นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
ปีที่ 52 ฉบับที่ 250 กันยายน - ตุลาคม 2567 37 ภาพความสัมพันธ์ของการตัดสินใจ และประเภทของการประเมินแบบ CIPP Model ที่มา: สมหวัง พิธียานุวัฒน์ (2524) จุดเด่น และจุดด้อยของโครงการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง โครงการและกิจกรรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กิจกรรมใดมีปัญหาและอุปสรรค ก็จะได้แก้ไขทันท่วงที 4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมิน เพื่อบ่งชี้ผลสัมฤทธิ์ของโครงการฝึกอบรมว่ามีมากน้อยเพียงใด บรรลุ วัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ โดยการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิต ของโครงการกับวัตถุประสงค์ปัจจัยนำ �เข้า และกระบวนการฝึกอบรม นอกจากนี้ การใช้แบบจำ �ลองซิปป์อย่างเต็มรูปแบบจะให้ สารสนเทศแบบสะสม กล่าวคือ การตัดสินใจหลังจากการประเมิน สภาวะแวดล้อมแล้วจะเป็นแนวทางสำ �หรับการประเมินปัจจัยนำ �เข้า การ ประเมินกระบวนการ การประเมินผลผลิต ผลที่ได้จะย้อนกลับไปสู่การ ตัดสินใจเลือกวัตถุประสงค์และการเลือกแนวทางในการจัดการโครงการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วย ดังนั้น รูปแบบจำ �ลองซิปป์นอกจากจะใช้เพื่อประเมินโครงการ ฝึกอบรมแล้วยังสามารถช่วยในการพัฒนาโครงการฝึกอบรมได้ด้วย เพื่อ ให้เห็นความสัมพันธ์และขั้นตอนของการประเมินตามรูปแบบจำ �ลองซิปป์ และประเภทของการตัดสินใจสามารถสรุปเป็นแผนภูมิได้ดังนี้ ในกรณีที่การประเมินโครงการฝึกอบรมมีลักษณะเป็นแบบการ ประเมินความก้าวหน้า เพื่อบ่งชี้จุดเด่นและจุดด้อยของการฝึกอบรมนั้น จะนำ �ผลประเมินไปปรับปรุงกิจกรรมหรือแผนการฝึกอบรมได้ทันท่วงที ส่วนการประเมินรวมสรุปหลังโครงการสิ้นสุดลงแล้วเป็นการประเมินเพื่อ บ่งชี้ผลสัมฤทธิ์ของโครงการฝึกอบรม ดังนั้น แบบจำ �ลองที่เหมาะสมจะใช้เป็นกรอบแนวคิดในการ ประเมินดังกล่าวคือ แบบจำ �ลองซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ที่แสดงให้เห็นว่าการประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่องในการหาข้อมูล และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการเพื่อหาทางเลือกที่เป็นประโยชน์ เพื่อ การตัดสินใจของผู้บริหารในการประเมินผลโครงการฝึกอบรม ซึ่ง สตัฟเฟิลบีมได้เสนอแบบอย่างการประเมินคือ CIPP Model (Context Input Process Product) ที่เน้นว่าการประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ในการหาข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการเพื่อหาทางเลือกที่เป็น ประโยชน์ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารในการประเมินผลโครงการฝึกอบรม เนื่องจากเป็นรูปแบบที่มีความสมบูรณ์อย่างครบถ้วน สรุปว่า การประเมินผลการอบรมสามารถมีได้หลายประเภท และหลายระดับ นักประเมินสามารถเลือกหรือประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ซึ่งมีความยากง่ายแตกต่างกันไป ยิ่งวัดยาก ยิ่งมีโอกาสรู้ประสิทธิผลของ การพัฒนาว่าส่งผลต่อผลลัพธ์ขององค์กรได้มากขึ้น ซึ่งผู้บริหารก็ต้อง พิจารณา ชั่งน้ำ �หนักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร ปทิดา พิพัฒน์. (2562). การประเมินผลโครงการฝึกอบรม : กรณีศึกษา หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการบรรจุใหม่ กรมศุลกากร. หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธเนศ ขำ �เกิด. (2545). ประเมิน(อย่างได้)ผลด้วย Kirk Patrick. วารสารเทคโนโลยี (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น) , 28: 160 (ธันวาคม 44 - มกราคม 45). 148-151 หน้า. สมคิด พรมจุ้ย. (2544). เทคนิคการประเมินโครงการ. นนทบุรี. สำ �นักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำ �นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). รายงานการศึกษาโครงการประเมินผลหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา (นบอ.) ตามโครงการสร้างความเข้มแข็งด้าน การบริหารมหาวิทยาลัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. บรรณานุกรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5