นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250

ปีที่ 52 ฉบับที่ 250 กันยายน - ตุลาคม 2567 59 ส วัสดีคุณๆ ผู้อ่านที่รัก ฉบับนี้ต่ายเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเกิดปัญหา น้ำ �ท่วมในสถานที่ที่เราไม่คิดว่ามันจะเกิดมาก่อน เช่น น้ำ �ท่วม อำ �เภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และถ้าติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ ภัยธรรมชาติทั่วโลกจะเห็นได้ชัดว่า ทั่วโลกพบความถี่และความรุนแรง ของการเกิดภัยธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับที่นักวิชาการทั่วโลก คาดการณ์และทำ �นายไว้เป็นเสียงเดียวกันว่า ในอนาคตเกิดภัยธรรมชาติ บ่อยครั้งและทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้น อุทกภัยแบบที่เกิดขึ้นใน ประเทศไทยตามข่าวมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีก และแน่นอนต้องมีระดับน้ำ � มากขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างแน่นอน ผลกระทบที่ทำ �ให้เห็นชัดคือ น้ำ �แข็งจาก ขั้วโลกเริ่มละลายและสิ่งที่ต่ายไม่เคยคิดมาก่อนก็คือ น้ำ �แข็งที่ขั้วโลกเป็น ตัวช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ออกไป เนื่องจากมันมีสีขาว และเมื่อน้ำ �แข็งจากขั้วโลกละลายมากขึ้นก็ทำ �ให้พื้นทะเลที่มีสีเข้มกว่า มีโอกาสดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มากขึ้น นี่จึงเป็นอีกสาเหตุที่ ช่วยเร่งทำ �ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นได้อีกทางหนึ่งด้วย (ภาพ 1) ภาพ 1 แสดงการดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ของน้ำ �แข็งในทะเล (10%) และน้ำ �ทะเล (94%) ที่มา: https://www.exploratorium.edu/climate/ice Q U I Z ต่าย แสนซน Panel on Climate Changes หรือ IPCC) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ ทำ �หน้าที่ให้คำ �แนะนำ �แก่ผู้กำ �หนดนโยบายเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน โดยจะ ให้คำ �แนะนำ �เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การออกแถลงการณ์เตือน อย่างสม่ำ �เสมอถึงผลกระทบร้ายแรงต่างๆ ของภาวะโลกร้อนเพื่อเป็น แนวทางให้ผู้กำ �หนดนโยบายในประเทศต่างๆ นำ �ไปใช้ในการกำ �หนด นโยบาย ออกกฏ และแนวทางปฏิบัติต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้ร่วมกัน อย่างเป็นระบบ โดยได้ประกาศเตือนให้ชาวโลกเตรียมรับมือกับผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน หนึ่งในผลกระทบที่น่ากังวลที่สุดของการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือ การเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศ สุดขั้ว ฝนตกหนัก น้ำ �ท่วม และภัยแล้งกำ �ลังเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน อันนำ � ไปสู่การสูญเสียชีวิต ความเสียหายต่อทรัพย์สิน และการหยุดชะงักทาง เศรษฐกิจ เหมือนกับที่ประเทศไทยกำ �ลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ในปี พ.ศ. 2565 IPCC ได้เผยแพร่รายงานการประเมิน ครั้งที่ 6 เกี่ยวกับผลกระทบ การปรับตัว และความเสี่ยงเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC Sixth Assessment Report - Climate Change 2022: Impacts, Adaptation and Vulnerability) ที่ระบุว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นมีความรุนแรงขึ้น และเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งหากคุณๆ สนใจที่จะศึกษา รายละเอียดแบบเจาะลึกในแต่ละประเด็น เช่น ผลกระทบที่จะเกิดกับ ระบบนิเวศบนดินและในน้ำ �จืด ระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งและในมหาสมุทร วัฏจักรน้ำ �ของโลกและความเสี่ยงที่มีต่อมนุษย์และธรรมชาติ การเกษตร ป่าไม้ การประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ � รวมไปถึงผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นกับเมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ สุขภาพ ชุมชน นอกจากนี้ หากคุณๆ อยากจะมองภาพรวมเป็นทวีป ในแต่ละทวีป IPCC ก็ได้มี การวิเคราะห์แยกเป็นบทเอาไว้ คุณๆ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ https://www.ipcc.ch/report/ar6/wg2/ ณ เวลานี้ มีความจำ �เป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำ �อะไร สักอย่างเพื่อลดความรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ ในขณะเดียวกันก็ต้องเริ่มทำ �ใจและปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบของการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำ �ลังเกิดขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการช่วยกัน คนละไม้คนละมือในการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกผ่าน 1) การใช้ พลังงานทดแทน เช่น เปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ � เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิง จากงานวิจัยในปี พ.ศ. 2538 ของ Fowler, A. M., & Hennessy, K. J. (1995). Potential impacts of global warming on the frequency and magnitude of heavy precipitation. Natural Hazards, 11, 283-303. ที่ได้กล่าวเตือนไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน (Global warming) ที่จะส่งผลทำ �ให้เกิดพายุ ฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำ �ให้ ปริมาณไอน้ำ �ในอากาศเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยและยังมีการเตือนแบบอ้อมๆ ว่า ข้อมูลที่นำ �มาเสนอครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นที่เพื่อให้หน่วยงานรัฐ นำ �ไปใช้ประกอบสำ �หรับการวางแผนรับมืออุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วย และอีก 29 ปีต่อมา ก็คือปีนี้ พ.ศ. 2567 ต่ายเชื่อว่า คุณๆ ที่ อายุอานามมากหน่อยก็น่าจะเห็นได้ชัดเจนแล้วว่า การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศไม่ใช่ภัยคุกคามในอนาคตอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นภัยคุกคาม ที่กำ �ลังส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั่วโลก คณะกรรมการ ระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernment

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5