นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248

ปีที่ 52 ฉบับที่ 248 พฤษภาคม - มิถุนายน 2567 59 ต่ ายเชื่อว่าถ้าลองมองย้อนกลับไปตั้งแต่วันแรกที่เรารู้จัก ไดโนเสาร์ จะพบว่าหลายสิบปีที่ผ่านมาเราจะเห็นภาพของตัว ไดโนเสาร์ถูกนำ �เสนอเป็นสีหลักๆ คือ เขียว น้ำ �ตาล หรือ เทา และถูกนำ �เสนอผ่านสื่อต่างๆ เช่น ตำ �ราเรียน สารคดีทางโทรทัศน์ และ ภาพยนตร์ แต่ล่าสุดเชื่อไหมว่านักโบราณชีววิทยาหรือนักบรรพชีวินวิทยา (Palaeontologist) ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำ �บรรพ์และวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิตในอดีตได้ค้นพบสิ่งที่ทำ �ให้การรับรู้เกี่ยวกับสีของไดโนเสาร์ต้อง เปลี่ยนไป โดยในปี ค.ศ. 2010 Quanguo Li นักวิจัยจาก State Key Laboratory of Biogeology and Environmental Geology ของ China University of Geosciences นครปักกิ่ง ได้รายงานในวารสาร Nature เกี่ยวกับการค้นพบ “เมลาโนโซม (Melanosomes)” ซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ที่ทำ �หน้าที่เกี่ยวกับ การเกิดสีของเส้นผม ขน และผิวหนังของสัตว์ แต่ในส่วนของนกจะทำ �หน้าที่ สร้างเม็ดสีทำ �ให้ขนนกมีสีต่างๆ โดยทำ �การศึกษาเมลาโนโซมจากผิวหนังของ สัตว์มีกระดูกสันหลัง 181 ชนิด ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันและซากดึกดำ �บรรพ์ของ กิ้งก่า (Lizard) เต่า (Turtle) ไดโนเสาร์ (Dinosaur) และเทอโรซอร์ (Pterosaur กลุ่มไดโนเสาร์ที่บินได้) จากยุคจูราสสิกตอนปลาย (Upper-Jurassic) ที่ต่อกับ ยุคครีเทเชียสตอนต้น (Lower-Cretaceous) ของประเทศจีน โดยใช้ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope หรือ SEM) ถ่ายภาพออกมาและทำ �การศึกษาเปรียบเทียบกัน ทำ �ให้พบว่า ในช่วง 150 ล้านปีที่ผ่านมาไดโนเสาร์ที่มีขนปีก (Feathered Dinosaur) จะมีเมลาโนโซมสีน้ำ �ตาล สีดำ � และสีเทา ซึ่งทำ �ให้มองเห็นขนของไดโนเสาร์ มีลักษณะเป็นสีรุ้ง สามารถเข้าไปดูภาพของเมลาโนโซมได้ที่ https://www. nature.com/articles/nature12973 จากงานวิจัยของ Li, Q., Clarke, J. A., Gao, K. Q., Zhou, C. F., Meng, Q., Li, D., ... & Shawkey, M. D. (2014). Melanosome evolution indicates a key physiological shift within feathered dinosaurs. Nature, 507(7492), 350-353. ต่อมาเมื่อศึกษาย้อนกลับไปในอดีตอีก ในยุค 160 ล้านปี ที่ผ่านมา ทำ �ให้พบว่า ไดโนเสาร์มีปีกที่เดินด้วยสองขาหลัง (Theropod Dinosaur) ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caihong juji (ภาษาจีนกลาง แปลว่า สีรุ้งที่มีกระดูกขนาดใหญ่ หมายถึงกระดูก Lacrimal Bone บริเวณตา) มี เมลาโนโซมหลากหลายรูปแบบคล้ายกับเมลาโนโซมที่พบในนกฮัมมิ่งเบิร์ด ทำ �ให้คาดว่าขนของมันน่าจะมีสีสดใสคล้ายกับสีขนของนกฮัมมิ่งเบิร์ด (ภาพ 1) Caihong juji มีขนาดตัวพอๆ กับเป็ด และน่าจะใช้ปีกร่อนไปมาระหว่าง ต้นไม้เพื่อจับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ �นมและสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กกินเป็น อาหาร สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของเมลาโนโซม ภาพ 1 ภาพวาดของไดโนเสาร์มีปีกที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caihong juji ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ที่เดินสองขา (Theropod Dinosaur) ที่อาศัยอยู่บนโลกเมื่อ 160 ล้านปีมาแล้ว ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ภาพวาดโดย VELIZAR SIMEONOVSKI, THE FIELD MUSEUM อ้างอิง : New ‘Rainbow’ Dinosaur May Have Sparkled Like a Hummingbird (nationalgeographic.com ) ได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41467-017-02515-y จากงานวิจัย ของ Hu, D., Clarke, J. A., Eliason, C. M., Qiu, R., Li, Q., Shawkey, M. D., ... & Xu, X. (2018). A bony-crested Jurassic dinosaur with evidence of iridescent plumage highlights complexity in early paravian evolution. Nature Communications, 9(1), 217. ถ้ายังจำ �เรื่องที่เรียนในสมัยมัธยมในวิชาชีววิทยาได้ก็น่าจะ นึกถึงไดโนเสาร์มีปีกเหมือนนกตัวหนึ่งที่พบเป็นไดโนเสาร์ที่มีวิวัฒนาการ Q U I Z สวัสดีผู้อ่านที่รัก ทุกวันที่ผ่านไปความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำ �ให้วงการ วิทยาศาสตร์มีการค้นพบเรื่องราวใหม่ๆ มากมาย การค้นพบองค์ความรู้ใหม่บางครั้ง ก็ส่งเสริมองค์ความรู้เดิมให้ละเอียดมากขึ้น ทำ �ให้องค์ความรู้เดิมกลายเป็นสิ่งที่ ไม่เป็นความจริงใช้ไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งเป็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรื่องของไดโนเสาร์ก็เช่นกัน ต่าย แสนซน เชื่อมต่อระหว่างนกที่บินได้กับไดโนเสาร์ และยังมีลักษณะร่วมที่พบใน สัตว์เลื้อยคลาน (เช่น มีฟัน มีกรงเล็บที่แหลมคม และหางที่เป็นกระดูก) และ นก (เช่น มีขนลักษณะเหมือนขนนกและกระดูกสองง่ามที่เป็นกระดูกหน้าอก ของนก) เจ้าไดโนเสาร์ตัวนั้นมีชื่อว่า Archaeopteryx ที่ซากฟอสซิล ของเส้นขน (Feather) ที่มีอายุ 150 ล้านปี ถูกค้นในชั้นหินปูนช่วงปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) ประเทศเยอรมัน โดยในอดีตนักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า Archaeopteryx ไม่น่าจะบินได้ แต่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2561 หลังจากที่มีการศึกษา ซากฟอสซิลด้วยการ X-ray ด้วยเครื่องซินโครตรอน (Synchrotron) ทำ �ให้ พบว่า กระดูกของมันกลวงเหมือนนกในยุคปัจจุบัน ประกอบกับการศึกษาอื่นๆ ทำ �ให้ได้ข้อสรุปใหม่ว่า Archaeopteryx มีรูปแบบของการบินเหมือนกับ นกในกลุ่ม “ไก่ฟ้า (Pheasant)” (ภาพ 3) และเช่นเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ ที่สนใจเจ้า Archaeopteryx ก็อยากรู้ว่าขนของมันจริงๆ แล้วมีสีอะไรกันแน่ ทำ �ให้มีการศึกษา “เมลาโนโซม” ในซากฟอสซิล โดยใช้กล้อง SEM ที่มี

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5