นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250

14 นิตยสาร สสวท. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สนับสนุนให้ครูเปิดโอกาสให้ เด็กสืบเสาะและตั้งคำ �ถามอย่างมีความสุขและปลอดภัย โดยเชื่อว่าการ ตั้งคำ �ถามและสืบเสาะเป็นเครื่องมือสำ �คัญในการเรียนรู้และแก้ปัญหาใน อนาคต โครงการฯ จึงส่งเสริมให้ครูจัดประสบการณ์ที่กระตุ้นให้เด็กค้นหา คำ �ตอบผ่านการทำ �โครงงานในระดับปฐมวัย และการสืบเสาะอิสระในระดับ ประถมศึกษา ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา เด็กๆ ได้สร้างผลงานที่เกินความคาดหมาย ซึ่งยืนยันได้ว่าเด็กมีศักยภาพเป็นนักวิจัยตัวน้อยที่พร้อมจะเรียนรู้และ พัฒนาต่อยอดเป็นเยาวชนที่มีศักยภาพ เพียงแค่การเปิดโอกาสและให้อิสระ ในการเรียนรู้ให้พวกเขาได้สืบเสาะ หาคำ �ตอบในสิ่งที่พวกเขาสงสัย ตาม แนวทางของพวกเขาเอง อีกทั้ง ดร.จรรยา ดาสา ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงงาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (ปฐมวัย) กับการสืบเสาะอิสระ (ประถมศึกษา) ซึ่งสามารถสรุปความแตกต่างของโครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (ปฐมวัย) กับการสืบเสาะอิสระ (ประถมศึกษา) ได้ดังนี้ ภาพ 4 การเรียนรู้ของโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย โครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (ปฐมวัย) การสืบเสาะอิสระ (ประถมศึกษา) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน คือ ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้เด็กทั้งชั้นได้ศึกษาในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่เกิดจากความสงสัยหรือ ความอยากรู้ของเด็กส่วนใหญ่ให้เด็กได้ร่วมกันออกแบบวางแผนและลงมือ สำ �รวจตรวจสอบด้วยกระบวนการสืบเสาะในการหาคำ �ตอบด้วยวิธีการที่ หลากหลายจนทำ �ให้เด็กทุกคนเกิดความเข้าใจในหัวข้อนั้นอย่างลึกซึ้งและ สื่อสารให้กับผู้อื่นเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน (ห้องเรียน) เด็กทั้งชั้นเรียนร่วมกันหา คำ �ตอบในแต่ละคำ �ถามตามลำ �ดับจนได้ข้อสรุปเพื่อตอบข้อสงสัยของเด็ก ทั้งชั้นเรียน แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะ มีการพูดคุย แลกเปลี่ยน และสร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกันระหว่างเด็กกับ เด็ก เด็กกับครู เด็กกับผู้ปกครอง (Co-construction) และเด็กๆ ได้ออกแบบ วางแผน และลงมือสำ �รวจตรวจสอบไปด้วยกันตามแนวทาง/ความคิดของเด็ก เด็กสะท้อนสิ่งที่ได้ทำ �และเรียนรู้ไปทีละขั้น (Metacognition) เด็กๆ ได้บันทึกกระบวนการ ข้อค้นพบ เก็บรวบรวมหลักฐานด้วยตนเอง ครูอาจช่วยทำ �แบบบันทึก หรือร่วมกันกับเด็กในการออกแบบวิธีการบันทึก และให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำ �เป็น การเรียนรู้ที่เด็กแต่ละคนได้สืบเสาะหาคำ �ตอบของคำ �ถามที่ตนเองสงสัย รวมถึงการจดบันทึก และจัดทำ �รายงานเพื่อสรุปและนำ �เสนอวิธีการและข้อ ค้นพบ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (ครู ผู้ปกครอง ช่วยเหลือเท่าที่ จำ �เป็น แต่ไม่ใช่ช่วยทำ � หรือบอกให้ทำ �) เป็นการเรียนรู้ของเด็กรายบุคคล (นอกห้องเรียน) เด็กแต่ละคนหาคำ �ตอบ ในสิ่งที่ตนเองสงสัย ออกแบบ รวบรวมข้อมูล บันทึก และลงข้อสรุปด้วย ตนเอง แนวทางการสืบเสาะอิสระมีการให้อิสระกับเด็กในการคิด การทำ �ในสิ่งที่ อยากรู้ (Autonomy) โดยเด็กๆ ได้บันทึกและสะท้อนสิ่งที่ได้ทำ �และเรียนรู้ ไปทีละขั้น(Metacognition)ซึ่งมีครูหรือผู้ปกครองคอยช่วยเหลือให้คำ �แนะนำ � เฝ้าดู หรือสนุกไปกับการทดลองของเด็กโดยไม่ลงไปช่วยทำ � เด็กๆ ได้บันทึกกระบวนการ ข้อค้นพบ เก็บรวบรวมหลักฐาน ด้วยตนเอง ทั้งหมดอย่างอิสระ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5