นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
46 นิตยสาร สสวท. จากองค์ประกอบหลักของโลกทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ธรณีภาค (Pedosphere) อุทกภาค (Hydrosphere) บรรยากาศ (Atmosphere) และชีวภาคหรือชีวมณฑล (Biosphere) โดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบหรือเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ของ GLOBE และมีการใช้ฐานข้อมูลของโครงการ GLOBE จากอดีตจนถึงปัจจุบัน แคมเปญนี้เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2567 - กันยายน 2568 เรามา เรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมในอนาคตที่ยั่งยืน ร่วมแบ่งปันและสร้างแรงบันดาลใจในเวที IVSS 2025: แสดงผลงานวิจัยของเราสู่เวทีโลก! โครงการ GLOBE เชิญชวนนักเรียนทั่วโลกส่งผลงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการเรียนรู้ในแคมเปญนี้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้กันในการประชุม International Virtual Science Symposium (IVSS) โดยมีนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาจากทั่วโลกเป็น กรรมการตัดสิน เพื่อลุ้นรางวัลเข้าร่วมนำ �เสนอผลงานใน 2025 GLOBE Annual Meeting ณ สหรัฐอเมริกา เปิดรับสมัครผลงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 ถึง 5 มีนาคม 2568 และสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.globe.gov/news-events/ meetings_symposia/virtual-conferences ผู้สนใจรีบวางแผนเตรียมศึกษาข้อมูลและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในแคมเปญนี้ เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำ �คัญช่วยให้เราเข้าใจโลกที่อยู่อาศัยได้ดียิ่งขึ้น การเรียนรู้อาจจะ เริ่มจากศึกษาบรรยากาศซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือลมฟ้าอากาศในแต่ละวัน หรืออาจจะเป็น ในลักษณะที่กว้างขึ้น ได้แก่ การศึกษาวัฏจักรคาร์บอน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การศึกษาต้นไม้ที่เชื่อมโยงกับสภาพอากาศ เช่น วงปีของต้นไม้ (Annual ring) การวิเคราะห์วงปีของต้นไม้ สามารถบอกอายุของต้นไม้ บอกลักษณะสภาพอากาศในอดีต และปริมาณ ฝนในปีนั้นๆ ได้ โดยถ้าปีใดมีปริมาณฝนมาก เส้นวงปีจะกว้างเป็นสีน้ำ �ตาลอ่อน ส่วนปีที่แห้งแล้งมีปริมาณฝนน้อย เส้นวงปีจะแคบและ มีสีน้ำ �ตาลเข้มเนื่องจากมีความเข้มข้นของลิกนินสูง นอกจากนั้น ยังสามารถนำ �มาช่วยไขข้อมูลสภาพแวดล้อมในอดีตว่าต้นไม้นั้น เจริญเติบโตมาอย่างไร การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันส่วนหนึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำ �รงชีวิตของเราอย่างมากในหลายๆ ด้าน เช่น น้ำ �ท่วม ดินถล่ม ความแห้งแล้ง สิ่งเหล่านี้หากเราเรียนรู้ และเข้าใจจะทำ �ให้เราสามารถรับรู้ เฝ้าระวัง และสามารถเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและทำ �งานวิจัยได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจวัดในอดีตและ ในปัจจุบันโดยใช้ฐานข้อมูลจากโครงการ GLOBE และของ NASA ที่ได้รวบรวมไว้ สามารถเลือกใช้เครื่องมือที่ทางเว็บไซต์โครงการ ภาพ 2 ตัวอย่างการตรวจวัดสภาพอากาศในแต่ละวันอย่างง่าย สำ �หรับนักเรียนระดับประถมศึกษา มาจาก: https://mynasadata.larc.nasa.gov/interactive-models/interactive-weather-observations ภาพ 3 วงปีของต้นไม้ มาจาก: https://www.scimath.org/article-biology/item/12476-2021-10-19-04- 20-49
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5