นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
54 นิตยสาร สสวท. ตัวอย่างข่าวที่ผู้สอนสืบค้นมาให้ผู้เรียนอภิปรายในชั้นเรียน SarotherodonmelanotheronRüppell. (2017). Blackchin tilapia . Retrieved August 1, 2024, from https://fishbase.mnhn.fr/summary/Sarotherodon-melanotheron.html. รัฐบาลไทย. (2567). นายกฯ เร่งดัน 5 มาตรการ แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ �” บรรเทาความเดือดร้อนปชช. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2567, จาก https://www.thaigov.go.th/news/ contents/details/86182. ไทยพีบีเอส. (2567). ปลาหมอคางดำ �ระบาด กระทบปลาพื้นถิ่นหายากสะท้อนระบบนิเวศพัง. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2567, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/342441. สุวิมล สี่หิรัญวงศ์. (2563). คู่มือการจัดการชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ �ต่างถิ่นในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2567. จาก https://www.opsmoac.go.th/chumphon-manual-preview- 441491791801. บรรณานุกรม 2. ทำ �ความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาปลาหมอคางดำ � ผู้เรียน อธิบายลักษณะเด่นของปลาหมอคางดำ � วิธีการแพร่พันธุ์ และความสามารถ ในการปรับตัว อธิบายว่าทำ �ไมปลาหมอคางดำ �จึงจัดเป็นเอเลียนสปีชีส์ และ มีผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างไร 3. อธิบายผลกระทบของปลาหมอคางดำ �ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใน ระบบนิเวศ เช่น ปลาท้องถิ่น สัตว์น้ำ �อื่นๆ และพืชน้ำ � การลดลงของ จำ �นวนปลาที่จับได้ และการเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำ � 4. อธิบายแนวทางการแก้ไข วิธีการจัดการปลาหมอคางดำ � เช่น การจับปลา การใช้สารเคมี (ต้องระมัดระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม) การปล่อยสัตว์นักล่าตามธรรมชาติ และสนับสนุนให้ผู้เรียนร่วมคิดร่วมทำ � ในการแก้ไขปัญหา เช่น การรณรงค์ให้คนในชุมชนร่วมกันจับปลาหมอคางดำ � การสร้างแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ �ท้องถิ่น 5. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เช่น การทำ �ป้ายรณรงค์ การออกแบบโปสเตอร์ หรือการทำ �โครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปลาหมอ คางดำ � นอกจากนี้ ผู้สอนสามารถพาผู้เรียนไปศึกษาธรรมชาติจริง เช่น บ่อน้ำ � หนอง หรือแม่น้ำ � เพื่อสังเกตสภาพแวดล้อมและผลกระทบของ ปลาหมอคางดำ � สรุป การรุกรานชนิดพันธุ์ต่างถิ่นของปลาหมอคางดำ �เป็นบทเรียน สำ �คัญที่เตือนให้เราตระหนักถึงความสำ �คัญของการดูแลรักษาทรัพยากร ธรรมชาติ และความจำ �เป็นในการวางแผนการจัดการทรัพยากรอย่าง รอบคอบ หากได้นำ �บทเรียนนี้มาถ่ายทอดในชั้นเรียน กระตุ้นการเรียนรู้ ของผู้เรียนและได้แสดงความคิดเห็นผ่านกิจกรรมอภิปรายในชั้นเรียน เพราะปัญหานี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เมื่อผู้เรียนได้เห็นถึงปัญหา และ มีส่วนเป็นกระบอกเสียงส่งต่อความรู้สู่ครอบครัวและชุมชนก็จะช่วยให้ ผู้เรียนมีส่วนสำ �คัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเองให้มีความยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร ปลาหมอคางดำ �ระบาด กระทบปลาพื้นถิ่นหายากสะท้อนระบบนิเวศพัง การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ �ในพื้นที่จ.สมุทรสงครามตอนนี้กำ �ลังสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะผลกระทบต่อ เกษตรกร เพราะทำ �ให้คนเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาขาดทุนต่อเนื่องทุกปี งานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าความเสียหายที่เกิดจาก ปลาหมอคางดำ � อยู่ที่ประมาณตำ �บลละ 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์บ่อปลาของเกษตรกรบ่อกุ้ง แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ที่ขาดทุนต่อเนื่อง นับตั้งแต่พบปลาหมอคางดำ � ในปี 2554 ซึ่งเกษตรกรบ่อกุ้งแห่งนี้มีเนื้อที่ 300 ไร่ เมื่อ 7 - 8 เดือนที่แล้วสามารถจับปลาหมอคางดำ �ได้ประมาณ 10 ตัว ซึ่งจากการลองหว่านแหในวันนี้ พบว่ามีเพียงปลาหมอคางดำ �ชนิดเดียว ติดขึ้นมากับแห ไม่มีกุ้งเลย และปลาหมอคางดำ �บางตัวก็มีไข่ในปากแล้วพร้อมที่จะขยายพันธุ์ ทั้งนี้ บ่อกุ้งจะเลี้ยงแบบเปิดที่รับน้ำ �มาจาก ธรรมชาติ ทั้งนี้ ยังอยู่ใกล้กับคลองยี่สารซึ่งพบการระบาดของปลาหมอคางดำ �มาตั้งแต่ปี 2554 ด้วยปลาหมอคางดำ �เกือบทั้งหมดมาจาก คลองธรรมชาติ ดังนั้น สิ่งที่สะท้อนว่าระบบนิเวศในพื้นที่นั้นๆ ยังดีอยู่หรือไม่ ก็คือความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ � ความน่าเป็นห่วงของ แม่น้ำ �ใน จ.สมุทรสงคราม ขณะนี้ คือปลาพื้นถิ่นที่เคยชุกชุม ตอนนี้แทบหาไม่ได้แล้ว การหาสัตว์น้ำ �จากลำ �คลองถือเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่หาเพื่อบริโภค และจำ �หน่ายเพื่อเป็นรายได้จากรุ่นสู่รุ่น ทั้งนี้เพียง 10 ปี วิถีธรรมชาติที่ยึดโยงกับธรรมชาติของชาวบ้านก็เริ่มเปลี่ยนไป ป่าชายเลนที่มีสภาพน้ำ �กร่อยเป็นทั้งแหล่งอาหารและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ � ทำ �ให้ จ.สมุทรสงครามอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ �หลายชนิด เช่นเดียวกับเอเลียนสปีชีส์อย่าง ปลาหมอคางดำ � จากคำ �บอกเล่าของ นายสมาน รุ่งแจ้ง ชาวบ้าน ทำ �ให้ทราบว่าหนึ่งในสาเหตุที่ทำ �ให้คนไม่ออกมาหาสัตว์น้ำ � เนื่องจากปลาใน คลองธรรมชาติหาได้ยากขึ้น จะหาได้ก็มีแต่ปลาหมอคางดำ � เจ้าของแพปลา จ.สมุทรสงคราม ให้ข้อมูลว่า สัตว์น้ำ �ที่รับซื้อมาจากบ่อเลี้ยงแบบปิดเกือบทั้งหมด ไม่มีปลาหรือสัตว์น้ำ �จาก แหล่งน้ำ �ธรรมชาติเลย ซึ่งต่างจากเมื่อ 10 ปีก่อน การวิเคราะห์ของสถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าการลดลงของปลาพื้นถิ่นได้ ถูกแทนที่โดยปลาหมอคางดำ � คือสัญญาณหายนะของระบบนิเวศและเมื่อมันทำ �ลายจนธรรมชาติขาดความสมดุลเป็นเรื่องยากที่จะฟื้น กลับคืนมา ที่มา : องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5