นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250

ปีที่ 52 ฉบับที่ 250 กันยายน - ตุลาคม 2567 35 ขั้นที่ 4 การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร (Results Evaluation) การประเมินในขั้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้รู้ว่าการฝึกอบรมได้ก่อ ให้เกิดผลดีต่อหน่วยงานอย่างไรบ้าง (Outcomes) เป็นการประเมินผล ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้นกับหน่วยงาน เช่น การลดค่าใช้จ่าย การปรับปรุง ประสิทธิภาพการทำ �งาน การเพิ่มปริมาณการขายและการผลิต อัตรา การลาออกลดลง ซึ่งนับว่าเป็นการประเมินผลที่ยากที่สุดเพราะใน ความเป็นจริงนั้นมีตัวแปรอื่นๆ อีกมากมายนอกเหนือจากการฝึกอบรมที่มี ผลกระทบต่อหน่วยงานและตัวแปรเหล่านั้นบางทีก็ยากต่อการควบคุม ดังนั้น อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นแก่หน่วยงานในทางที่ดีจึงสรุปได้ยากว่าเป็นผล จากโปรแกรมการฝึกอบรม เคิร์กแพทริคได้ให้ข้อเสนอแนะในการ ประเมินผลขั้นนี้ไว้ว่า 4.1 ควรจัดสภาวการณ์หรือเงื่อนไขต่างๆ ก่อนการฝึกอบรม แล้วนำ �ไปเปรียบเทียบกับสภาวการณ์ภายหลังการฝึกอบรม โดยใช้ข้อมูล ที่สังเกตได้หรือวัดได้ 4.2 พยายามหาทางควบคุมตัวแปรอื่นๆ ซึ่งคาดว่าน่าจะมี อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับหน่วยงาน วิธีหนึ่ง พอจะทำ �ได้ คือ การใช้กลุ่มควบคุมหรือกลุ่มทดลอง แต่ก็ไม่ค่อยมีผู้ประเมินใช้ขั้นที่ 4 นี้อย่างจริงจัง เนื่องจากการ ประเมินความเชื่อมโยงระหว่างการฝึกอบรมกับผลกระทบทางธุรกิจของ กิจการนอกจากจะต้องใช้เวลาและความชำ �นาญในการวิเคราะห์แล้ว ยังเป็น เรื่องยากที่จะทำ �ให้ได้ผลที่ถูกต้องชัดเจน ตัวอย่างการนำ �รูปแบบของเคิร์กแพทริคไปใช้ (อรวรรณ ฟังเพราะ และรสาพร หม้อศรีใจ ส่วนวิจัยและพัฒนาฯ สถาบัน กศน. ภาคเหนือ.) “การประเมินการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดทำ �หนังสือเรียนรายวิชาเลือก สำ �หรับครูการศึกษานอกโรงเรียน” กรอบแนวคิดที่ใช้ในการประเมินใช้รูปแบบของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick) 1. การประเมินหลังฝึกอบรมใหม่ (Internal Measures) 1.1 การประเมินปฏิกิริยา (Reaction) ได้แก่ การประเมิน ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ มาตราประมาณค่า 5 ระดับ 1.2 การประเมินการเรียนรู้ (Learning) ได้แก่ การประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการอบรม โดยการทดสอบหลังการฝึกอบรมโดยใช้ แบบทดสอบเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก 2. การประเมินหลังฝึกอบรมไปแล้วระยะหนึ่ง (External Measures) 2.1 การประเมินพฤติกรรม (Behavior) ได้แก่ การประเมิน การนำ �ความรู้จากการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำ �หนังสือเรียนฯ ไปใช้ ในการปฏิบัติงาน โดยการสัมภาษณ์ผู้เข้ารับการอบรมและการสนทนา กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง เช่น ครู กศน. เจ้าหน้าที่ ฯลฯ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม 2.2 การประเมินผลลัพธ์ (Results) ที่เกิดต่อองค์กร ได้แก่ การ ประเมินผลกระทบจากการพัฒนาของผู้เข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตร การจัดทำ �หนังสือเรียนฯ ที่มีต่อสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้การสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ Kirkpatrick Model Model ของเคิร์กแพทริคแม้จะยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมาจนถึง ปัจจุบัน แต่การนำ �ไปใช้ก็จำ �เป็นต้องให้ความสำ �คัญกับนิยามมากขึ้นกว่าเดิม การประเมินการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดทำ �หนังสือเรียนรายวิชาเลือก สำ �หรับครูการศึกษานอกโรงเรียน” ประเมินหลังฝึกอบรมใหม่ๆ (Internal Measure) ผลการประเมินการฝึกอบรมหลักสูตร การจัดทำ �หนังสือเรียนรายวิชาเลือก สำ �หรับการศึกษานอกโรงเรียน ประเมินหลังฝึกอบรมไปแล้วระยะหนึ่ง (External Measure) ประเมินผลการนำ �ความรู้จากการ พัฒนาหลักสูตรการจัดทำ �หนังสือเรียนฯ ไปใช้ในการปฏิบัติงาน ประเมินผลกระทบจากการพัฒนาของ ผู้เข้ารับการพัฒนาหลักสูตรการ จัดทำ �หนังสือเรียนฯ ที่มีต่อสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ประเมินความพึงพอใจ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการอบรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5