นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
ปีที่ 52 ฉบับที่ 250 กันยายน - ตุลาคม 2567 53 ภาพจาก : https://psub.psu.ac.th/?p=12247 ปลาเศรษฐกิจ เช่น กุ้ง ปู ทำ �ให้ผลผลิตทางการประมงลดลง ส่งผลกระทบ ต่อรายได้ของชาวประมงและอุตสาหกรรมประมง โดยกุ้งขาว 1 กิโลกรัม ราคาประมาณ 120 - 170 บาท กุ้งก้ามกราม 1 กิโลกรัม ราคาประมาณ 160 - 350 บาท ปลานิล 1 กิโลกรัม ราคาประมาณ 60 บาท ในขณะที่ ราคาปลาหมอคางดำ � 1 กิโลกรัม 3 - 5 บาท นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการ กำ �จัดปลาหมอคางดำ �ยังต้องใช้ทั้งแรงงานและงบประมาณจำ �นวนมาก ซึ่งเป็นภาระของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งแหล่งน้ำ �ที่ถูกปลาหมอคางดำ � รุกรานจะสูญเสียความสวยงามและความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลกระทบ ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มาตรการกำ �จัดปลาหมอคางดำ �ของภาครัฐ กรมประมงออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำ �หนดชนิดสัตว์น้ำ �ห้ามนำ �เข้า ส่งออก นำ �ผ่าน หรือเพาะเลี้ยง มีผล บังคับใช้ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561 สำ �หรับสัตว์น้ำ � 3 ชนิด เว้นแต่ ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง หรือผู้ที่อธิบดีกรมประมงมอบหมาย ได้แก่ ปลาหมอคางดำ � ปลาหมอมายัน ปลาหมอบัตเตอร์ และมีบทลงโทษ สำ �หรับผู้ที่ฝ่าฝืน จำ �คุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือ ทั้งจำ �ทั้งปรับ กรณีทำ �ความผิดแล้วนำ �ไปปล่อยในที่ห้ามจับสัตว์น้ำ �ต้อง ระวางโทษจำ �คุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองล้านบาทหรือทั้งจำ �ทั้งปรับ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำ � (ร่าง) แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหา การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ � พ.ศ. 2567 - 2568 เป็นวาระเร่งด่วน ผ่าน 5 มาตรการ ดังนี้ มาตรการที่ 1 ควบคุมและกำ �จัดปลาหมอคางดำ �ในแหล่งน้ำ � ทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาดด้วยเครื่องมือและวิธีการต่างๆ เช่น ใช้ อวนรุน มาตรการที่ 2 กำ �จัดปลาหมอคางดำ �โดยปล่อยปลานักล่าเพื่อ ควบคุมตามธรรมชาติ เช่น ปลากะพงขาว ปลาอีกง และอื่นๆ ให้ตรงกับ บริบทแต่ละพื้นที่ มาตรการที่ 3 นำ �ปลาหมอคางดำ �ที่กำ �จัดได้ไปใช้ประโยชน์ เช่น ใช้ทำ �เป็นปลาป่น เพื่อเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง สัตว์น้ำ � สัตว์บก หรือแปรรูป เป็นอาหาร มาตรการที่ 4 สำ �รวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายปลาหมอคางดำ � ในพื้นที่เขตกันชนให้มีระบบการแจ้งข้อมูล เก็บข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้ แพร่ระบาด มาตรการที่ 5 สร้างการรู้ ความตระหนัก ให้มีส่วนร่วมในการกำ �จัด ปลาหมอคางดำ � เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับทุกภาคส่วน พร้อมจัดทำ �คู่มือ แนวทางการรับมือ นอกจากนี้ ยังได้ดำ �เนินโครงการวิจัยการเหนี่ยวนำ �ชุดโครโมโซม 4n โดยจะเปลี่ยนโครโมโซมให้ปลาหมอคางดำ �เป็นหมันเพื่อช่วยลด การแพร่พันธุ์ รวมถึงให้กรมประมงร่วมกับจังหวัดตั้งจุดรับซื้อปลา และ ประสานกับหลายหน่วยงาน ได้แก่ ประสานงานกับกรมพัฒนาที่ดินใน การนำ �ปลาหมอคางดำ �ที่จับมาได้ไปผลิตเป็นน้ำ �หมักชีวภาพ และ ประสานความร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในการสนับสนุน งบประมาณเพื่อจัดตั้งจุดรับซื้อปลาหมอคางดำ �ในพื้นที่ระบาดทุกแห่ง ซึ่ง กรมประมงได้มีการรวบรวมแพปลาที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการ ประมงกับกรมประมงในพื้นที่ที่มีการระบาด 14 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา ในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถสร้างกิจกรรมอภิปรายใน ชั้นเรียนเรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน สาเหตุและผลกระทบจากเหตุการณ์ ในข่าว โดยหยิบยกประเด็นจากข่าวสารที่น่าสนใจ เช่น ข่าวการแพร่ ระบาดปลาหมอคางดำ �ในประเทศไทย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว มีจุดประสงค์ ดังนี้ 1. ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์จากเหตุการณ์ในข่าว 2. อธิบายสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งเสนอแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน แนวทางทำ �กิจกรรมการอภิปราย 1. ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับปลาหมอคางดำ � เช่น ความเป็นมาของการแพร่ระบาด ผลกระทบต่อชุมชนชาวประมง การ เปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ หรือตัวอย่างความสำ �เร็จในการจัดการปลาหมอ คางดำ � โดยผู้สอนใช้หัวข้อข่าว หรือสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูด ความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ และอภิปรายบทความข่าวเกี่ยวกับ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น พร้อมทั้งระบุสาเหตุ ปัญหา ผลกระทบ และเสนอ แนวทางการแก้ไขปัญหา ผู้สอนอาจแนะนำ �ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหาด้วย แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา โดยเปรียบเทียบปัญหาหลักเป็นหัวปลา และ สาเหตุย่อยต่างๆ ที่แตกแขนงออกไปเป็นก้างปลา แผนภูมินี้ช่วยให้เรา สามารถมองเห็นภาพรวมของปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน ทำ �ให้สามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด Link วีดิทัศน์เสริมเรื่อง ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ที่รุกราน : ปลาหมอคางดำ �
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5