นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 248

8 นิตยสาร สสวท. • พื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ (Maker Space) สำ �หรับเล่น สำ �รวจ และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง โดยมีวัสดุปลายเปิดที่มีความหลากหลาย ทั้งวัสดุ ขนาด พื้นผิว รวมถึงเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น วัสดุเหลือใช้ สี กาว กรรไกร ข้อต่อ เฟือง เชือก 1.2 การจัดเตรียมสื่อที่เอื้อต่อการเล่นเชิงวิศวกรรม ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้ • วัสดุปลายเปิด loose parts หรือชิ้นส่วนที่เคลื่อนย้ายได้ วัสดุ ธรรมชาติ วัสดุเหลือใช้ เช่น กิ่งไม้ ท่อนไม้ หินมน ทราย ดินเหนียว ใบไม้ น้ำ � กล่อง ลังกระดาษ แกนกระดาษชำ �ระ กระป๋อง ภาชนะ กรวย ท่อพลาสติก รางน้ำ � แผ่น CD สวิตช์ หน้าปัทม์ โทรศัพท์ที่ไม่ใช้แล้ว • บล็อกหรือตัวต่อหลากหลายประเภทเพื่อให้เด็กได้สำ �รวจ คุณสมบัติต่างๆ เช่น รูปทรง ขนาด ความหนา น้ำ �หนัก พื้นผิว วัสดุ ภาพจาก: unsplash.com/YianniMathioudakis • อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำ �หรับเล่นก่อสร้างที่ปลอดภัย เช่น ท่อ พลาสติกและข้อต่อ ทางลาด อุโมงค์ ล้อ ยางรถ รถเข็น ลูกบอล เชือก เฟือง รอก คันโยก ตลับเมตร ค้อน ไขควง ประแจ น็อต คีม • หนังสือภาพ นิทาน หนังสือ นิตยสาร หรือสื่อที่เกี่ยวข้องกับ การก่อสร้างหรืองานวิศวกรรมประเภทต่างๆ เช่น บ้าน อาคาร เมือง ไฟฟ้า เทคโนโลยี แพทย์ • โปสเตอร์หรือบัตรภาพพร้อมคำ �ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเพื่อ ให้เด็กและครูสามารถสอดแทรกคำ �ศัพท์ได้อย่างสะดวกในขณะเล่น เพื่อให้เด็ก ได้เชื่อมโยงประสบการณ์ทางวิศวกรรมในชีวิตจริง เช่น ภาพสิ่งก่อสร้างต่างๆ สิ่งประดิษฐ์ ยานพาหนะ เทคโนโลยี งานของวิศวกรในสาขาต่างๆ 2. การสร้างบรรยากาศและการมีส่วนร่วมในการเล่นเชิงวิศวกรรม การจัดเตรียมเพียงวัสดุ อุปกรณ์ที่น่าสนใจสำ �หรับเด็กนั้นยัง ไม่เพียงพอต่อการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมสำ �หรับเด็ก การสร้าง บรรยากาศ การสังเกต การใช้คำ �ถาม และการให้คำ �แนะนำ �เป็นสิ่งที่สำ �คัญ ที่ช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้วิศวกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายมากยิ่งขึ้น การให้เด็ก ได้สะท้อนคิดถึงการวางแผน การแก้ปัญหา และการปรับปรุงจะช่วยให้เด็ก ได้คิดเกี่ยวกับการคิดของตนเอง (Metacognition) 2.1 การสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนจิตนิสัยทางวิศวกรรมและ การปฏิบัติทางวิศวกรรม ตัวอย่างเช่น • แสดงความสนใจในวิธีการทำ �งานและใส่ใจต่อคำ �อธิบายของเด็ก • ชื่นชมความมุ่งมั่นพยายามและผลงานของเด็ก เสริมแรงให้ กำ �ลังใจเมื่อเด็กยังทำ �ไม่สำ �เร็จ • สนับสนุนให้เด็กร่วมกันแก้ปัญหา รับฟังความคิดเห็น ใส่ใจ ต่อผู้อื่น • สนับสนุนให้เด็กทุกคนได้มีโอกาสเล่นก่อสร้างกับบล็อกหรือวัสดุ ปลายเปิด โดยเฉพาะเด็กที่ไม่กล้าหรือไม่มั่นใจในการร่วมเล่นกับเพื่อน 2.2 การมีส่วนร่วมในการเล่นเชิงวิศวกรรมของเด็ก การสังเกต การใช้คำ �ถาม และการให้คําแนะนําเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการ ออกแบบวิศวกรรมในจังหวะที่เหมาะสมอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่รบกวน การเล่นของเด็ก ตัวอย่างเช่น การจัดสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียนในพื้นที่เล่นก่อสร้าง ของโรงเรียน Kindergarten Fröbelhaus ในเยอรมนี ภาพจาก: unsplash.com/MarkusSpiske ภาพจาก : junkyardrascals.com.au/JunkyardRascals

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5