นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250

ปีที่ 52 ฉบับที่ 250 กันยายน - ตุลาคม 2567 29 1. เน้นปัญหาเพื่อนำ �ไปสู่การออกแบบ ใช้ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจและปัญหา ความท้าทายหรือโจทย์ในการออกแบบที่กําหนด ด้วยปัญหาและ/หรือเป้าหมาย ข้อจํากัด เช่น วัสดุ เวลา เกณฑ์ และร่วมกันกําหนดข้อตกลงในการออกแบบและวิธีการทดสอบ เพื่อนำ �ไปสู่การสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการ 2. ใช้การออกแบบเชิงวิศวกรรม จัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมใน การสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติเพื่อรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ใช้ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา สร้างชิ้นงานหรือวิธีการ ทดสอบ ประเมิน ปรับปรุง และนำ �เสนอ 3. บูรณาการวิศวกรรมกับสาขาต่างๆ จัดประสบการณ์โดยบูรณาการวิศวกรรมกับสาขาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี ภาษา สังคม การคิดเชิงคำ �นวณ เพื่อสร้างสะพานเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างสาขาอย่างมีความหมายและมี ประสิทธิภาพ และนำ �ไปใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้การบูรณาการแบบต่างๆ เช่น สหวิทยาการ (interdisciplinary) หรือข้ามสาขา วิชา (Transdisciplinary) 4. เชื่อมโยงประสบการณ์ในชีวิตจริง โดยการสำ �รวจหรือจัดทัศนศึกษาสถานที่หรือแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมใน สาขาต่างๆ เช่น สะพาน เขื่อน พื้นที่ก่อสร้างในบริเวณที่ปลอดภัย ท่ารถ ท่าเรือ สนามบิน โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม การเชิญ ผู้ปกครอง คนในชุมชน หรือผู้ที่ทำ �งานด้านวิศวกรรมหรือสาขาทางด้านสะเต็มมาแบ่งปันประสบการณ์ในการทำ �งาน เช่น วิศวกร สถาปนิก ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า คนงานก่อสร้าง นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรืออาจสืบค้นวีดิทัศน์จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5. ใช้วิธีการที่หลากหลาย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางวิศวกรรมโดยใช้วิธีการที่หลากหลายและการทำ �งานร่วมกันผ่านการเล่น การสืบเสาะหาความรู้ การลงมือปฏิบัติ การสำ �รวจ การสร้างสรรค์ การทดลอง การทดสอบ การไปทัศนศึกษา การสืบค้นแหล่งข้อมูล ต่างๆ การระดมความคิดและอภิปราย การเล่นเกม โดยครูเป็นผู้อำ �นวยความสะดวกในการเรียนรู้ ใช้คำ �ถาม สอดแทรกคําศัพท์ ที่เกี่ยวข้อง และให้คําแนะนําแก่เด็ก 6. ใช้คำ �ถามกระตุ้นการคิดเชิงวิศวกรรม โดยใช้คำ �ถามที่มีลักษณะปลายเปิด มีจุดมุ่งหมายในการถาม และสิ่งสำ �คัญคือ การ ให้เวลาและรอคอยคำ �ตอบหรือคำ �อธิบายของเด็ก การใช้คำ �ถามอย่างมีจุดมุ่งหมาย ตัวอย่างแสดงดังตาราง 1 ตาราง 1 ตัวอย่างคำ �ถามกระตุ้นการคิดเชิงวิศวกรรม ตัวอย่างการใช้คำ �ถามเพื่อ... จุดประกาย ความริเริ่มสร้างสรรค์ • “เราใช้บล็อกพวกนี้สร้างอะไร ได้บ้างนะ” • “ถ้าเราไม่ใช้สิ่งนี้ เราจะใช้อะไร แทนได้บ้าง” • “...จะเป็นอะไรได้อีกบ้าง” • “จะทำ �วิธีอื่นได้บ้างไหม” • “จะหาได้ที่ไหน” ส่งเสริมการแก้ปัญหา • “เราจะทำ �ให้หอคอยนี้สูงขึ้นโดย ไม่ล้มได้อย่างไร” • “เราจะทำ �ให้สะพานนี้รับน้ำ �หนัก มากขึ้นได้อย่างไร” • “เราจะช่วย... ให้อยู่ในเรือ ลำ �เดียวกันได้อย่างไรโดย ไม่ให้เรือล่ม” กระตุ้นการสังเกตและ สำ �รวจคุณสมบัติของวัสดุ • “...มีลักษณะเป็นอย่างไร” • “มีอะไรที่คล้าย/ต่างกัน...บ้าง” • “ถ้าเราเปลี่ยนจาก...เป็น...จะเป็น อย่างไร” • “ถ้านกใช้วัสดุอื่นทำ �รัง หนูคิดว่า น่าจะเป็นอะไร” ให้เหตุผลและคิดเชิงระบบ • “ทำ �ไมหนูถึงเลือกอันนี้” • “หนูคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้า...” • “ถ้าเราใช้สิ่งอื่นแทน... จะเป็น อย่างไรนะ” • “ถ้าเราเปลี่ยนวิธี จะเกิดอะไรขึ้น” วางแผน ออกแบบ และสื่อสาร • “หนูจะทำ �อะไรก่อนดี...แล้ว หลังจากนั้นล่ะ” • “สิ่งที่หนูจะทำ � หน้าตาเป็น อย่างไรนะ ลองวาดให้ดูหน่อย ได้ไหม” • “คราวหน้าหนูจะทำ �อะไร” • “หนูทำ �อะไรบ้าง” • “หนูทำ �...อย่างไร” ทดสอบและเพิ่มประสิทธิภาพ • “เราจะรู้ได้อย่างไรว่า...ที่เราสร้าง ใช้งานได้/สำ �เร็จ” • “ถ้า...พัง เราจะแก้ไขได้อย่างไร” • “หนูคิดว่าควรซ่อม/ปรับปรุง ตรงไหนดี เพราะอะไร” • “เราจะทำ �ให้...ดี/แข็งแรง/เร็วขึ้น ได้อย่างไรบ้าง”

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5