นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
ปีที่ 52 ฉบับที่ 250 กันยายน - ตุลาคม 2567 25 4. การประเมิน (Evaluate) ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของ ผู้เรียนตามสภาพจริงผ่านการนำ �เสนอปากเปล่า การเขียน คำ �อธิบาย เพื่อ สะท้อนถึงความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับ ปรากฏการณ์ รวมถึงผู้เรียนสามารถนำ �กระบวนการหาคำ �ตอบ สืบค้น ข้อมูลจากกิจกรรมการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้สำ �หรับการอธิบายปรากฏการณ์ ต่างๆ ในชีวิตจริงได้ กำ �หนดวิธีการประเมินที่สอดคล้องกับกิจกรรม เพื่อประเมิน • ด้านความรู้ (K) ที่เกิดกับผู้เรียน เช่น ความรู้จากการทดลอง ความรู้จากการศึกษาเพิ่มเติม ชิ้นงาน • ด้านทักษะกระบวนการ (P) กระบวนการกลุ่ม ทักษะการ ทำ �งานร่วมกัน ทักษะการทดลอง • ด้านคุณลักษณะ (A) สังเกตพฤติกรรมบ่งชี้ ด้านความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้และมุ่งมั่นในการทำ �งาน การจัดการเรียนรู้แบบ Phenomenon-Based Learning เป็นการเรียนรู้ที่สามารถออกแบบได้ง่าย เป็นไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เน้นกระบวนคิด วิเคราะห์ วางแผน ลงมือปฏิบัติ สังเคราะห์ ผู้เรียนสนุก กับการเรียนรู้และสามารถต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้จนเกิดผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ประกอบกับการจัดการเรียนการสอนนอกห้องเรียนเป็นการสร้าง ความสนใจ (Engage) แรงจูงใจ (Motivation) ให้กับผู้เรียนอย่างมาก ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถยกระดับทักษะ (Upskill) เพิ่มทักษะเดิม ที่มีอยู่ (Reskill) และนำ �ไปสู่การพัฒนาทักษะใหม่ๆ (New skill) ที่จะส่งผล ต่อเนื่องอย่างยั่งยืนในอนาคต Symeonidis, V. & Schwarz, J. F. (2016). Phenomenon-Based Teaching and Learning through the Pedagogical Lenses of Phenomenology: the recent curriculum reform in finland. Forum O ś wiatowe, 28 (2): 31–47. ตะวัน ไชยวรรณ. กุลธิดา นุกูลธรรม. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน : การเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนในโลกแห่งความจริง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15 (2): 251-263. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/ download/246642/168302/893967. บรรณานุกรม ภาพจาก: https://www.morels.com/threads/2020-md-morel-season.1248368/
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5