นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
20 นิตยสาร สสวท. บนดาวอังคารจะเป็นประมาณ 4.7 เท่าเมื่อเทียบกับโลกเพื่อที่จะได้แรงยกเท่ากัน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการรายงานของอินเจนูอิตี บนดาวอังคารที่มีข้อมูลว่าโรเตอร์ของอินเจนูอิตีหมุนที่ประมาณ 2,400 รอบต่อนาที เทียบกับบนโลกที่หมุนประมาณ 500 รอบต่อนาที และนี่คือคำ �ตอบว่าบนดาวอังคารที่มีอากาศเบาบาง ความถี่ในการหมุนของโรเตอร์จะต้องเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าเพื่อที่จะสามารถทำ �การ บินบนดาวอังคารได้ และเรายังสามารถทราบอีกว่า เมื่อเราแทนค่าต่างๆ ลงในสมการคือ f = 40 Hz (เท่ากับ 2,400 รอบต่อนาที) m = 1.8 kg, R = 0.6 m จะพบว่าค่าคงที่ k = 1.6 อินเจนูอิตีบินสำ �รวจดาวอังคารตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021 จนถึงช่วงต้นปี ค.ศ. 2024 ทำ �การบินทั้งหมด 72 ครั้งในช่วงเวลากว่า สามปี อินเจนูอิตีต้องพบกับอุปสรรคการบิน ทั้งสภาพบรรยากาศที่เบาบาง อุณหภูมิที่ต่ำ �ในช่วงเวลากลางคืน พายุฝุ่นและการแผ่รังสี คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบนดาวอังคารที่รุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับบนโลก จนในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2024 ใบพัดของอินเจนูอิตีได้รับ ความเสียหายในระหว่างการลงจอด เกิดการงอ เปลี่ยนรูปของใบพัด ทำ �ให้อินเจนูอิตีไม่สามารถทำ �การบินได้อีกต่อไป แต่นี่ก็นับเป็น ความสำ �เร็จที่ยิ่งใหญ่เพราะในตอนแรกอินเจนูอิตีถูกตั้งเป้าหมายไว้สำ �หรับการบินทดสอบเพียง 5 ครั้งเท่านั้น อีกทั้งการบินสำ �รวจของ อินเจนูอิตียังเป็นจุดเริ่มต้นทีดี ประสบความสำ �เร็จสำ �หรับการบินบนดาวเคราะห์ดวงอื่นในภารกิจการสำ �รวจอวกาศที่จะมีขึ้นต่อไปใน อนาคต ในภาพยนตร์ ซีรีส์ไซไฟต่างๆ จะพบฉากการบินของอากาศยานบนดาวเคราะห์อื่นๆ เป็นเรื่องปรกติ ความฝันจินตนาการ ต่างๆ นั้นอาจจะเป็นจริงได้ โดยอินเจนูอิตีเป็นจุดเริ่มต้นคล้ายกับในปี ค.ศ. 1903 ที่พี่น้องตระกูลไรต์ทำ �การบินครั้งแรกและ วิวัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นอากาศยานต่างๆมากมายจนถึงปัจจุบัน ในอินเจนูอิตีประกอบด้วยชิ้นส่วนของเครื่องบินที่พี่น้องตระกูลไรต์ ทำ �การบินในครั้งแรกด้วยเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์สำ �คัญนี้ เคยมีใครคนหนึ่งกล่าวไว้ว่ามนุษย์ไปสำ �รวจดาวสองครั้งด้วยกัน ครั้งแรกไปด้วยความฝัน จินตนาการ คิดอยากจะไปแบบที่เราพบในงานเขียน นวนิยาย มังงะ ภาพยนตร์ ซีรีส์ต่างๆ และครั้งที่สอง คือ การไปสำ �รวจดาวนั้นจริงๆ ด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยให้ความฝันเหล่านั้น เป็นจริงได้ ซึ่งทั้งสองอย่างที่กล่าวมานั้นไม่สามารถแยกจากกันได้เลย เป็นส่วนเสริมของกันและกัน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เราอ่าน หนังสือประวัติศาสตร์นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังระดับโลกหลายท่านที่ได้รับอิทธิพลจากหนังสือบางเล่ม นวนิยายบางเรื่องที่เคยอ่าน ในวัยเด็กมีผลผลักดันสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ เช่น คาร์ล เซแกน (Carl Sagan) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้รับอิทธิพล จากการอ่านนวนิยาย War of the Worlds ผลงานของ H.G. Wells ในวัยเด็ก สำ �หรับท่านผู้สนใจเพิ่มเติมสามารถดูวีดิทัศน์การบิน ของเฮลิคอปเตอร์หุ่นยนต์อินเจนูอิตีได้ที่ https://youtu.be/wMnOo2zcjXA Blanco, P. (2021). Rotorcraft RPM on Mars. The Physics Teacher, 59 (6): 388-388. Liebl, M. (2010). Investigating Flight with a Toy Helicopter. The Physics Teacher, 48 (7): 458-460. Sinek, S. (2009). Start with Why: how great leaders inspire everyone to take action . Penguin. Strickland, A. (2024, January 25). After Damaging a Rotor Blade, NASA’s Ingenuity Helicopter Mission Ends on Mars. CNN. Retrieved September 4, 2024, from https://edition.cnn.com/2024/01/25/world/nasa-mars-ingenuity-helicopter-mission-ends-scn/index.html. Wall, M. (2024, April 18). Ingenuity Team Says Goodbye to Pioneering Mars Helicopter. Space.com. Retrieved September 4, 2024, from https://www.space.com/mars-helicopter-ingenuity-team-says-goodbye. บรรณานุกรม ภาพจาก: https://www.usatoday.com/story/graphics/2024/02/05/nasa-mars-ingenuity-helicopter-defied-expectations/72364332007/
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5