นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 250

8 นิตยสาร สสวท. การตระหนักรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของตนเอง กล่าวคือ ตระหนักว่าตนเองใช้แนวทางใดในการเรียนรู้ หรือกำ �ลังใช้วิธีการเรียนรู้ใด ในการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง กล่าวคือ ประเมินว่าตนเอง เข้าใจสิ่งที่กำ �ลังเรียนรู้นั้นหรือไม่อย่างไร หรือแนวทางที่ใช้ในการเรียนรู้มี ประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และ การวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง กล่าวคือ วางแผนว่าควร จะใช้แนวทางใดในการเรียนรู้เพื่อให้ตนเองประสบความสำ �เร็จในการเรียนรู้ เรื่องนั้นๆ เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาสถานการณ์การเรียนคณิตศาสตร์ ของสาธิตผ่านกรอบแนวคิดของการรู้คิด พบว่าสาธิตมีการสะท้อน แนวคิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของตนเอง วิเคราะห์แนวทางการเรียนรู้ ที่เคยใช้แล้วสำ �เร็จ มีการกำ �กับการเรียนรู้ของตนเองโดยฝึกทำ �โจทย์ คณิตศาสตร์ ประเมินตนเองว่าทำ �โจทย์จนเกิดความชำ �นาญแล้วหรือไม่ และหาแนวทางที่จะทำ �ให้ตนเองเข้าใจโจทย์คณิตศาสตร์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ สาธิตอาจจะพิจารณาใช้แนวทางตามกรอบความคิด การรู้คิดอื่นเพิ่มเติม เช่น หากการแก้โจทย์นั้นไม่สำ �เร็จ สาธิตอาจจะระลึก ได้ว่าควรใช้วิธีการใหม่ในการแก้โจทย์ หรือหากไม่มีวิธีการอื่นในการแก้ปัญหา สาธิตอาจจะต้องหาตัวช่วยอื่น เช่น ถามเพื่อน หรือครู รวมทั้งเรียนรู้ว่า วิธีการใหม่ดังกล่าวสามารถแก้ไขโจทย์ปัญหาได้อย่างไร เพื่อจะได้นำ �ไปใช้ ในสถานการณ์โจทย์ที่คล้ายกันในโอกาสต่อไป แรงจูงใจในการเรียนรู้ อีกองค์ประกอบที่สำ �คัญต่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อการเรียนรู้คือ แรงจูงใจ (Motivation) ในการเรียนรู้ของตนเอง Cook และ Artino (2016) ได้วิเคราะห์ทฤษฎีที่เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ หลากหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีความคาดหวังและการให้คุณค่า (Expectancy- Value Theory) ทฤษฎีการอนุมานสาเหตุ (Attribution Theory) ทฤษฎี ปัญญาทางสังคม (Social-Cognitive Theory) และได้สรุปว่าทฤษฎีต่างๆ เหล่านั้น กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานของแรงจูงใจในการเรียนรู้ 4 ด้านใหญ่ๆ ด้วยกัน กล่าวคือ 1. ด้านความสามารถ (Competence) ผู้เรียนอาจมีคำ �ถามต่อ ตนเอง เช่น ฉันสามารถเรียนรู้สิ่งนี้ได้ไหม กล่าวคือ ความเชื่อเกี่ยวกับ ความสามารถในการเรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของผู้เรียนส่งผลต่อแรงจูงใจ ในการเรียนรู้ 2. ด้านคุณค่า (Value) ผู้เรียนอาจถามตัวเองว่า ทำ �ไมถึงควร เรียนรู้เรื่องนี้ เรื่องนี้ดีอย่างไร กล่าวคือ หากผู้เรียนเห็นคุณค่าของการ เรียนรู้เรื่องหนึ่งๆ ผู้เรียนอาจมีแนวโน้มที่จะมีแรงจูงใจในการเริ่มเรียนรู้ เรื่องนั้นๆ 3. ด้านการอนุมานสาเหตุ (Attribution) ผู้เรียนอาจสร้าง คำ �อธิบายของตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องหนึ่งๆ เช่น เรียนรู้เรื่องนี้ได้ สำ �เร็จเพราะอะไร หากผู้เรียนสามารถควบคุมสิ่งที่อนุมานว่าทำ �ให้การเรียนรู้ สำ �เร็จได้อาจจะส่งผลต่อแรงจูงใจของผู้เรียนในการเรียนรู้ในเรื่องนั้น 4. ด้านปัญญาและสังคม (Social and Cognitive Elements) แรงจูงใจในการเรียนรู้อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้เรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่อาจ เกี่ยวกับสังคมรอบข้างของผู้เรียน คนที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ด้วยล้วนส่งผล ต่อแรงจูงใจในการเรียนรู้ หากย้อนกลับไปที่สถานการณ์ของการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ของ ครูสุนิสา การที่ครูสุนิสามีแรงจูงใจในการเรียนรู้นั้น ครูสุนิสาอาจจะ มีความเชื่อในความสามารถของตนเองว่าสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น กระดานอัจฉริยะได้ และมองเห็นคุณค่าว่าหากได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระดาน อัจฉริยะจะสามารถนำ �ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ดีขึ้น มีประโยชน์ มากขึ้น จากการที่ครูสุนิสาเปิดรับที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ครูสุนิสา อาจมีแนวคิดว่าการเรียนรู้สิ่งใหม่ต้องทำ �อย่างไรบ้างและน่าจะไม่เกิน ความสามารถของตนเอง และนอกจากนั้น การที่โรงเรียนมีการใช้กระดาน อัจฉริยะในห้องเรียน อาจหมายความว่าโรงเรียนมีความคาดหวังให้ครู ใช้กระดานนี้เป็น รวมทั้งครูคนอื่นๆ ในโรงเรียนที่ครูสุนิสามีปฏิสัมพันธ์ ดัวยก็อาจจะกำ �ลังเรียนรู้การใช้กระดานนี้อยู่เช่นกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อ แรงจูงใจในการเรียนรู้ของครูสุนิสา อย่างไรก็ตาม แม้ Cook และ Artino (2016) ได้สรุปเกี่ยวกับ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5