นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250
ปีที่ 52 ฉบับที่ 250 กันยายน - ตุลาคม 2567 7 ปัจจุบันสายงานนี้เริ่มมีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ สราลีตัดสินใจว่าเธอ จะลองเปลี่ยนสายงานไปเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์แทน ซึ่งสายงานนี้กำ �ลัง เป็นที่ต้องการสูงและตลาดงานยังเปิดกว้าง การเป็นกราฟฟิกดีไซน์เนอร์กับการเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ ใช้ทักษะพื้นฐานในการทำ �งานแตกต่างกัน การที่สราลีจะประสบความสำ �เร็จ ในการเปลี่ยนสายงานเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์นั้น สราลีได้พัฒนาความรู้ ความสามารถใหม่ของเธอในแนวทางต่างๆ เช่น ลงเรียนเพิ่มเติมเพื่อ พัฒนาทักษะใหม่ๆ เกี่ยวกับการเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ วางแผนการเรียนรู้ ของตนเองที่เป็นไปได้จริง โดยมีการกำ �หนดเป้าหมายและเวลาที่จะใช้ ในการฝึกฝนทักษะใหม่ ใช้เทคนิคการเรียนรู้เพื่อให้สามารถคงความรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การฝึกฝน การทำ �ซ้ำ �ๆ การทำ �งานใน สถานการณ์ที่หลากหลาย สถานการณ์ทั้งสามดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ผู้อ่าน อาจจะพบสถานการณ์ในชีวิตจริงที่แตกต่างหลากหลายซึ่งล้วนเกี่ยวข้อง กับความท้าทายที่ต้องอาศัยการพัฒนาการเรียนรู้ ทั้งนี้ แนวทาง การจัดการในสถานการณ์ของสาธิต ครูสุนิสา และสราลี ล้วนมีแนวคิด พื้นฐานมาจากการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ (Learning to Learn) นั่นเอง สภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปได้ให้นิยามของ การเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ไว้ดังนี้ “การเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้” คือความสามารถในการมุ่งมั่นและ พยายามในการเรียนรู้ การบริหารจัดการการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้ง การจัดการเวลาและข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งแบบการเรียนรายบุคคล และรายกลุ่ม สมรรถนะนี้รวมถึงการตระหนักรู้ในกระบวนการเรียนรู้และ ความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง การหาโอกาสในการเรียนรู้ที่หลากหลาย และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคเพื่อให้การเรียนรู้ประสบความสำ �เร็จ นอกจากนี้ ความสามารถยังหมายถึง การรับ รวบรวม และประมวลความรู้ และทักษะใหม่ๆ รวมถึงการแสวงหาและใช้คำ �แนะนำ �จากผู้อื่น การเรียนรู้ เพื่อการเรียนรู้กระตุ้นผู้เรียนให้สร้างความรู้จากความรู้เดิมและ ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาเพื่อนำ �ไปใช้และประยุกต์ความรู้และทักษะใน บริบทที่หลากหลายทั้งที่บ้าน ที่ทำ �งาน ในการศึกษา หรือการฝึกอบรม แรงจูงใจ และความมั่นใจเป็นสิ่งสำ �คัญที่ส่งผลต่อสมรรถนะของบุคคลนี้ (แปลจาก European Parliament and the Council of the European Union, 2006, p.16). หน่วยงานที่ทำ �งานทางด้านทางการศึกษาระดับโลก ได้แก่ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) และ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ต่างก็ให้ความสำ �คัญกับการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ (Learning to Learn) โดยให้ความเห็นว่า ทุกคนควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถนี้ เนื่องจากมนุษย์จะต้องเผชิญกับความรู้ใหม่ๆ เสมอ มนุษย์จำ �เป็นต้องพึ่งพา ความสามารถดังกล่าวในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพัฒนาการเรียนรู้ของ ตนเอง (OECD, 2019; Scott, 2015) นอกจากนั้น OECD (2019) ได้ ระบุว่าในแง่มุมของนักเรียน นักเรียนควรจะเป็นผู้รับผิดชอบในการเรียนรู้ ของตนเอง เป็นผู้ตัดสินใจว่าพวกเขาจะเรียนรู้อะไร และรวมไปถึงว่า เรียนรู้อย่างไร สภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (European Parliament and the Council of the European Union) (2006) ได้บรรจุการเรียนรู้ เพื่อการเรียนรู้ ไว้เป็น 1 ใน 8 สมรรถนะที่ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมี เพื่อให้สามารถรับมือกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการ เชื่อมโยงทั่วถึงกัน นอกจากนี้ แนวคิดของการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ได้ถูก บรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนระดับประเทศในหลายๆ ประเทศ เช่น สเปน อิตาลี ไซปรัส โปรตุเกส ออสเตรีย ฟินแลนด์ อังกฤษ เคนยา และ ออสเตรเลีย (Australian Curriculum, Assessment and Reporting Au- thority, (n.d.); Hoskins & Fredriksson, 2008; UNESCO International Bureau of Education, 2018) จากนิยามของการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ดังกล่าวจะพบว่า การเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้นั้นเกี่ยวข้องกับหลากหลายองค์ประกอบรวมไปถึง การเรียนรู้ของตนเอง แรงจูงใจในการเรียนรู้ และแนวทางการเรียนรู้ การเรียนรู้ของตนเอง การพัฒนาการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้อาจเริ่มต้นจากการพัฒนา การรู้คิด (Metacognition) ซึ่งมีกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ ตนเอง โดย Schraw และ Moshman (1995) ได้เสนอกรอบแนวคิดของ การรู้คิดซึ่งมีการอ้างถึงอย่างแพร่หลาย โดยมี 2 องค์ประกอบหลักดังนี้ 1. ความรู้ความเข้าใจของตนเอง (Knowledge of Cognition) ซึ่ ง หม า ย ร ว ม ถึ ง ก า ร ที่ตน เ อ ง เ ข้ า ใ จ ตน เ อ ง ใ น ฐ า น ะ ผู้ เ รี ย น รู้ เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งในการเรียนรู้ ของตนเอง ทราบสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ตนเองเรียนรู้ได้ดี และวิธีที่ ตนเองใช้ในการเรียนรู้ 2. การกำ �กับความรู้ความเข้าใจของตนเอง (Regulation of Cognition) ซึ่งหมายรวมถึง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5