นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
16 นิตยสาร สสวท. เห็นได้ว่ารายการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อย่างสนุกสนาน แต่ยังส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ � และกล้าแสดงออก และยังส่งเสริมให้เด็กในแต่ละภูมิภาคได้เป็นตัวแทนนักวิทยาศาสตร์น้อย โดยนำ �อาชีพท้องถิ่นที่เด็กมีส่วนร่วมในชีวิตประจำ �วันมาเชื่อมโยงกับการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เช่น การเล่าเรื่องราวของอาชีพต่างๆ รวมถึงประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แฝงไปด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จากสื่อโทรทัศน์ดังกล่าวแสดงให้เห็นอีกว่า สื่อต่างๆ มีบทบาท สำ �คัญในการพัฒนาการเรียนรู้ในหลายด้าน เช่น 1. กระตุ้นความสนใจ: สื่อช่วยดึงดูดความสนใจของเด็ก ผ่าน ภาพ เสียง และเนื้อหาที่สร้างสรรค์ ทำ �ให้การเรียนรู้สนุกและน่าสนใจ มากขึ้น 2. ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ: สื่อสามารถนำ �เสนอข้อมูล ที่ซับซ้อนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ช่วยให้เด็กเรียนรู้ทักษะและความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างเป็นขั้นตอน ส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้ครูที่เป็นผู้นำ � เครือข่ายท้องถิ่นและส่งต่อเนื้อหาให้ครูและผู้ปกครองรู้จักและใช้ประโยชน์ ได้มากที่สุด 3. เสริมทักษะการคิดวิเคราะห์: สื่อที่ดีสามารถกระตุ้นให้เด็กตั้ง คำ �ถามและคิดวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ที่นำ �เสนอ เช่น การทดลอง การ แก้ปัญหา 4. สร้างแรงบันดาลใจ:ขยายสื่อจากหนังสือ กล่องกิจกรรม ไปสู่ รูปแบบอื่นๆ เช่น วีดิทัศน์ คลิป เว็บแอปพลิเคชัน สื่อที่เกี่ยวกับการค้นคว้า วิทยาศาสตร์ และความสำ �เร็จของบุคคลอื่น ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ เด็กอยากเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เพื่อให้ครูและผู้ปกครองสามารถนำ �ไป เป็นแนวทางใช้ในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสม 5. สนับสนุนการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์: สื่อสามารถส่งเสริม การเรียนรู้แบบโต้ตอบ เช่น การทำ �กิจกรรมหรือทดลองตาม ทำ �ให้เด็ก ได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ � สร้างสื่อที่ตรงกับความต้องการ ของครูปฐมวัยและผู้ปกครอง ช่วยสร้างสังคมครูและผู้ปกครองปฐมวัยให้ เชื่อมโยงการเรียนรู้จากหน้าจอสู่ห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพจึงสามารถช่วยเสริมพัฒนาการ ของเด็กในหลายมิติ ทั้งความรู้ ทักษะ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่ง ล้วนแต่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะสำ �คัญที่จะทำ �ให้เด็กเติบโตเป็น พลเมืองโลกที่มีคุณภาพและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต บทเรียนจากโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ผ่านมาสะท้อนถึงความสำ �เร็จในการสร้างสรรค์การศึกษามุ่งเน้น พัฒนาเด็กปฐมวัยและประถมศึกษาในประเทศไทย โครงการฯ นี้ไม่เพียง ส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ยังเตรียมเด็กให้ก้าวสู่การเป็นนักวิจัย และพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างมั่นใจ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำ �นักงาน. (2563). หลักสูตรฐานสมรรถนะ. CBE Thailand. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2567, จาก https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/ กรอบหลักสูตร/สมรรถนะหลัก-6-ประการ/. บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย. (2567). Littlescientistshouse.com. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2567, จาก https://www.littlescientistshouse.com/. สำ �นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย (สําหรับเด็กอายุ 3-5 ปี) . บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำ �กัด. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2567, จาก https://sornorssk32.wordpress.com/wp-content/uploads/2021/06/e0b8aae0b8a1e0b8a3e0b8a3e0b896e0b899e0b8b0e0b882e0b8ade0b887e0b980e0b894 e0b987e0b881e0b89be0b890e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b8a2e0b983e0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b89ee0b8b1e0b892e0b899e0b8b2e0b895-1.pdf. บรรณานุกรม ภาพจาก: https://www.vecteezy.com/vector-art/5741967-young-scientist-education-research-vector-illustration
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5