นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248

ปีที่ 52 ฉบับที่ 248 พฤษภาคม - มิถุนายน 2567 7 ภาพจาก : freepik.com/freepik “แม้การเล่นปลายเปิดหรือการเล่นอิสระนั้นจะมีบทบาทสำ �คัญ แต่ การเล่นดังกล่าวไม่เพียงพอให้เด็กทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการเล่น ที่เอื้อต่อการเรียนรู้วิศวกรรมการออกแบบและการมีจิตนิสัยทางวิศวกรรม” (Lottero-Perdue, 2019) ครูจึงควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีประสบการณ์ในการเล่นที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นก่อสร้างกับสื่อปลายเปิดนอกจากบล็อก เช่น วัสดุ Loose Parts หรือชิ้นส่วนเคลื่อนย้ายได้ วัสดุธรรมชาติ การเล่นในศูนย์การเรียนรู้ (Learning Centers) หรือมุมประสบการณ์ต่างๆ การเล่นในพื้นที่แห่งการ สร้างสรรค์ (Making Space) การเล่นที่ใช้จินตนาการ (Imaginative Play) ซึ่งเด็กได้ออกแบบประสบการณ์การเล่นภายใต้ข้อจํากัดที่เด็กสร้างขึ้นซึ่งเด็ก เป็นผู้สร้างกฎเกณฑ์การเล่นตามบทบาทและใช้อุปกรณ์ประกอบฉากที่ตนเอง เป็นผู้กำ �หนดหรือกำ �หนดร่วมกัน (Bodrova & Leong, 2017) เพื่อให้ เด็กทุกคนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิศวกรรมในรูปแบบที่ไม่เป็น ทางการผ่านการมีส่วนร่วมในการเล่นเชิงวิศวกรรมอย่างเต็มที่ แนวทางการเสริมต่อการเรียนรู้ในการเล่นเชิงวิศวกรรมสำ �หรับเด็กปฐมวัย ครูหรือผู้ใหญ่มีบทบาทสำ �คัญในการเป็นนั่งร้าน (Scaffold) หรือ การเสริมต่อประสบการณ์และการเรียนรู้ทางวิศวกรรมเพื่อให้เด็กก้าวผ่านพื้นที่ รอยต่อของพัฒนาการ (Zone of Proximal Development) ไปสู่ความสามารถ ในการทำ �สิ่งนั้นๆ และสิ่งที่คล้ายกันได้ด้วยตนเอง ตามแนวคิดของ Vygotsky (1978, as cited in Bodrova & Leong, 2018) โดยบทบาทของครูคือ เป็นผู้อํานวยความสะดวก (Facilitator) ในการเล่นเชิงวิศวกรรมให้แก่เด็ก ทั้งแง่การจัดสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศ การสังเกตเด็ก การใช้คำ �ถาม และการให้คําแนะนําเพื่อกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วม ในกระบวนการออกแบบวิศวกรรม รวมถึงการเชื่อมโยงกับโลกแห่งความเป็นจริง หรือชีวิตประจำ �วันของเด็กเพื่อให้เด็กสนใจในบทบาทของวิศวกรรมและเห็น โอกาสในการสร้างสรรค์ การช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม และสร้างเสริมจิตนิสัย ทางวิศวกรรมของเด็ก (Lottero-Perdue, 2019; Bairaktarova et al., 2011) ซึ่งต้องคำ �นึงถึงความเหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคลที่มีความชอบ ความสนใจ ความสามารถ และความถนัดที่แตกต่างกัน และความเหมาะสมกับบริบททาง สังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2561, NAEYC, 2020) แนวทางการเสริมต่อการเรียนรู้ในการเล่นเชิงวิศวกรรมสำ �หรับ เด็กปฐมวัยครอบคลุมบทบาทของครูในการเตรียมการก่อนการเล่นเชิง วิศวกรรมและในระหว่างการเล่นเชิงวิศวกรรมของเด็กมีดังนี้ (Gold et al., 2020; Weigel et al., 2019; Selly, 2017) 1. การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมและสื่อที่เอื้อต่อการเล่นเชิงวิศวกรรม สภาพแวดล้อมและสื่อถือเป็นกุญแจสำ �คัญในการเล่นเชิงวิศวกรรม ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้สำ �รวจ สร้างสรรค์ และทดสอบความคิดของตนเอง และการเล่นหรือการทำ �งานร่วมกันกับเพื่อน อีกทั้งยังเป็นสื่อกลางที่ช่วย สนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ครูจึงควรจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเล่น เชิงวิศวกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสสำ �รวจ ทดสอบ แก้ปัญหา และจัดเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่หลากหลาย น่าสนใจ สร้าง แรงบันดาลใจให้กับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้สำ �รวจ สร้างสรรค์ ทดสอบความคิด และแก้ปัญหา โดยคำ �นึงถึงความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้งาน ความ น่าสนใจ ความหลากหลาย ทั้งนี้ ควรมีการหมุนเวียน ปรับเปลี่ยน แนะนำ �สื่อใหม่ๆ เป็นระยะ เพื่อทำ �ให้สภาพแวดล้อมและสื่อเหล่านั้นมีชีวิตชีวา 1.1 การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเล่นเชิงวิศวกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้ • ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Centers) หรือมุมประสบการณ์ สำ �หรับเล่นเชิงวิศวกรรม เช่น ศูนย์บล็อกหรือศูนย์ก่อสร้างสำ �หรับให้เด็ก ได้สร้างบ้าน อาคาร ถนน เมือง หรือโครงสร้างต่างๆ ศูนย์ศิลปะสำ �หรับ ให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสำ �รวจรูปร่าง พื้นผิว พื้นที่ เล่นกับสี เส้น ลวดลาย สำ �รวจวิธีการสร้างโครงสร้างสามมิติโดยใช้วัสดุที่หลากหลาย ออกแบบ ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ศูนย์หนังสือสำ �หรับให้เด็กได้สำ �รวจโลกรอบตัว ที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านหนังสือภาพ นิทาน นิตยสาร หรือสื่ออื่นๆ • พื้นที่เล่นก่อสร้างบริเวณกลางแจ้ง เช่น เล่นสร้างหรือออกแบบ ทางลาดชัน โดยอาจใช้กระดานหรือระแนงไม้เพื่อทดสอบวิธีการทำ �ให้ ลูกบอล ลูกปิงปอง ลูกเทนนิส หรือวัตถุทรงกลมอื่นๆ เคลื่อนที่ลงบนทางลาด และตามเส้นทางต่างๆ ภาพจาก: freepik.com/freepik

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5