าเฉลี่ยช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 - กรอบสีแดง แสดงช่วงปีพบการเกิดปะการังฟอกขาวในน่านน้ำ �ไทย การประเมินปะการังฟอกขาว ปะการังในทะเลไทยกำ �ลังฟอกขาวรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ปะการังจะแสดงอาการ ผิดปกติเมื่ออุณหภูมิผิวน้ำ �ทะเลสูงกว่า 30.5 - 31 องศาเซลเซียส เมื่อน้ำ �ร้อนจัดผิดปกติ ปะการังเริ่มปล่อยสาหร่ายซูแซนเทลลีที่ทำ �ให้ปะการังมีสีสันออกไปจากเนื้อเยื่อปะการัง ทำ �ให้ปะการังมีสีซีดลง ซึ่งสามารถประเมินปะการังฟอกขาวได้ดังตาราง1 และภาพ 4 ภาพ 4 การประเมินปะการังฟอกขาวในระดับต่าง ๆ ที่มา: คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 0 ปกติ ปะการังปกติ ปะการังปกติ สีสันสวยงาม ปะการังมีสีซีดจาง เริ่มปล่อยสาหร่ายซู แซนเทลลีออกจาก เนื้อเยื่อปะการัง ปะการังเริ่มเปลี่ยนสี เริ่มอ่อนแอ ปะการังกลายเป็น สีขาว อ่อนแอ และ ขาดสารอาหาร (หากปะการัง ปรับตัวกับสภาพ แวดล้อมที่เปลี่ยน ไปได้ หรือสภาพ แวดล้อมดีขึ้น ปะการังสามารถ ฟื้นฟูได้) ปะการังตาย มี สาหร่ายปกคลุม แตกหัก ผุกร่อน 1 ระดับหนึ่ง ปะการังสีซีด 2 ระดับสอง ปะการังเปลี่ยนสี 3 ระดับสาม ปะการังฟอกขาว 4 ระดับสี่ ปะการังตาย ตาราง 1 การประเมินปะการังฟอกขาวในระดับต่างๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5