นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
22 นิตยสาร สสวท. ก ารจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน หรือ Phenomenon- Based Learning ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นความท้าทายใหม่ สำ �หรับครูวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ ครูจำ �เป็นต้องเพิ่มทักษะ (Upskill) เพิ่ม ทักษะเดิมที่มีอยู่ (Reskill) และสร้างทักษะใหม่ (New Skill) เพื่อให้ ก้าวทันโลกที่กำ �ลังเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หากมีประเด็นใหม่ๆ ในสังคม หรือ เกิดปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงภายในท้องถิ่นหรือสังคม ก็สามารถประยุกต์ เข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอนได้ทันที โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่ทั้ง ในท้องถิ่นและโลกออนไลน์ เช่น เครื่องมือวัดค่าอินทรียสารในดิน ซึ่งใน ปัจจุบันราคาค่อนข้างถูก และสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย การเรียนการสอนได้ไม่จำ �เป็นต้องเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ภายใน ห้องเรียนเพียงอย่างเดียว 3. กำ �หนดรูปแบบการสอนและกำ �หนดกิจกรรม เพื่อให้สอดคล้อง กับแนวคิดหลัก (Main Concept) ซึ่งการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์ เป็นฐาน (Phenomenon-based Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้ปรากฏการณ์หรือปัญหาเป็นฐาน ดังนั้น จึงสามารถประยุกต์กับ รูปแบบหรือวิธีการสอนต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละวิชา เช่น การสอนแบบ 5E/วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method) เนื่องจาก แนวคิดหลัก (Main Concept) ที่สำ �คัญคือ เลือกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ การสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง ได้สังเคราะห์ความรู้ แก้ปัญหาด้วยตนเอง สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง 4. กำ �หนดวิธีการประเมิน ที่สอดคล้องกับกิจกรรมเพื่อประเมิน ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) ด้านคุณลักษณะ (A) วิธีการออกแบบการเรียนรู้ • กำ �หนดปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง อินทรียสารในดิน • วิเคราะห์อรรถประโยชน์ของบทเรียน o มาตรฐาน ว 1.2 (ม.1) เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิต การลำ �เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำ �งานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของพืชที่ทำ �งาน สัมพันธ์กัน รวมทั้งนำ �ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัดที่ 14 อธิบายความสำ �คัญของธาตุอาหารบางชนิด ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และการดำ �รงชีวิตของพืช ตัวชี้วัดที่ 15 เลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเหมาะสมกับพืชใน สถานการณ์ที่กำ �หนด • รูปแบบการสอนและการกำ �หนดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ 1. ดำ �เนินการศึกษาค้นคว้า ผู้เรียนมีส่วนร่วมวางแผนดำ �เนิน กิจกรรมการเรียนรู้ กำ �หนดขั้นตอน และวิธีการหาคำ �ตอบ ดำ �เนินการศึกษา ค้นคว้ารายบุคคลและรายกลุ่ม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากผู้เรียนเอง หรือการอภิปรายกลุ่ม ในเรื่อง ดิน ชนิดของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นปรากฏการณ์การเรียนรู้ ครูอาจจะจัดกิจกรรมหรือ สถานการณ์เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียนตื่นเต้น สงสัย ใคร่รู้ อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนำ �ไปสู่การแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้า หรือการทดลอง แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหาที่ครู กำ �ลังสนใจเป็นเรื่องที่จะศึกษา สามารถทำ �ได้หลายแบบ เช่น สาธิต ออกแบบ การทดลอง วางแผนกำ �หนดการสำ �รวจตรวจสอบ หรือลงมือปฏิบัติ โดยการ ดำ �เนินการสำ �รวจดินในพื้นที่ เช่น โรงเรียน หรือชุมชน ทดลอง โดยนำ �ดิน ที่ได้มาตรวจสอบค่าอินทรียสารในดิน รวมถึงการค้นหาและรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกับข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและแหล่งความรู้อื่นๆ ภาพ1 เครื่องวัดค่าอินทรียสารในดิน หลักในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 1. กำ �หนดปรากฏการณ์ที่น่าสนใจอาจเกิดจาการสำ �รวจของครู หรือผู้เรียนร่วมกันสำ �รวจกับครูเพื่อเลือกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ให้สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชาและระดับของผู้เรียน หากเป็นผู้เรียน ในระดับประถมศึกษา ครูอาจจะต้องเป็นผู้เลือกปรากฏการณ์ ที่น่าสนใจด้วยตนเอง ซึ่งปรากฏการณ์ที่เลือกใช้อาจจะสามารถอธิบาย จากประสบการณ์ของผู้เรียนได้ทั้งหมดหรือบางส่วน 2. วิเคราะห์อรรถประโยชน์ของบทเรียน กำ �หนดมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรในกลุ่มสาระฯ หรือต่างกลุ่มสาระ ที่สามารถบูรณาการร่วมกันได้ ครูสามารถจัดการเรียนรู้ร่วมกับเทคนิค กลยุทธ์การสอน เช่น การบรรยาย การใช้สื่อการสอน การพบผู้เชี่ยวชาญ ในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถจัดกิจกรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5