นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248

52 นิตยสาร สสวท. ภาพ 5 สถานการณ์ปะการังฟอกขาว ปี พ.ศ. 2567 No stress Watch Warning Alert Level 1 Alert Level 2 ไม่มีผลกระทบ ไม่มีผลกระทบ อาจเกิดปะการังฟอกขาว ปะการังฟอกขาว ปะการังฟอกขาวรุนแรง ตาราง 2 ระดับความเสี่ยง สัมพันธ์กับระดับผลกระทบ การคาดการณ์แนวโน้มการเกิดปะการังฟอกขาว ในปี พ.ศ. 2567 มีความเสี่ยงต่อการเกิดปะการังฟอกขาวเนื่องจากการที่อุณหภูมิผิวน้ำ �ทะเลบริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิกเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ถึงเมษายน พ.ศ. 2567 บ่งชี้สถานะการเกิดปรากฏการณ์ El Niño (ONI > 0.5 องศา เซลเซียส) ตามภาพ 2 เมื่อติดตามข้อมูลอุณหภูมิผิวน้ำ �ทะเลที่ตรวจวัดได้ ปี พ.ศ. 2567 ในพื้นที่จังหวัดระยอง (เส้นกราฟสีส้ม) และจังหวัด ชุมพร (เส้นกราฟสีม่วง) พบว่า อุณหภูมิผิวน้ำ �ทะเลสูงกว่าปีที่ผ่านมา (เส้นกราฟสีดำ �) อย่างชัดเจน ซึ่งมีรายงานการเกิดปะการังฟอกขาว 51 - 90 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 (ภาพ 5) (โครงการพัฒนาระบบประเมินการเกิดปะการังฟอกขาว กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง, 2567) หน่วยงาน National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) Coral Reef Watch ประเมินแนวโน้มการเกิด ปะการังฟอกขาวล่วงหน้า 3 เดือน หรือ 12 สัปดาห์ โดยพิจารณาจากแนวโน้มการเกิดความเครียดสะสมจากความร้อนในปะการัง และ จำ �แนกความเสี่ยงตามเกณฑ์ (ตาราง 2) สัมพันธ์กับแนวโน้มผลกระทบ ในช่วงเวลาสัปดาห์ที่ 1 - 4, 5 - 8, และ 9 - 12 นับจากวันที่คาดการณ์ โดยจากภาพ 6 คาดการณ์แนวโน้มการเกิดปะการังฟอกขาว ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 - 4 (มิถุนายน พ.ศ. 2567) ปะการังในบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก อ่าวไทยฝั่งตะวันตก และทะเลอันดามัน มีโอกาสเกิดการฟอกขาวรุนแรง ในระดับความเสี่ยง Alert Level 2 และค่อยๆ ลดลงในสัปดาห์ที่ 5 - 8 (กรกฎาคม พ.ศ. 2567) และสัปดาห์ที่ 9 - 12 (สิงหาคม พ.ศ. 2567) (ที่มา: NOAA Coral Reef Watch, 2567 และโครงการพัฒนาระบบประเมินการเกิดปะการังฟอกขาว กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2567) สี ระดับความเสี่ยง แนวโน้มผลกระทบที่คาดหมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5