นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
60 นิตยสาร สสวท. สุดท้าย จากเรื่องราวที่ต่ายเล่ามา ต่ายเชื่อว่า น่าจะมีส่วนช่วย ให้คุณๆ สามารถเชื่อมโยงปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศโลกได้ มองการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้าใจและไม่ประมาท และ พร้อมที่จะรับมือและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ที่น่าจะทวีความรุนแรง ขึ้นอีก หากสนใจหรืออยากให้ต่ายติดตามเรื่องราวอะไรเป็นพิเศษ เหมือนเดิม ยังคงสามารถเขียน email ส่งมาหาต่ายได้ที่ funny_rabbit@ live.co.uk จ้า ภาวะโลกร้อน ไม่ใช่การทำ �นาย แต่มันกำ �ลังเกิดขึ้น James Hansen กล่าวไว้ิ ต ต่าย แสนซน ภาพ 2 แสดงผลกระทบที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คำ �อธิบายภาพ แถวบนจากซ้ายไปขวา: ฝนและ หิมะมีรูปแบบของการเกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงไป วัฏจักรชีวิตและการอพยพของสัตว์เปลี่ยนไป หิมะและน้ำ �แข็งบนภูเขา สูงลดลง แถวกลางจากซ้ายไปขวา: พายุมีความรุนแรงขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้นและเกิดคลื่นความร้อนบ่อยครั้งขึ้น เกิด ความแห้งแล้งและไฟป่าบ่อยครั้งขึ้น เกิดการละลายของน้ำ �แข็งในดิน, แถวล่างจากซ้ายไปขวา: ปะการังเกิดความ เสียหาย ระดับน้ำ �ทะเลเพิ่มสูงขึ้น น้ำ �ทะเลอุ่นขึ้น วัฏจักรของพืชเปลี่ยนแปลงไป ที่มา: https://geologylearn.blogspot.com/2015/07/what-cause-global-warming-effect.html จากฟอสซิล 2) เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน เช่น ปรับปรุง ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม อาคารบ้านเรือนและ การขนส่ง เพื่อทำ �ให้เกิดการลดการใช้พลังงานโดยรวมของประเทศ 3) การขนส่งที่ยั่งยืน เช่น ส่งเสริมให้มีการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การเดิน และการปั่นจักรยาน ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ รถยนต์ไฟฟ้า 4) การจัดการป่าไม้ ต้องป้องกันการตัดไม้ทำ �ลายป่า เพิ่มพื้นที่ป่า และฟื้นฟูป่า เพื่อเพิ่มการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ใน ชั้นบรรยากาศให้กลับเข้าไปในต้นไม้ 5) การจัดการขยะ โดยต้องช่วยกัน ลดปริมาณขยะและมีระบบการกำ �จัดขยะที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการ ปล่อยแก๊สมีเทนจากหลุมฝังกลบขยะที่ประเทศไทยกำ �ลังทำ �อยู่ นอกจากนี้ ยังต้องมีการปรับตัวในด้านต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อม สำ �หรับผลกระทบของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วต่างๆ ที่กำ �ลังเกิดขึ้น เช่น 1) การปรับโครงสร้างพื้นฐานที่ทนทานต่อสภาพอากาศ เช่น การ สร้างอาคารและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้มีความแข็งแรงทนทานต่อ ภัยธรรมชาติ เช่น น้ำ �ท่วม พายุ และความแห้งแล้ง 2) การบริหารจัดการน้ำ � จะต้องเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำ �หรับการ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ �อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำ �ให้สามารถรับมือกับ ปัญหาภัยแล้งและน้ำ �ท่วมได้ 3) การเกษตรที่ยั่งยืน ต้องมีการพัฒนาวิธีการ ทำ �การเกษตรที่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ เช่น ระบบการใช้น้ำ �อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชให้ ทนแล้งได้ ประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการเตรียมพร้อมสำ �หรับ รับมือต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่พื้นที่ของ ประเทศส่วนใหญ่อยู่ต่ำ �กว่าระดับน้ำ �ทะเล และได้ลงทุนในการสร้างเขื่อน และระบบระบายน้ำ �ที่แข็งแรงเพื่อป้องกันปัญหาน้ำ �ท่วมที่เกิดจากระดับ น้ำ �ทะเลที่สูงขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประเทศจีนที่เป็นผู้นำ �ด้านพลังงาน สะอาด ในปี พ.ศ. 2566 สามารถผลิตได้มากถึง 1,453 กิกะวัตต์ ใน ขณะที่สหรัฐอเมริกา นำ �มาเป็นอันดับสองของโลกผลิตได้เพียง 388 กิกะวัตต์ ประเทศเวเนซุเอลาที่แม้จะไม่ได้ติดอันดับ แต่เป็นประเทศที่มีการใช้ พลังงานสะอาดมากถึง 80% ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ และพลังงาน ส่วนใหญ่มาจากพลังงานลมและน้ำ � ส่วนประเทศไทย ต่ายคิดว่า เราคง ต้องรอลุ้นกันอีกพักใหญ่เลยทีเดียว และต่ายขอย้ำ �ว่า เราทุกคนสามารถ มีส่วนร่วมในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ แม้จะช่วยได้ เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าร่วมมือกันทำ �มากๆ ก็ย่อมก่อให้เกิดผลในเชิงบวกได้ อย่างแน่นอน เชื่อต่าย! เราสามารถทำ �ได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำ �วัน เช่น ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน เปลี่ยนมาใช้หลอด LED ที่ประหยัดไฟกว่า ลดการใช้ เครื่องปรับอากาศ ลดการใช้ถุงพลาสติกและหันมาใช้ถุงผ้าหรือกระเป๋าผ้า แทน มีแก้วและหลอดเป็นของตัวเองติดตัวตลอดเวลา อย่างต่ายเองจะใช้ กล่องอาหารที่ทำ �จากแก้วพกไปเวลาที่จะซื้ออาหารตามสั่งและใช้ใส่อาหาร ติดไปที่ทำ �งาน ทำ �ให้เราสามารถลดปริมาณขยะที่ถูกฝังกลบได้ ลดการ บริโภคเนื้อสัตว์ ใช้ขนส่งสาธารณะ เลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และถ้าหากพวกเราร่วมใจกันทำ �แบบต่อเนื่อง ต่ายมั่นใจว่า มันช่วยลดปัญหา ได้อย่างแน่นอน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5