นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250

32 นิตยสาร สสวท. รู ปแบบกา รประ เ มินจะ เ ป็นกรอบหรือแนวความคิดที่สำ �คัญ ที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการหรือรายการประเมิน การจะใช้รูปแบบ การประเมินใด จึงอยู่ที่จุดเน้นและจุดมุ่งหมายของการประเมิน ซึ่งโดยทั่วไป นิยมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. รูปแบบการประเมินที่เน้นจุดมุ่งหมาย (Objective Based Model) เป็นรูปแบบที่เน้นการตรวจสอบผลที่คาดหวังว่าเกิดขึ้นหรือไม่ หรือประเมินโดยตรวจสอบผลที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายเป็นหลัก โดยดูว่า ผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำ �หนดไว้หรือไม่ เช่น รูปแบบ การประเมินของไทเลอร์ (Tyler) ครอนบาค (Cronbach) เคิร์กแพทริค (Kirkpatrick) 2. รูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินคุณค่า (Judgemental Evaluation Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มา ซึ่งข้อมูลสารสนเทศสำ �หรับกำ �หนดและวินิจฉัยคุณค่าของโครงการนั้น เช่น รูปแบบการประเมินของ สเตค (Stake) สคริฟเวน (Scriven) โพรวัส (Provus) 3. รูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินใจ (Decision - Oriented Evaluation Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มา ซึ่งข้อมูลและข่าวสารต่างๆ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเลือกทางเลือก ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เช่น รูปแบบการประเมินของเวลช์ (Welch) สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) อัลคิน (Alkin) น้ำ �ทิพย์ จรรยาธรรม | นักวิชาการอาวุโส สาขาประเมินผลทางการศึกษา สสวท. | e-mail: nphan@ipst.ac.th รูปแบบการประเมิน การฝึกอบรม การฝึกอบรมเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้รับการอบรมได้ เพิ่มพูนประสบการณ์ด้านความรู้ ความเข้าใจ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และเจตคติของตนเพื่อนำ �ไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานในทางที่ ดีขึ้น มีนักทฤษฎีการประเมินการฝึกอบรมได้เสนอรูปแบบการประเมิน การฝึกอบรมไว้มากมาย ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีความแตกต่างกันบ้าง คล้ายคลึงกันบ้าง ตามแต่ลักษณะของโครงการฝึกอบรมที่ต้องทำ � การประเมิน ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการนำ �ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม กับโครงการฝึกอบรมของแต่ละหน่วยงาน ฟิลลิปส์ เจ ได้รวบรวมรูปแบบการประเมินการฝึกอบรมไว้ 7 รูปแบบ ได้แก่ (1) The Kirkpatrick Approach (2) The Bell System Approach (3) The CIRO Approach (4) Saratoga Institute Approach (5) The IBM Approach (6) Xerox Approach (7) CIPP Model โดยทั้ง 7 รูปแบบเป็นรูปแบบการประเมินที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความเหมาะสม ที่จะใช้ในการประเมินโครงการฝึกอบรมโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละรูปแบบต่างมี ปรัชญาที่แตกต่างกันบ้าง คล้ายกันบ้างตามความเชื่อของนักทฤษฎีที่ พัฒนารูปแบบนั้นๆ เป็นผลให้แต่ละรูปแบบมีข้อเด่นและข้อด้อยในการใช้ ที่แตกต่างกันไป ใน 7 รูปแบบ มีอยู่ 2 รูปแบบที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมในการนำ �ไป ประยุกต์ใช้กับการประเมินการฝึกอบรมในหน่วยงานต่างๆ อย่างมาก ได้แก่ The Kirkpatrick Approach และ CIPP Model ภาพจาก: https://trainingindustry.com/articles/measurement-and-analytics/evaluating-employee-performance-heres-what-to-consider/

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5