นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250

ปีที่ 52 ฉบับที่ 250 กันยายน - ตุลาคม 2567 33 ภาพจากเว็บไซต์สถาบันเกษตราธิการ 1. The Kirkpatrick Approach รูปแบบของเคิร์กแพทริคเป็นรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ มีลักษณะ การประเมินที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม โดยเป็นรูปแบบ การประเมินที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับการประเมินผลการฝึกอบรมโดยเฉพาะ และจะมุ่งเน้นผลการประเมินในทางลึกมากกว่าทางกว้าง กล่าวคือ มุ่งเน้น ไปที่ผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมเป็นหลัก มิได้มุ่งเน้นไปที่ตัวโครงการมากนัก (ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ที่มีลักษณะ การประเมินในลักษณะกว้างเพื่อให้ครอบคลุมโครงการทั้งระบบ) อีกทั้ง ยังเป็นรูปแบบการประเมินที่จะนำ �ไปประยุกต์ใช้กับโครงการในลักษณะใด ก็ได้ ทั้งในแบบของการฝึกอบรม การสัมมนา การประชุมปฏิบัติการ จึง เลือกมานำ �เสนอในครั้งนี้ ซึ่งมีสาระสำ �คัญดังนี้ โดนัลด์ แอล เคิร์กแพทริค (Donald L.Kirkpatrick,1975) แห่ง มหาวิทยาลัยวิสคอนซินสหรัฐอเมริกา อดีตประธาน ASTD (American Society for Training and Development) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ การฝึกอบรม และการประเมินผลการฝึกอบรมว่า “การฝึกอบรมเป็นการ ช่วยเหลือบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการ ฝึกอบรมใดๆ ควรจัดให้มีการประเมินผลการฝึกอบรมซึ่งถือเป็นสิ่ง จำ �เป็นที่จะช่วยให้รู้ว่าการจัดโปรแกรมการฝึกอบรมมีประสิทธิผลเพียงใด” เคิร์กแพทริค ได้เสนอขั้นตอนการฝึกอบรมเป็น 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 การประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction Evaluation) การประเมินขั้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้ว่าผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้สึกอย่างไรต่อการฝึกอบรม พอใจหรือไม่ต่อสิ่งที่ได้รับจากการ ฝึกอบรม เช่น หลักสูตร เนื้อหาสาระ วิทยากร เอกสาร สถานที่ โสตทัศนูปกรณ์ ระยะเวลา และพอใจมากน้อยเพียงใด การประเมิน ปฏิกิริยาตอบสนองนั้นต้องการได้รับข้อมูลที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความหมายและมีความเป็นจริงเพราะข้อมูล เหล่านี้จะเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของการฝึกอบรมเป็นอันดับแรก เคิร์ก แพททริค กล่าวว่า มีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้บริหารตัดสินใจล้มเลิกโปรแกรม การฝึกอบรมหรือไม่ก็ตัดสินใจให้ดำ �เนินการฝึกอบรมต่อไปโดยอาศัย ข้อมูลที่ได้จากการประเมินปฏิกิริยาตอบสนองเป็นพื้นฐาน วิธีการที่จะ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5