นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250

42 นิตยสาร สสวท. ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แน่นอนว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกคนต้องให้ความสนใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปจนถึงการเกิดความเสียหายหรือสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพ ปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่กระทบต่อธรรมชาติเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ใน ปัจจุบันและในอนาคตอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึงจำ �เป็นต้องมีการปลูกฝังหรือปลูกจิตสำ �นึกเรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับคนรุ่นใหม่ เพื่อให้เห็นความสำ �คัญของสิ่งแวดล้อม มีนวัตกรรมสีเขียวเพื่อนำ �เทคโนโลยีเข้ามาและมีการลดการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ในยุคที่การพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเติบโตอย่างรวดเร็ว ผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งทวีความรุนแรง ดังนั้น การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ในสภาพที่ดีและยั่งยืนจึงไม่ใช่เพียงหน้าที่ ของภาครัฐหรือองค์กรใหญ่ๆ เท่านั้น แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในการปกป้องและการดูแลโลกใบนี้ เพื่อคนรุ่นหลังได้มีโอกาสใช้ชีวิตบนโลกที่ยังคงมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการ ดำ �รงชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อม: ความท้าทายที่เราต้องเผชิญ ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำ �คัญมีหลากหลายตั้งแต่การปล่อย แก๊สเรือนกระจกที่ทำ �ให้อุณหภูมิสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกิน ขอบเขตที่ธรรมชาติสามารถฟื้นตัวได้ การตัดไม้ทำ �ลายป่า การสูญเสีย พื้นที่สีเขียว การปนเปื้อนของน้ำ � ดิน และอากาศและยังรวมถึงการลดลง ของความหลากหลายทางชีวภาพ เหล่านี้เป็นผลจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ไม่ใส่ใจต่อผลกระทบในระยะยาวในอนาคต หากไม่มีการแก้ไขหรือ ปรับปรุงพฤติกรรมเหล่านี้ปัญหาที่กล่าวมาจะทวีความรุนแรงขึ้น จนส่งผลต่อการดำ �รงชีวิตของคนรุ่นถัดไป การพัฒนาทางเศรษฐกิจและ สังคมของโลกอาจจะทวีความรุนแรงโดยเฉพาะพื้นที่ที่เปราะบางอยู่แล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากธรรมชาติ นอกจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมนุษย์แล้ว ยังจะมีปัญหา สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภัยธรรมชาติเอง ตัวอย่างเช่น 1. การเกิดไฟป่า บางครั้งเป็นผลมาจากวาตภัย เนื่องจากลมที่ พัดแรงทำ �ให้ต้นไม้เอนไปมาเกิดการเสียดสีกันเกิดเป็นไฟป่าขึ้น ซึ่งไฟป่า ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง และแก๊สพิษจากการเผาไหม้ นอกจากนี้ ยังเป็นอันตรายต่อระบบหายใจของมนุษย์ 2. การเกิดน้ำ �ท่วมเนื่องจากฝนตก ทำ �ให้เกิดความเสียหายต่อ บ้านเรือนและทรัพย์สินของมนุษย์ นอกจากนี้ ยังทำ �ให้พืชผลทางการเกษตร เกิดความเสียหาย และยังเป็นที่มาของโรคภัยต่างๆ เช่น โรคน้ำ �กัดเท้า ตาแดง ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค 3. การเกิดแผ่นดินไหวที่เป็นสาเหตุมาจากการเคลื่อนที่ของ แผ่นเปลือกโลก หากมีระดับความรุนแรงมากจะทำ �ให้บ้านเรือน อาคาร หรือ สิ่งก่อสร้างพังทลายจนได้รับความเสียหาย ทำ �ให้มนุษย์ไร้ที่อยู่ ขาดแคลน อาหาร นอกจากนี้ ยังทำ �ให้เกิดการพังทลายของหน้าดินและส่งผลให้ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพืชและสัตว์เปลี่ยนไป 4. ภูเขาไฟระเบิด เกิดจากแรงดันของความร้อนที่สะสมอยู่ ใต้เปลือกโลกดันออกมาสู่ผิวของเปลือกโลกจนเกิดการระเบิด ไอระเหยหรือ ควันที่เกิดจากภูเขาไฟมีกำ �มะถัน ฝุ่นละอองปนอยู่มาก ก่อให้เกิดปัญหา มลพิษทางอากาศ เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต หากเกิดการระเบิดของภูเขาไฟ ใต้น้ำ �จะก่อให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ในมหาสมุทรที่เรียกว่า “สึนามิ” การดูแลสิ่งแวดล้อม: แนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืน การดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลหรือองค์กรใหญ่ เพียงอย่างเดียว แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในสังคม การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ เช่น การลดการใช้พลาสติก การรีไซเคิล การใช้พลังงานหมุนเวียน และการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก จากกิจกรรมประจำ �วันของมนุษย์ 1. การลดขยะและการรีไซเคิล: การลดการใช้พลาสติกและ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้เป็นขั้นตอนสำ �คัญในการลด ปริมาณขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การแยกขยะอย่างถูกต้องและ การนำ �กลับมาใช้ใหม่จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ อย่างจำ �กัด เช่น รู้จักการวางแผนก่อนซื้อและจัดเก็บให้ถูกวิธี เลือกซื้อของ ภาพจาก: https://tu.ac.th/thammasat-120666-environmental-problems-ranked-number-1

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5