นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
12 นิตยสาร สสวท.ิ ต ความรู้สึก และการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ เช่น ความโกรธ ความเศร้า ความกลัว และความดีใจ 4. ด้านจริยธรรม เด็กปฐมวัยเริ่มเรียนรู้ความถูกต้องและแยกแยะ สิ่งที่ควรหรือไม่ควรทำ � เช่น การแบ่งปัน การยอมรับผิด และการปฏิบัติ ตามกฎง่ายๆ จากผู้ใหญ่และสภาพแวดล้อม 5. ด้านการคิดและสติปัญญา เริ่มมีพัฒนาการทางความคิด และการเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น ความสามารถในการแก้ปัญหา การ จดจำ �เรื่องราว การใช้เหตุผล และการคิดเชิงสัญลักษณ์ เช่น การเล่น ของเล่นสมมติหรือการบอกเล่าเรื่องราว 6. ด้านการสร้างสรรค์ เด็กแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ผ่าน การเล่น การวาดภาพ และการเล่าเรื่อง การส่งเสริมจินตนาการและการให้ โอกาสสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ช่วยพัฒนาแนวคิดนอกกรอบและความคิดริเริ่ม 7. ด้านภาษาและการสื่อสาร ในวัยนี้เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการ ทางด้านภาษาที่ก้าวหน้า ทั้งการพูด ฟัง และการสื่อสาร สามารถใช้ ประโยคที่ยาวขึ้น มีความสามารถในการเล่าเรื่องและสื่อสารความต้องการ หรือความคิดเห็นของตนเองได้มากขึ้น นอกจากนี้ จากข้อมูลของ CBE Thailand (Competency- Based Education) ได้ให้ความหมายของสมรรถนะของเด็กประถมศึกษา ว่าเป็นความสามารถที่แสดงออกในพฤติกรรมของเด็กที่สามารถประยุกต์ใช้ ความรู้ ทักษะ และทัศนคติเพื่อให้บรรลุผลสำ �เร็จในบริบทต่างๆ โดย สมรรถนะของเด็กในระบบ CBE Thailand ประกอบด้วย 6 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การจัดการตนเอง คือ ความสามารถในการจัดการอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมของตนเอง รวมถึงการตั้งเป้าหมายและทำ �งาน เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2. การคิดขั้นสูง คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินผล และการคิดสร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างสิ่งใหม่ๆ เด็ก ควรสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. การสื่อสาร คือ ความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เด็กควรสามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และข้อมูลต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบได้อย่างเหมาะสม 4. การรวมพลังทำ �งานเป็นทีม คือ ความสามารถในการร่วมมือ และทำ �งานร่วมกันในกลุ่มเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยมุ่งเน้นที่การใช้ จุดแข็งของสมาชิกแต่ละคนอย่างมีประสิทธิภาพ การประสานงานที่ดี การแก้ปัญหาที่ยืดหยุ่น และการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำ �งานร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพ 5. การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน คือ ความสามารถในการเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกและเอกภพ และความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และธรรมชาติในชีวิต ประจำ �วัน สามารถใช้และรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยี หรือสร้างสรรค์ นวัตกรรมได้เพื่อการดำ �รงชีวิตและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน 6. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง คือ การปฏิบัติตนอย่างรับผิดชอบ ในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก รู้เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น เคารพในกฎกติกาและกฎหมาย มีส่วนร่วมทางสังคมอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ร่วมกับผู้อื่นท่ามกลางความหลากหลาย เห็นคุณค่าของศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ มีบทบาทในการตัดสินใจและสร้างการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม โดยยึดมั่นในความเท่าเทียมเป็นธรรม ค่านิยมประชาธิปไตย และ สันติวิธี สมรรถนะทั้ง 6 ด้านนี้เป็นส่วนสำ �คัญในการส่งเสริมการพัฒนา เด็กให้เติบโตอย่างสมดุล ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และการดำ �รงชีวิตในสังคม อย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบที่กระทรวงศึกษาธิการกำ �หนด โดยโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยและประถมศึกษา พัฒนาสมรรถนะเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ได้ยกตัวอย่างกิจกรรมในระดับปฐมวัย และประถมศึกษา โดยนำ �กิจกรรมของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยมาจัดเรียง และวิเคราะห์ความสอดคล้องกับสมรรถนะตามหลักสูตรและกรอบสมรรถนะ ที่กระทรวงศึกษาธิการกำ �หนด ระดับปฐมวัย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5